ภูมิอากาศโลก(ตอนจบ)


1,091 ผู้ชม



เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ( Humid Mesothermal Climate “ C” ) เป็นเขตภูมิอากาศที่ปรากฏอยู่ในเขตละติจูดกลาง อุณหภูมิของอากาศเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกวา 18 องศาเซลเซียส แต่สูงกว่า -3 องศาเซลเซียส   

    ตอนที่ผ่านมาเราได้ศึกษาลักษณะภูมิอากาศแบบแห้งแล้งคงพอนำไปเปฺ็นแนวทางได้นะคะ ตอนนี้เราก็มาดูลักษณะเขตภูมิอากาศอื่นกันต่อดีกว่าค่ะ 
 3.เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ( Humid Mesothermal Climate “ C” ) เป็นเขตภูมิอากาศที่ปรากฏอยู่ในเขตละติจูดกลาง เป็นเขตภูมิอากาศที่อยู่ในแนวปะทะของมวลอากาศเขตร้อนจากขั้วโลก ปริมาณน้ำฝนขึ้นอยู่กับทิศทางการพัดพาของลมประจำถิ่น แบ่งออกเป็น 3 เขตย่อย ดังนี้
         1)เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ( Mediterranean Climate “Csa” ,“Csb ” )  ลักษณะอากาศแห้งแล้งในฤดูร้อน แต่จะมีฝนตกในฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ในเขตอิทธิพลของมวลอากาศอบอุ่นและชื้นจากภาคพื้นสมุทร และมีพายุพัดเข้าสู่ชายฝั่ง ในฤดูร้อนได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศแห้งภาคพื้นทวีปที่จมตัวลงมาทำให้อากาศแห้งแล้ง เขตภูมิอากาศนี้จะปรากