แพนด้าทูตสันถวไมตรีสายสัมพันธ์ไทย-จีนมิเคยเลือน(ตอนที่ 2)


857 ผู้ชม


ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับจีนซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.1835 และได้ขาดการติดต่อไปในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศจีน   

แผนที่ไทยในอดีต

  ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับจีนซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.1835 และได้ขาดการติดต่อไปในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่19เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศจีน ในขณะนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจาก ราชวงศ์หยวน(พ.ศ.1822-1911) มาเป็นราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) ขณะที่ไทยเราขณะนั้น( อาณาจักรสุโขทัย)ได้เสื่อมอำนาจลง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1ได้ก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 1893  ซึ่งเป็นช่วงที่อยุธยายังเป็นการก่อตั้งใหม่จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนต้องห่างเหินไป หลังจากเหตุการณ์บ้านเมืองในจีนสงบเรียบร้อยแล้ว พระเจ้าหงหวู่ จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราชโองการมายัง อยุธยา หรือที่จีนเรียกว่า เสียนหลอหู ในปี พ.ศ. 1913พงศาวดารราชวงศ์หมิงได้บันทึกถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า “ปีที่ 3 ตรงกับ พ.ศ. 1913 ในรัชกาลหงหวู่ เดือนที่ 8 มีรับสั่งให้ลู่จงจุ้นกับพวกอัญเชิญพระบรมราชโองการ (ประกาศการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิ) ไปยังประเทศสยาม” (เพื่อเกลี้ยกล่อมให้ส่งเครื่องราชบรรณาการ ทางฝ่ายอยุธยา พระมหากษัตริย์ในขณะนั้นคือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พ.ศ.1913-1931) ได้ทรงตอบสนองข้อเรียกร้องของพระเจ้าหงหวู่ ด้วยการส่งราชทูตไทยอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการร่วมเดินทางไปจีนพร้อมกับลู่จงจุ้นในปี พ.ศ. 1914 พรงศาวดารราชวงศ์หมิงได้บันทึกไว้ว่า “ปีที่ 4 (ตรงกับ พ.ศ.1914) ในรัชกาลหงหวู่ เดือนที่ 9 ซันเลี่ยเจาพีเอี๋ย กษัตริย์ของประเทศสยามส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นพร้อมด้วยลู่จงจุ้น และพวกมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วยช้างบ้าน 6 เชือก เต่า 6 ขา และของพื้นเมืองอื่น ๆ (จักรพรรดิ)ทรงมีพระบรมราชโองการให้นำกลับไปถวาย และประทานผ้าแพรชนิดต่าง ๆ เงินทองแก่ทูตมากน้อยตามลำดับชั้นยศ” ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนซึ่งหยุดชะงักไปเกือบ 50 ปี(พ.ศ.1865-1913) จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ หากพิจารณาดูจะเห็นได้การที่ไทยสมัยอยุธยาได้มีความสัมพันธ์กับจีนน่าจะมีสาเหตุ  3 ประการคือ
      1. เพื่อป้องกันไม้ให้จีนเข้าแทรกแซงช่วยเหลือสุโขทัยในปัญหาความขัดแย้งระหว่างสุโขทัยและอยุธยา ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ทรงส่งคณะทูตไปจีนในปี พ.ศ.1914 แล้ว ก็ได้ทรงรุกราน สุโขทัยในปีเดียวกันนั้นทันที

       2. เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าภายใต้ระบบการทูตบรรณาการ กำไรอย่างงดงามทางการค้าที่ได้รับจากการคิดต่อค้าขายกับจีนเป็นที่ทราบกันดีในขณะนั้น และเป็นแรงจูงใจอย่างเพียงพอที่จะทำให้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและจีนใหม่อีกครั้งหนึ่ง 
       3. เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิพิเศษทางด้านเศรษฐกิจที่จะได้รับจากจีน หลังสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้เกิดการแย่งอำนาจทางการเมืองระหว่าง เจ้านายลพบุรี หรือ ราชวงศ์อู่ทองและเจ้านายสุพรรณบุรี หรือราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (เจ้านายสุพรรณบุรี) ได้ทรงแย่งราชสมบัติจากสมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (เจ้านายลพบุรี) ใน พ.ศ.1913การที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยวิธีปราบดาภิเษก อาจทำให้พระองค์ทรงเกรงว่าจีนอาจจะงดการให้สิทธิพิเศษทางด้านเศรษฐกิจแก่อยุธยา จึงทรงฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนเพื่อเป็นประกันสิทธิพิเศษทั้งปวงทางด้านเศรษฐกิจ

