เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...


631 ผู้ชม


เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดในการผลิตสินค้าและบริการ   

    

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

  

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

     เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดในการผลิตสินค้าและบริการ เมื่อทรัพยากรมีอย่างจำกัด เราจึงควรใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ทั้งในส่วนจุลภาคและส่วนมหภาค จะเป็นประโยชน์เพราะเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ให้รู้จักใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

เศรษฐศาสตร์

        

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

       เศรษฐศาสตร์ (Economics) มาจากภาษากรีก แปลว่า การบริหารจัดการครัวเรือน เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการ ของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

การแบ่งประเภทของวิชาเศรษฐศาสตร์    

แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)

       หมายถึง การศึกษาเศรษฐศาสตร์เฉพาะในส่วนย่อย ๆ ซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล มักเกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางด้านประสิทธิภาพในการ จัดสรรทรัพยากร เช่น การกำหนดราคา

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

       หมายถึง การศึกษาเศรษฐศาสตร์ในส่วนรวมทั้งระบบ เช่น รายได้ประชาชาติ การจ้างงานของประเทศ

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

ประโยชน์ของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์

 ประโยชน์ต่อตัวผู้เรียน

1. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้น

2. เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของผู้เรียนเอง

3.ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนา ประเทศมากขึ้น เช่น การเก็บภาษี การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน

4. สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

5. รู้จักการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่า

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

     ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ผลิตสันค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพและสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอเศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ ที่ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม เนื่องจากสังคมศาสตร์เป็นวิชาที่กว้างและลึกซึ้งยากที่จะศึกษาได้ทุกแง่ทุกมุม จึงต้องแยกออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

 

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

       ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเกิดจากมีทรัพยากรอย่างจำกัด ไม่เพียงพอกับความต้องการของคนในสังคม จึงทำให้เกิดปัญหา ได้แก่

ปัญหาผลิตอะไร

เป็นการตัดสินว่าจะผลิตอะไร และบริการอย่างไรบ้าง จำนวนเท่าไร

ปัญหาผลิตอย่างไร

        เป็นการพิจารณาว่าจะใช้เทคนิคการผลิตแบบใด ใช้ปัจจัยการผลิตอะไร

และใช้ปริมาณเท่าไร

ปัญหาผลิตเพื่อใคร

เป็นการพิจารณาว่าจะผลิตเพื่อใครหรือกลุ่มบุคคลใด

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

 คำถาม :  วิชาเศรษฐศาสตร์เกิดจากปัจจัยพื้นฐานอะไรบ้าง (ทำไมมนุษย์จึงต้องศึกษา)

 

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

          

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น...

   

        ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาหน่วยเศรษฐกิจทั้งหลายในแต่ละสังคมอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันกับประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่แตกต่างจากสหภาพพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น ลักษณะความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจได้ ๓ ประเภท ดังนี้

1. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือแบบบังคับ

                    ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือแบบบังคับ เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ทำหน้าที่ กล่าวคือ รัฐจะเป็นผู้กำหนดวางแผนเองว่าสังคมจะต้องผลิตสินค้าและบริการอะไรในประมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใครกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินหรือทรัพยากรมักเป็นของรัฐ ดังนั้น การตัดสินใจทางเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้ระบบนี้ จึงมาจากการตัดสินใจของรัฐบาลหรือการวางแผนจากส่วนกลาง

                    ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบบังคับนี้มีอยู่หลายประเทศ เช่น ประเทศสหภาพ เวียดนาม สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้มักเป็นประเทศที่มีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์

2.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือแบบตลาด

                    ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือแบบตลาด เป็นระบบเศรษฐกิจที่หน่วยเศรษฐกิจต่างๆสามารถตัดสินใจเลือกซื้อหรือผลิตสินค้าและบริการตามความต้องการของตนได้อย่างเสรี กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของเอกชน นั่นคือ ประชาชนสามารถที่จะเลือกผลิตสินค้าบริโภคใดก็ตามความพึงพอใจ ตลอดจนสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเท่าที่ตนหามาได้แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายที่กำหนดในระบบเศรษฐกิจแบบนี้    

3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

                  ในสภาพความเป็นจริงเราไม่สามารถแยกออกได้ว่าในแต่ละประเทศของโลกมีระบบเศรษฐกิจแบบใดเนื่องจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละลักษณะล้วนผสมกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่อาศัยศาสนาวัฒนธรรมประเพณีหรือแบบบังคับที่อำนาจการตัดสินใจต่างๆขึ้นอยู่กับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว

                   จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือแบบตลาดเป็นระบบเศรษฐกิจที่ประชาชนหรือเอกชนสามารถค้าขายแข่งขันกันได้อย่างเสรี โดยที่รัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือยุ่งเกี่ยวให้น้อยที่สุดแต่อย่างไรก็ตามในระบบเศรษฐกิจที่กิจที่มีการแข่งขันกันแบบนี้ก็สามารถเกิดการผูกขาดขึ้นได้ โดยผู้ประกอบการรายย่อยและสามารถกำหนดราคาสินค้าเพื่อสร้างกำไรเกินควรเนื่องจากมีอำนาจต่อรองที่สูงเมื่อกลไกราคาไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งรวมถึงการผลิตและการจ่ายแจกสินค้าให้แก่ระบบเศรษฐกิจด้วย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1485

อัพเดทล่าสุด