พบฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์สายพันธ์ใหม่ของโลก


1,915 ผู้ชม



เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา แถลงผลการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลกจำนวน 2 ชนิด   

โดยมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผศ.ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผอ.สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ดร.รัตนาภรณ์ หันตา นักวิจัยสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ผู้พบฟอสซิลหมูโบราณ โดยดร.รัตนาภรณ์ กล่าวว่า ซากฟอสซิลที่พบเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประเภทหมูดึกดำบรรพ์ สกุลเมอริโคโปเตมัส ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 6-8 ล้านปีก่อน มีถิ่นอาศัยอยู่แถบเอเชียใต้ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณประเทศปากีสถาน พม่า ไทย โดยพบอยู่บริเวณบ่อขุดทรายของเอกชน ในพื้นที่ ต.ท่าช้าง อ.จักราช จ.นครราชสีมา ไม่ห่างจากแหล่งที่พบฟอสซิลช้างโบราณและไดโนเสาร์ที่พบเมื่อปีพ.ศ.2545 โดยพบเพียงส่วนหัวกะโหลก ลักษณะเรียวแบนคล้ายฮิปโปโปเตมัส และเป็นชิ้นที่ 5 ของโลกที่ขุดพบ หลังจากตรวจสอบโดยละเอียดพบว่าลักษณะฟันแตกต่างจากฟอสซิลที่พบในต่างประเทศ จึงวิจัยเจาะลึกลงไปเป็นเวลานานถึง 3 ปี กระทั่งแน่ชัดว่าเป็นฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์สายพันธุ์ใหม่ของโลก (ที่มาข่าวสดรายวัน วันที่  09 ตุลาคม  2552)
 ภาคอีสานเราใช่ย่อยเมื่อไหร่นอกจากพบว่าเป็นแหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัตศาสตร์แล้วเรายังพบซากฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์ที่ในโลกยังไม่มีประเทศใดค้นพบเลยดังนั้นเรามาทำความรู้จักภาคตะวันออกเฉียงเหนือกันหน่อยพบฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์สายพันธ์ใหม่ของโลก
ภูมิหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีเนื้อที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร เป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างมากที่สุด 
 ประกอบด้วยพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ 1.เลย 2.หนองคาย 3.อุดรธานี 4.สกลนคร 5.นครพนม
6.ขอนแก่น 7.กาฬสินธุ์ 8.มุกดาหาร 9.ชัยภูมิ 10.มหาสารคาม 11.ร้อยเอ็ด 12.ยโสธร 13.นครราชสีมา 14.บุรีรัมย์ 
15.สุรินทร์ 16.ศรีสะเกษ 17.อุบลราชธานี 18.อำนาจเจริญ 19.หนองบัวลำภู เป็นภาคที่มีลักษณะทางกายภาคแบ่งแยกออกไปจากภาคอื่น ๆอย่างชัดเจนและมักเรียกกันว่า     "ที่ราบสูงโคราช"  หรือในอดีตเรียกหัวเมืองชั้นนนอก ภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวจากภาคกลางประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้  เทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย    500-1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลมียอดเขาสูงสุดในภาคนี้คือ  ยอดภูหลวง มีความสูง1,571  เมตรและภูกระดึงสูง  1,325 เมตร  เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย  ได้ แก่  แม่น้ำพอง  แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม  แม่น้ำชีและแม่น้ำลำตะคอง ทางทิศใต้ มีเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาดงรักกั้นระหว่างภาคอีสานของไทยกับราขอาณาจักกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดสูงประมาณ  1,292  เมตร ส่วนตอนกลางภาคมีเทือกเขาภูพานทอดตัวจากเหนือลงสู่ทิศใต้แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ  แอ่งโคราช คือบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล มีพื้นที่  3  ใน  4 ของพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด แอ่งสกลนคร  คือบริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพานและบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง
     ในอดีตภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่เดิมเคยอยู่ใต้การปกครองของขอมมาก่อนดังจะเห็นได้จากหลักฐานของศาสนสถานศิลปวัตถุที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น  ปราสาทหินพิมาย  ปราสาทหินพนมรุ้ง ปรางค์ กู่  หรือพระธาตุต่าง ๆในพื้นที่หลายๆจังหวัดในแถบภาคอีสานความเกี่ยวข้องกับขอมทำให้ภาคอีสานมีศาสนสถานมากมาย จนอาจกล่าวได้ว่า  มีปูชนียสถานโบราณมากยิ่งกว่าภาคใด ๆ ในประเทศไทย มีทั้งสมัยทวารวดี และสมัยลพบุรี  โดยขอมได้สร้างขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  จึงมีการพบเห็นศาสนสถานสำคัญกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ของภาคอีสาน