ตลาดน้ำบางกะจะและเรือสมัยอยุธยาที่เข้ามาเก็บสัมปทานรังนกกรุงศรีอยุธยา

            หลังการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตในปี พ.ศ. 1914 แล้ว ไทยและจีนก็มีการติดต่อคบค้าสมาคมกันอย่างใกล้ชิด จากช่วง พ.ศ.1914-2054 อยุธยาได้ส่งทูตไปจีนรวม 89 ครั้ง และทางฝ่ายจีนได้ส่งทูตมาอยุธยา 18 ครั้ง คณะทูตอยุธยาที่เดินทางไปจีน 89 ครั้งนั้นได้รวมเอาคณะทูตไทยบางคณะที่ไปจากสุพรรณบุรีและลพบุรีด้วย การที่สุพรรณบุรีและลพบุรีส่งทูตไปจีน ก็เพราะว่าหลังสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้เกิดการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างเจ้านายราชวงศ์สุพรรณภูมิและราชวงศ์อู่ทอง บางช่วงเจ้านายราชวงศ์สุพรรณภูมิ ได้ครองอำนาจทางการเมือง ในขณะที่บางระยะเจ้านายราชวงศ์อู่ทองกลับเป็นฝ่ายที่ได้อำนาจการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างเจ้านายทั้งสองกลุ่มนี้ทำให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากจีน โดยมุ่งหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งจะช่วงเสริมสร้างความมั่นคงทางการเมืองจึงยังผลให้มีการแข่งขันกันระหว่างสุพรรณบุรีและลพบุรีในการส่งคณะทูตไปจีนการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างเจ้านายราชวงศ์สุพรรณภูมิและราชวงศ์อู่ทองดำเนินอยู่นาน 40 ปี ก็ยุติลงโดยราชวงศ์สุพรรณภูมิได้ครองอำนาจทางการเมืองอย่างเด็ดขาด ส่วนราชวงศ์อู่ทองก็หมดบทบาทไปจากการเมืองอยุธยามีข้อที่น่าสังเกตว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและจีนที่ดำเนินไปอย่างใกล้ชิดนี้มุ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นหลักจาก หลักฐานในพงศาวดาร  ราชวงศ์หมิง  และหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ ได้ให้ความกระจ่าง อยุธยาส่งสินค้าประเภทของป่าไปขายในตลาดประเทศจีนเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็ได้ซื้อสินค้าจีนกลับมาในปริมาณที่สูง และส่งสินค้าจีนเหล่านี้ไปขายต่อยังดินแดนอื่น ๆอยุธยาจึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะนั้น ที่เป็นทั้งศูนย์กลางการค้าของป่า และการส่งผ่านสินค้าจีนไปยังดินแดนอื่น ซึ่งได้แก่ชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และดินแดนตอนในของภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้าระหว่างอยุธยาและจีนดำเนินการภายใต้ระบบการทูตบรรณาการ โดยปกติแล้วขบวนเรือบรรณาการของอยุธยาที่เดินทางไปจีนจะมีอยู่ 3ลำ และจะบรรทุกสินค้าไป 2 ประเภท คือ พวกหนึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการที่จะนำขึ้นถวายจักรพรรดิจีน ส่วนอีกพวกหนึ่งเป็นสินค้าเพื่อขายที่เมืองกวางตุ้ง นอกจากการค้าของรัฐหรือพระมหากษัตริย์แล้ว ยังมีการค้าของเอกชนดำเนินการโดยพวกเจ้านาย ขุนนาง และชาวจีนที่อาศัยอยู่อยุธยา หลักฐานจากพงศาวดารราชวงศ์หมิงระบุว่า ตลอดพุทธศตวรรษที่ 20 อยุธยาเป็นเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ส่งทูตไปจิ้มก้องจักรพรรดิมากหนที่สุด และรายการสิ่งของบรรณาการจากอยุธยามีถึง 44 ประเภท ในขณะที่หนังสือประมวลกฎหมายราชวงศ์หมิง กล่าวว่ามีอยู่ 58 ประเภท