เล่าขานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น


735 ผู้ชม


ท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาคมีสิ่งที่น่าสนใจน่าศึกษามากมาย การศึกษาในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่เยาวชนไทยไม่ควรมองข้าม   
 

ดู ข่าวที่กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ศอ.บต. และจังหวัดปัตตานี จะจัดงาน“มหกรรมวัฒนธรรมปัตตานีย้อนยุค สู่สันติสุขแดนใต้” ขึ้นในวันที่ 4-7 มิถุนายน 2552 ณ ลานศิลปวัฒนธรรม หน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี นำอัตลักษณ์พิเศษด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ และสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วน่าชื่นใจจริงที่ประชาชนชาวไทยเราจะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นรวมทั้งเข้าใจวัฒนธรรมที่ดีงามจะได้ทำให้เกิดความสามัคคีกันมากขึ้น
          เดี๋ยวนี้เยาวชนไทยเราไม่ค่อยจะเรียนรู้สิ่งที่ค่าที่อยู่ใกล้ตัวของตนเองชุมชน ท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาคมีสิ่งที่น่าสนใจน่าศึกษามากมาย การศึกษาในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่เยาวชนไทยไม่ควรมองข้าม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น   เป็นการศึกษากิจกรรมหรือประสบการณ์ทุกๆด้านของสังคมใน “ท้องถิ่น” โดยให้ความสำคัญที่ประชาชนในฐานะเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆด้วย ซึ่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในลักษณะนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจถึงความเป็นมาของวิถีชีวิตของประชาชนซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น และความรู้นี้ก็ยังจะเป็นพลังที่ช่วยให้คนในท้องถิ่นต่างๆสามารถฟื้นฟูชีวิตให้แก่สถาบัน วัฒนธรรม และศักดิ์ศรีของแต่ละท้องถิ่นด้วย
ดังนั้นถ้าจะทำการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ควรจะศึกษาเรื่องราวดังต่อไปนี้ 
1. ตำนานของหมู่บ้าน ตำบล เมือง 
2. ประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน ตำบล เมือง 
3. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (ดิน แหล่งน้ำ ฝน ประชากร แร่ธาตุ) 
4. การอพยพ - การตั้งถิ่นฐาน 
5. 
ชาติพันธุ์วิทยา 
6. บุคคลสำคัญ 
7. ศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ (อาชีพ การทำมาหากิน พ่อค้าคนกลาง การทอผ้า การทำส้มฟัก การทำปลาร้า การทำไข่เค็ม) 
8. วิถีทางการดำเนินชีวิต 
9. ภูมิปัญญาชาวบ้าน 
10. วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน 
11. ภาษาและอักษร 
12. การละเล่น ดนตรี นาฎศิลป์ กีฬาพื้นบ้าน 
13. โบราณวัตถุ โบราณสถาน และแหล่งชุมชนโบราณ (แหล่งศิลปกรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์) 
14. พาหนะพื้นบ้าน 
15. เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 
16. ประเพณี - ความเชื่อ 
17. ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเมือง (วิถีชีวิตชาวบ้านเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง) ฯลฯ

  หากครูอาจารย์ที่จะจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะต้องให้เห็น คน มีมติเวลา หลักฐานชั้นต้น อธิบาย(อย่างไร  ทำไม)และเกิดความสำนึกในคุณค่า หวังว่าคงเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนะคะ

สาระประวัติศาสตร์ช่วงชั้นที่  4
คำถามเพื่อการอภิปราย
  1. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีความสำคัญต่อนักเรียนอย่างไร
  2. นักเรียนมีแนวการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้อย่างไร
บูรณาการ  สาระการเรียนรู้ศิลปะ

 ที่มาข้อมูล https://giftjajastory.spaces.live.com/blog/cns!1FE7E71818EFFB2C!281.entry
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
https://www.tru.ac.th/culture2008/book_1-10.php
 
ทีมาของรูปภาพ  https://www.thaiwebkit.com/cha-lad.com/images/content19102550154438.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=581

อัพเดทล่าสุด