     เมื่อสิ้นสมัยขอมไปแล้วดินแดนอีสานก็เกี่ยวพันกับอาณาจักรล้านนา  รวมทั้งอาณาจักรล้านช้าง จนกระทั่งอาณาจักรสยามแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา(อาณาจักรอยุธยา)สามารถมีอำนาจสามารถปกครองอาณาจักรล้านนาและล้านช้างได้ 2อาณาจักรจึงอยู่ในฐานะประเทศราชของอยุทธยา ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  พระองค์ทรงแบ่งเขตการปกครองหัวเมืองอีสานออกเป็น  3  มณฑล ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่  7มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล โดยให้แต่ละเมืองมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่  พ.ศ.2576 เป็นต้นมาหลังวงครามโลกครั้งที่    2  ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและการปกครองอย่างขนานใหญ่ทำให้พื้นที่ภาคอีสานเป็นแหล่งขยายลัทธิคอมมิวนิสต์  ในปลายปี  พ.ศ.2493  และได้ขยายตัวมากขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ทำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ได้วางแผนพัฒนาปรับปรุงภาคอีสานทั้งหมดโดยเริ่มนำโครงการต่าง ๆ เข้าไปยังพื้นที่ในปี  พ.ศ.2504  จ  ึงทำให้ภาคอีสานได้รับการพัฒนามาทุก ๆ ด้านจนถึงปัจจุบัน 
สภาพภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขนาด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร เป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างมากที่สุด 
ที่ตั้งสัมพันธ์
      ทิศเหนือ       ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ 
      ทิศตะวันออก  ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ 
      ทิศตะวันตก   ติดต่อภาคกลาง ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 
                        มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็นเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน 
      ทิศใต้           ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา และภาคตะวันออก ดินแดนที่อยู่ใต้สุดคือ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีเทือกเขาพนมดงรัก และสันกำแพงเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน
ลักษณะภูมิประเทศ
      ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน 2 ด้าน คือ ด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค ทำให้มีความลาดเอียงไปทางตะวันออก มีลักษณะคล้ายกะทะ แบ่งเป็น 2 เขตใหญ่ ได้แก่พบฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์สายพันธ์ใหม่ของโลก
  1. บริเวณแอ่งที่ราบ 
      - แอ่งที่ราบโคราช  (Korat basin) เป็นที่ราบต่ำที่อยู่ทางตอนล่าง (ด้านใต้) ของภาค เริ่มตั้งแต่บริเวณชายขอบของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งอยู่ทาง ด้านใต้ขึ้นไปทางเหนือจดเชิงเขาภูพานและชายขอบของเทือกเขาพญาเย็น ซึ่งอยู่ทางตะวันตกไปทางตะวันออกจนจดแม่น้ำโขง บริเวณแอ่งโคราชนี้มีลักษณะ ภูมิประเทศเป็นที่ราบลูกระนาด สลับกับลุ่มแม่น้ำโดยมีที่สูงอยู่ทางด้านตะวันตกและจะลาดต่ำลงไปทางตะพบฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์สายพันธ์ใหม่ของโลกวันออก มีแม่น้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขง คือ แม่น้ำชี กับแม่น้ำมูล 
      -   แอ่งที่ราบสกลนคร (Sakon Nakorn basin) เป็นแอ่งที่อยู่ทางตอนเหนือของภาคมีพื้นที่เล็กกว่าแอ่งที่ราบโคราช เริ่มตั้งแต่บริเวณชายขอบ เทือกเขาภูพานขึ้นไปทาง เหนือจนจดริมฝั่งแม่น้ำโขงใน จ.หนองคาย และเริ่มตั้งแต่ภูกระดึงทางตะวันตก ไปจนจดฝั่งแม่น้ำโขงใน จ.นครพนม แอ่งที่ราบนี้จะสูง ทางตอนใต้ซึ่งติดกับภูพานแล้วลาดต่ำ ไปทางเหนือและทางตะวันออก แม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำโขง คือ แม่น้ำสงคราม แอ่งน้ำจืดหรือทะเลสาบน้ำจืด      แผนที่แสดงแอ่งที่ราบ
คือ หนองหาน ที่ จ.สกลนคร กับหนองหาน ที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
  พบฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์สายพันธ์ใหม่ของโลก 2. บริเวณเขตภูเขา 
      - ภูเขาทางด้านตะวันตกของภาค วางตัวแนวเหนือ-ใต้ บริเวณภูเขาและที่สูงด้านตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ในเขต ข.เลย ขอนแก่น ทอดยาวมาเชื่อมต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น ในเขต จ.ชัยภูมิ และนครราชสีมา พบฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์สายพันธ์ใหม่ของโลกลักษณะภูมิประเทศบริเวณนี้ ส่วนใหญ่ประกอบ