แม้ตัวเลขที่ปรากฏจะไม่ตรงกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบรรณาการอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายการของบรรณาการจากอยุธยาเพียง 44 ประเภท ก็นับว่ามากที่สุดกว่ารัฐอื่น ๆแล้วบรรณาการส่วนใหญ่ที่อยุธยาส่งไปถวายจักรพรรดิจีนจะเป็นพวกของป่า เช่น ไม้หอมสีทอง ไม้หอมสีเงิน ไม้ฝาง ไม้แก่นดำ งาช้าง หอระดาน กระวาน ช้าง นกยูง นกแก้วห้าสี กฤษณา กานพลู และหลอฮก เป็นต้น (หลอฮกเป็นเครื่องยามีกลิ่นหอม คล้ายกฤษณา)เครื่องราชบรรณาการดังกล่าวข้างต้นเป็นของกำนัลจากกษัตริย์อยุธยาที่ส่งไปถวายจักรพรรดิจีน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีราคาแพงในตลาดประเทศจีน อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ราชสำนักจีนปรารถนาอย่างมาก นอกจากถวายของแด่จักรพรรดิแล้ว ยังถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า ทูตอยุธยาจะนำของกำนัลไปถวายแด่พระมเหสีในจำนวนครึ่งหนึ่งที่ถวายแด่จักรพรรดิด้วย และจักรพรรดิจะพระราชทาน ของขวัญตอบแทนแก่ฝ่ายไทยเป็นจำนวน 2 เท่าของบรรณาการที่นำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ของขวัญที่พระราชทานส่วนใหญ่จะเป็นพวกผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องเงิน เครื่องทอง และเครื่องประดับอื่นๆ พงศาวดารราชวงศ์หมิงระบุว่า ในปี พ.ศ. 1930 อยุธยาส่งเครื่องราชบรรณาการซึ่งประกอบด้วยพริกไทย และไม้ฝางอยางละ 10000 ชั่ง ไปถวายจักรพรรดิ ส่วนในปี พ.ศ. 1933 ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการ ที่ประกอบด้วยไปไม้ฝาง พริกไทย และแก่นกรักขี รวมกันถึง 170,000 ชั่ง เมือนำปริมาณของบรรณาการที่อยุธยาถวายจักรพรรดิมารวมกับ อีกครึ่งหนึ่งที่ถวายพระมเหสีแล้ว จะเห็นได้ว่ามีปริมาณที่สูงมาก ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าการแลกเปลี่ยนของกำนัลและของขวัญระหว่าง
ราชสำนักทั้งสองในอีกแง่หนึ่งก็คือการค้าในระดับราชสำนักที่แอบแฝงในรูปของบรรณาการนั่นเอง 
             จะเห็นได้ว่าความผูกพันทางการค้าระหว่างอยุธยาและจีนมีต่อกันอย่างเหนียวแน่น สังเกตได้จากอัตราความถี่ของการส่งทูตและปริมาณของเครื่องราชบรรณาการ  และจากการแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอยุธยาของทางฝ่ายจีน เช่นในสมัย พระเจ้าหงหวู่ จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิง ผู้ทรงริเริ่มการใช้ระบบหนังสือเดินทาง (tally system =คำหับ) ได้พระราชทานหนังสือเดินทางแก่อยุธยาเป็นอาณาจักรแรกก่อนรัฐบรรณาการอื่น ๆ นอกจากนั้น ในปี พ.ศ. 1934 พระองค์ยังได้พระราชทานเครื่องชั่ง ตวง วัด แก่อยุธยาด้วย ทำให้สินค้าต่าง ๆ ของทั้งสองอาณาจักรใช้ระบบการชั่ง ตวง วัด ด้วยมาตรฐานเดียวกันตั้งแต่นั้นมา ในขณะเดียวกัน ทางฝ่าย อยุธยาก็ได้ตอบรับสัมพันธ์อันดีงามนี้ด้วยการให้อภิสิทธิ์บางประการแก่พ่อค้าจีน เพื่อดึงดูดให้สำเภา ของพ่อค้าจีนเข้ามาจอดแวะทำการค้าขายที่อยุธยา เช่น ลดหย่อนอัตรภาษีขาเข้าให้พ่อค้าจีนจ่ายเพียง 12 ชัก2 ในขณะที่พ่อค้าชาติอื่น ๆ ต้องจ่ายถึง 9 ชัก 2 อยุธยา และจีนจึงมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นจนรายงานของพ่อค้าต่างชาติ ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงกับระบุว่า “สยามทำการค้ากับจีนเป็นอย่างมาก

