ดีใจไหมไทยเป็นหนี้อีกครั้ง


622 ผู้ชม


ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ แล้ว โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่เห็นมูลของการทุจริต   

         คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกแถลงการณ์ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้การออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณา ถึงเหตุกรณีความฉุกเฉิน ที่จำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยง ประกอบกับสาระสำคัญ และกรอบการดำเนินการ ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ยังไม่มีมูลกรณีให้เห็นว่า คณะรัฐมนตรีได้ตราพระราชกำหนดฉบับนี้ขึ้นมา โดยไม่สุจริต หรือใช้ดุลยพินิจบิดเบือนหลักการของรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่าการตราพระราชกำหนดฉบับนี้ มีความจำเป็นรีบด่วน อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 2
      โดยคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า พระราชกำหนดฉบับนี้ ได้ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ ในอันที่จะรักษาความมั่นคง ในเศรษฐกิจของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 1 และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นอันรีบด่วน ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 2 (ที่มา : ไทยรัฐ)
       กระทรวงการคลัง
ไทยเรากู้เงินเป็นเรื่องธรรมดานะจ๊ะเพราะกระทรวงการคลังต้องดูแลเรื่องเศรษฐกิจของประเทศเมื่อไม่เงินหรือมีน้อยไม่พอบริหารประเทศมันจำเป็นก็ต้องกู้เขามาใช้ในฐานะเราเป็นประชาชนชาวไทยเราต้องมารู้จักในเรื่องการบริหารงานของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องเงิน ๆ ทองกันบ้างวันนี้เราจะมาดูกันเรื่องของ  การคลังรัฐบาล
การคลังรัฐบาล    (Public Finance) หมายถึง การคลังในส่วนของรัฐบาล  หรือการคลังในกิจกรรมที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ  การคลังภาครัฐ หรือการคลังของรัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางการคลัง  การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม  เนื่องจากมีผลผูกพันและกระทบไม่เฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันเท่านั้น  แต่ยังมักจะส่งผลกระทบและผูกพันถึงคนในอนาคตหรือในยุคต่อไปด้วย
 การคลังภาครัฐ (Public Finance) เป็นการศึกษากิจกรรมการหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐบาล  การอธิบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ  ภาษีอากร  รายจ่ายสาธารณะ  และหนี้สาธารณะ  การคลังภาครัฐเป็นการศึกษาผลกระทบต่างๆ ของงบประมาณต่อระบบเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายสำคัญทางเศรษฐกิจในด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ  ตลอดจนประสิทธิภาพการบริหาร  นอกจาหนี้  การคลังภาครัฐยังเป็นการศึกษาถึง “สิ่งที่ควรจะเป็น (What to be)”  การทำความเข้าใจการคลังภาครัฐจะทำให้สามารถอธิบายประเด็นสาธารณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้ดีขึ้น
          
 
1) กิจการของรัฐควรมีขอบข่ายครอบคลุมถึงอะไรบ้าง
           
2) บริการสาธารณะประเภทใดควรจะอยู่ในความดูแลรับผิดชอบจัดให้  บริการของส่วนกลาง  
หรือส่วนท้องถิ่นจึงจะถูกต้อง
           
3) ระบบภาษีอากรที่กำลังใช้อยู่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหรือไม่
          
4) เหตุใดท้องถิ่นจึงประสบปัญหาในการบริหารงานมากมาย  และท้องถิ่นควรจะหาทางออก
ของท้องถิ่นเองอย่างไร  เพื่อให้ส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงได้น้อยที่สุด
          
5) รัฐบาลจะมีวิธการอย่างไรในการรับมือกับวงจรธุรกิจ  เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมา
ก่อนอันสืบเนื่องจากความพลาดพลั้งของมนุษย์  หรือเมื่อมีการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจผิดพลาด
          
6) เหตุใดจึงต้องกังวลกับการเป็นหนี้ของประเทศชาติ

คำถาม
  การคลังรัฐบาลมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

เหมาะสำหรับสาระเศรษฐศาสตร์ช่วงชั้นที่  4


ที่มาข้อมูล : https://www.krumitson.com/soc64.doc
   
https://fpokm.fpo.go.th/fpokmui/handle/123456789/36

ที่มารูปภาพ :https://tbn2.google.com/images?q=tbn:19jaZOOFl-F42M:https://qwer.dek-d.com/contentimg/general/money%2520man.jpg

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://dwfoc.mof.go.th/foc_thai2007/start_cash.htm
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Target/Framework/Pages/index.aspx

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=568

อัพเดทล่าสุด