     ด้วยภูเขาหินทราย ชุดพระวิหารภูพานและชุดภูกระดึง การกัดเซาะสึกกร่อน บางแห่งยังคงลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาที่มีด้านราบและมีขอบชัน (mesa or table land) เช่น ภูกระดึง เขาใหญ่ เป็นต้น เทือกภูเขาสูงเป็นแหล่งเกิดของ แม่น้ำลำธารสายสำคัญ ๆ ที่ไหลไปทางตะวันออก ตามแนวลาดเอียงของภูมิประเทศ ได้แก่ แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำพรม แม่น้ำเชิญ และลำธารสายสั้น ๆ 
แผนที่แสดงเทือกเขาในภาคอิสาน    อีกมากมายบางบริเวณภูมิประเทศเป็นที่สูงสลับลูกเนินเตี้ย ๆ มีที่ราบแคบ ๆ ในเขต จ.ชัยภูมิ เขตนี้บางแห่งยังมีป่าดงดิบที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศ ปัจจุบันป่า ดังกล่าวถูกก่นถาง เพื่อทำไร่
        ภูเขาทางตอนใต้ของภาค  บริเวณเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาดงรัก ภูมิประเทศทางด้านใต้ของภาคนี้ ด้านที่ติดกับประเทศกัมพูชา พื้นที่ถูกยกตัวสูงขึ้นขนานไปตาม แนวละติจูดบริเวณ ประเทศไทย เป็นที่สูงลาดเอียงไปทางเหนือ ส่วนในประเทศกัมพูชาเป็นที่ราบต่ำ จึงมักจะเรียกกันว่าเขมรสูงและเขมรต่ำ แนวเทือกเขาสูง ดังกล่าวเป็นแหล่งของต้นน้ำลำธารหลาย สาย เช่น ลำตะคอง ลำพระเพลิง แม่น้ำมูล ลำปลายมาศ ห้วยขะยูง ลำโคมใหญ่และลำโคมน้อย สาขาเหล่านี้ไหลลงสู่ แม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงในที่สุด ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีการกัดเซาะสึกกร่อน บางแห่งเป็นภูมิประเทศมีทั้งที่สูงที่ต่ำสลับกันไปเช่นเดียวกับที่ราบลูกฟูก นอกจากหินชั้นแล้ว บางแห่งยังมีหินอัคนี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลท์ ยุคเทอร์เชียรี แทรกดันตัวขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ ในเขต จ.บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีษะเกษ บางบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล จัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มี อาณาบริเวณกว้าง ขวางที่สุดในภูมิภาค นี้บาง แห่งภูมิประเทศเป็นที่ราบลูกฟูก สลับลูกเนิน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งสองนี้ เนื่องจากเป็นที่ลุ่มต่ำ ประกอบกับบางบริเวณแม่น้ำไหลคดเคี้ยว โค้งตะวัด (meangers) และบางแห่งแม่น้ำลัดทางเดิน จึงมีทะเลสาบรูปแอกปรากฏอยู่ทั่ว ๆ ไป ประชากรตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตนี้หนาแน่นกว่าเขตอื่น ๆ ของภาคส่วนใหญ่มักจะรวมกัน อยู่บน ที่ดอนเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งลักษณะการตั้งบ้านเรือนดังกล่าวแตกต่างไปจากการตั้งบ้านเรือนในบริเวณภาคกลางของประเทศ สาขาของแม่น้ำชีในส่วนที่เกิดจาก เทือกเขาภูพาน เช่น ลำเซ ห้วยเซบก ไหลลงสู่แม่น้ำชี และไปรวมกับแม่น้ำมูลระหว่าง อ.เขื่องใน กับ อ.วารินชำราบ ในเขต จ.อุบลราชธานี และแม่น้ำมูลไหลลงสู่ แม่น้ำโขงในเขต จ.อุบลราชธานีเช่นเดียวกัน
ลักษณะภูมิอากาศ
   สภาพภูมิอากาศภาคอีสานได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ชนิดคือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ 
-   ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งเนื่องจากความชี้นจากทะเลเข้ามาไม่ถึง
-  ฤดูฝนอยู่ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม ปริมาณฝนขึ้นอยู่กับพายุหมุนเขตร้อน
-  ฤดูหนาวอยู่ระหว่างกลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,446.70 มิลลิเมตรต่อปี
คำถาม
1. เพราะเหตุใดในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงแห้งแล้งกว่าภูมิภาคอื่น ๆอธิบายพร้อมให้ยกเหตุผลประกอบ
2.โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเปลือกโลกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างไร
สาระภูมิศาสตร์ช่วงชั้นที่  4 (ม.5)
บูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
 โครงสร้างทางธรณีวิทยา
ที่มาของข้อมูล: พีรพล  ยศธสาร.2541 ภูมิศาสตร์กายภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น: บริษัทเพ็ญพริ้นติ้ง จำกัด
ที่มาของรูปภาพ : 
https://img216.imageshack.us/img216/6749/mapnortheastdn1.gif
เว็ปไซด์ที่เกี่ยวข้อง https://www.gisthai.org/map-galery/PROJECT/floodpasak/pasak.html  
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99_(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
https://ecurriculum.mv.ac.th/elibrary/library/theyoung.net/puumisad_thai_6.htm#1https://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=2830&filename=index

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1675

อัพเดทล่าสุด