เงินพดด้วงและรังนกสินค้าสำคัญในสมัยพระนารายณ์

            สรุปได้ว่าตลอดช่วง พ.ศ.1914-2054 ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและจีนได้ดำเนินไปอย่างใกล้ชิดและมีสัมพันธ์ภาพที่ดีงามต่อกัน อยุธยามุ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลักในการติดต่อสัมพันธ์กับจีน และได้ผลกำไรอย่างมากจากการติดต่อค้าขายกับจีน ภายใต้ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ภายหลังการติดต่อกับตะวันตก (พ.ศ.2054-2310) หลังจากพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยอยุธยาขึ้นครองราชย์แล้วและเมื่อราชบัลลังก์ปลอดภัย ก็จะมีการส่งคณะทูตบรรณาการไปเมืองจีน เพราะเป็นเงื่อนไขที่จะต้องกระทำก่อนจะได้รับสิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจ ส่วนจีนนั้น ถึงแม้จะได้รับเครื่องบรรณาการจากพระมหากษัตริย์ไทย แต่ก็ปรากฏว่าจีนแทบจะไม่เคยแทรกแซงในปัญหาการสืบราชบัลลังก์ของไทยเลย การที่ไทยมีสัมพันธ์ไมตรีกับจีนในฐานะรัฐบรรณาการของจีนโดยที่ไทยเองไม่เคยคิดว่าตนเองอยู่ในฐานะเช่นนั้นอย่างจริงจังก็เพราะว่าไทยต้องการผลประโยชน์จากจีนทางด้านการค้าขายเป็นสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด เพราะถ้าไทยส่งบรรณาการ ไปถวายจักรพรรดิจีนไทยก็จะได้รับผลประโยชน์จากากาค้าขายกับจีนควบคู่ไปด้วย ดังจะเห็นได้จากลักษณะการค้าขายระหว่างไทยกับจีนในยุคนั้น ในปี พ.ศ. 2058 ไทยส่งคณะทูตบรรณาการไปจีน และก่อนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2072พระองค์ได้ส่งคณะทูตไปจีนอีกสองชุด ในปี พ.ศ. 2069 และปี พ.ศ. 2072 หลังจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ.2096 ไทยมิได้ส่งคณะทูตบรรณาการ ไปจีนเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะกำลังเกิดวิดฤติการณ์ทางการเมืองภายในอยุธยา และมีความขัดแย้งกับหม่าเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2096 ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ไทยได้ส่งช้างเผือกจำนวน 1 เชือกถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่จักรพรรดิจีน ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจีน ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์ทรงส่งคณะทูตไปจีน 4 ชุด หลังจากนั้นก็หยุดชะงักไป จนมาถึงสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.2112-2133) จึงได้ส่งคณะทูตบรรณาการไปจีนอีก ในปี พ.ศ.2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133-2148 ) ได้ส่งคณะทูตไทยไปจีนเพื่อยื่นข้อเสนอส่งกองทัพเรือเข้าช่วยรบกับญี่ปุ่น แต่จีนมิได้ข้อเสนอของไทย แต่ประการใด หลังจากจีนมิได้รับเสนอของไทยแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนก็ห่างเหนิมากขึ้นกว่าเดิม ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ.2148-2153) และรัชสมัยสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์(พ.ศ.2153) ไทยมิได้ส่งทูตไปจีนอีกเลย จนกระทั่งมา ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจึงได้จัดส่งทูตไปจีนอีกตามปกติ ภายหลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว พระมหากษัตริย์ไทยบางพระองค์ก็ทรงจัดส่งคณะทูตไปจีนอยู่บ้างเพียงเพื่อรักษาสัมพันธภาพกับจีน ระหว่าง พ.ศ. 2243-2309 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง ไทยส่งทูตไปจีนรวมแล้วจำนวน 12 ครั้ง โดยที่ระหว่าง พ.ศ. 2251-2263 ไทยมิได้มีการส่งทูตไปจีนเลย ถึงแม้ว่าการส่งทูตของไทยจะลดจำนวนลงเรื่อย ๆ แต่สัมพันธภาพระหว่าง 2 อาณาจักรก็ยังคงเป็นไปอย่างฉันท์มิตรจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 จากการที่ไทยมีสัมพันธ์ทางการเมืองและการทูตกับจีนในลักษณะรัฐบรรณาการของจีนดังกล่าว ทำให้มีผลดีต่อการค้าขายระหว่างไทยกับจีนไปด้วย โดยเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ในบางครั้งและในบางครั้งก็อาจจะหยุดชะงักไปบ้างถ้าทั้งสองฝ่ายมีปัญหาภายในที่จะต้องแก้ไขสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2054 การค้าระหว่างอยุธยากับจีนมีสภาพคล่องตัวมาก สินค้าจีนที่ส่งมาค้าขาย ในไทยนำส่งไปขายในบริเวณใกล้เคียงกับไทยเป็นจำนวนมากขึ้น ขณะเดียวกันสินค้าของไทยที่ส่งไปขายยังมะละกาและหมูเกาะริวกิวก็ถูกส่งต่อไปขายยังจีน สินค้าดังกล่าว ได้แก่ ไม้ฝางและพริกไทย เป็นต้น จากการลงนามสัญญาทางการค้ากับโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2059ทำให้โปรตุเกสได้ซื้อสินค้าจีนจากไทย เพราะยังไม่ได้รับอนุญาตให้ค้าขายกับจีน โดยตรงได้มีผลทำให้การค้า ระหว่างจีนกับไทยเจริญเติบโตมากขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 2059-2068 การค้าขายระหว่างไทยกับจีนยังคงเป็นปกติในรูป “การค้าแบบบรรณาการ” ระหว่าง พ.ศ. 2063 -2093 จีนถูกโจรสลัดชาวญี่ปุ่นและโจรสลัดชาวโปรตุเกสซึ่งปฏิบัติการอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลของจีนคุกคาม จีนจึงประกาศห้ามการค้าขายตามชายฝั่งยกเว้นเฉพาะการค้าแบบบรรณาการที่จำกัดเท่านั้น นโยบายดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการค้าของไทยอยู่บ้าง แต่พ่อค้าไทยก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีขณะที่พำนักอยู่ในจีน จากการคุกคามของโจรสลัดชาวโปรตุเกส ทำให้สำเภาจีนที่ค้าขายกับมะละกาหันมาค้าขายกับเมืองท่าทางใต้ของไทยแทน และการค้าระหว่างไทยกับจีนก็ดำเนินต่อไปโดยมิได้หยุดชะงัก ภายหลังปี พ.ศ. 2073 ไปแล้ว จีนเริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดลงเป็นลำดับ ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อการค้าระหว่างไทยกับจีนมาก แต่ไทยก็กำลังประสบปัญหาการเมืองภายในและการรุกรานจากพม่า ดังนั้นในช่วง  พ.ศ. 2071-2095 การค้าระหว่างไทยกับจีนจึงซบเซาลงแต่ชาวจีนในไทยก็ยังคงดำเนินธุรกิจการค้าของตนได้ตามปกติจนสามารถขยายอิทธิพลทางการค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณปลายปี พ.ศ.2096 ภายหลังเหตุการณ์ยุ่งยากภายในของไทยสงบลงการติดต่อค้าขายระหว่างไทยกับจีนได้เฟื่องฟูขึ้นอีก แต่ในขณะเดียวกันพ่อค้าไทยก็ต้องเผชิญปัญหาการแทรกแซงของข้าราชการจีนอย่างหนัก ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากข้าราชการจีนได้เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากพ่อค้าไทยเพื่อแลกเปลี่ยนกับการผ่อนผันความเข้มงวดของข้อบังคับทางการค้าจนกระทั่งทูตไทยต้องยื่นฎีการ้องเรียนกล่าวโทษพวกข้าราชการจีนที่กวางตุ้ง ก่อนหน้าที่อยุธยาจะตกเป็นของพม่าในปี พ.ศ. 2112 ไทยต้องเผชิญปัญหาการรุกรานของพม่า ทำให้กระทบกระเทือนการค้าระหว่างไทยกับจีนอยู่บ้างแต่ชาวจีนในไทยก็ยังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการค้ากับต่างประเทศไว้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการค้ากับจีน ถึงแม้ว่าการค้า ของหลวงจะได้รับความกระทบกระเทือนกับสงครามที่ยืดเยื้อกับพม่าก็ตามตราบจนอยุธยาตกเป็นของพม่าในปี พ.ศ. 2112 การค้าของหลวงกับจีนก็หยุดชะงักลง และการค้าของเอกชนชาวจีนก็ซบเซาลงด้วย ในปี พ.ศ.2116 ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับจีนฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งระหว่าง พ.ศ.2153-2171 การค้าระหว่างไทยกับจีนทรุดต่ำลงเพราะสถานการณ์ภายในของจีนไม่มั่นคง มีเรือสำเภาจากจีนเข้ามาค้าขายในไทยเพียงปีละ 4 ลำเท่านั้น ด้วนเหตุนี้ไทยจึงหันไปดำเนินธุรกิจการค้ากับญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในสมัยพระเข้าปราสาททอง พ.ศ.2173-2198 ชาวญี่ปุ่นก็ถูกขับออกจากไทยเพราะตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ ทำให้การค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซบเซา และการค้าระหว่างไทยกับจีนก็ฟื้นตัวขึ้นอีก ขณะเดียวกันไทยก็ดำเนินนโยบายผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้ามากขึ้น ทำให้พระมหากษัตริย์ต้องอาศัยชาวจีนดำเนินงานตามนโยบายผูกขาดการค้าทั้งในการเดินเรือและขายสินค้า ในขณะเดียวกันชาวจีนก็ยังคงทำธุรกิจการค้าส่วนตัวไปด้วย ในระยะการฟื้นฟูการค้าระหว่างไทยกับจีนนี้ มีเรือหลวงประมาณ 3 ลำ และเรือของพ่อค้าชาวจีนประมาณ 3 ลำ แล่นไปค้าขายยังเมืองจีนทุกปี ในขณะที่มีเรือสำเภามาค้าขายจากจีนประมาณ 5 ลำ ทุกปี ไทยได้ส่งคณะทูตบรรณาการไปจีนอีกใน ปี พ.ศ.2195 หลังจากนั้นการค้าระหว่างไทยกับจีน ทั้งของรัฐและเอกชนได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในอดีตการค้าค่อนข้างช้า เพราะจีนหันกลับมาใช้นโยบายทางการค้าที่เข้มงวดอีก

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรับพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จากอัครราชฑูตฝรั่งเศสทูลเกล้าถวาย

ภาพแกะไม้ของชาวฝรั่งเศส แสดงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงกล้องทอดพระเนตรจันทรุปราคาเต็มดวงใน คืนวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2228 ร่วมกับคณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ พระตำหนักทะเลชุบศร เมืองลพบุรี 

ภาพเขียนโดยชาวฝรั่งเศส แสดงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคา ในเวลาตอนเช้า ของวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2231 ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี
            หลังจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ
.ศ.2194 แล้ว การค้าระหว่างไทยกับจีนเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว คณะทูตไทยที่คุมเครื่องบรรณาการไปจีนก็ทำการค้าด้วย ดังจะเห็นได้จากความพยายามของคณะทูตที่นำเรือบรรทุกสินค้า เต็มลำไปจีนเกินจำนวนที่จีนวางกฎเกณฑ์เอาไว้ และยังได้จัดส่งคณะทูตบรรณาการไปจีนถึง 2 ชุดภายในปีเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการค้าที่อยู่เบื้องหลังบรรณาการนั่นเอง นับจากสมัยพระเพทราชา (พ.ศ.2231-2246) เป็นต้นไป การค้าของรัฐเริ่มตกต่ำลงเนื่องมาจากการจลาจลาจลภายในอยุธยา ภายหลังสมัยสมเด็จพระเพทราชาไปแล้ว จีนได้อนุญาตให้คนไทยขายสินค้าของตนได้ทั้งในปักกิ่งและกวางตุ้ง ระหว่าง พ.ศ. 2225-2264 จีนหันกลับไปใช้นโยบายเข้มงวดทางการค้าอีก ทำให้การค้าระหว่างไทยกับจีนซบเซาลงชั่วระยะเวลาหนึ่งในปี พ.ศ. 2265 จีนขอร้องให้ไทยส่งข้าวไทยจำนวน 300000 หาบ ไปขายที่เมืองฟูเกี้ยน กวางตุ้ง และนิงโป โดยสัญญาจะยกเว้นภาษีให้ ทำให้ข้าวเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทยที่ส่งไปจีน และพ่อค้าจีนในไทยก็มีอิทธิพลเหนือการส่งข้าวออกนอกอาณาจักรทั้งหมด จีนได้ออกคำสั่งให้ขุนนางจีนช่วยดูแลมิให้กีดกันพ่อค้าไทย และได้มีการยกเว้นภาษีสินค้าข้าวและสินค้าอื่น จากไทย ในปี พ.ศ.2283จีนได้สนับสนุนให้ชาวจีนเดินทางไปไทยและต่อเรือในไทยเพราะไทยมีไม้เนื้อแข็งที่อุดมสมบูรณ์ มาก นอกจากนี้ จีนยังได้ส่งเสริมให้บรรดา พ่อค้าจีนสั่งสินค้าข้าวจากไทยมากขึ้น ความรุ่งเรืองของการค้าระหว่างไทยกับจีนยังคงดำเนินต่อไป 
          ในปี พ.ศ. 2310 ไทยเสียทีแก่พม่าความสัมพันธ์จึงได้หยุดชะงักลง หากเราพิจารณาจะเห็นว่าไทยเราสมัยอยุธยามีความสัมพันธ์กับจีนส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กันในเรื่องการค้าโดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถือเป็นยุคที่การค้าของไทยเจริญรุ่งเรืองที่สุด ไทยส่งสินค้าไปจีนที่สำคัญ ได้แก่ หมาก ฝาง งาช้าง รังนก ดีบุก ดินประสิว พริกไทย กำยาน ครั่ง และจากจีนก็มีไหมดิบ แพรดิบ แพรต่าง ๆ เหล็ก เงิน เครื่องลายคราม ฯลฯ เป็นต้น  
          คงจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในสมัยอยุธยาบ้างนะคะคราวหน้าเรามาพบกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในสมัยกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้นกันต่อค่ะ
  คำถาม
1. ในสมัยอยุธยาไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศจีนในลักษณะใด
2. สินค้าออกที่สำคัญในสมัยอยุธยามีอะไรบ้าง
3. พระคลังสินค้ามีบทบาทสำคัญอย่างไร
4.  บางช่วงไทยกับจีนในสมัยอยุธยาความสัมพันธ์หยุดชงักลงไปเนื่องจากสาเหตุใด
สาระประวัติศาสตร์ช่วงชั้น 3-4
มาตรฐาน  ส  4.2  เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติ  จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

บูรณาการ  สาระการเรียนรู้ศิลปะ

ที่มาของภาพ: https://mblog.manager.co.th/uploads/212/images/m18.JPG

https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/192/7192/images/Sea/K1.jpg

https://i427.photobucket.com/albums/pp357/applejamado/work/55/b56fd9b6.jpg?t=1233229182

ที่มาของข้อมูล : https://isc.ru.ac.th/data/PS0002245.doc

Link ที่เกี่ยวข้อง
 https://jove.prohosting.com/~golfth/back_history_econ_tang.html
https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/tawat_k/laktanprawattisat/3page04.htm

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=661

อัพเดทล่าสุด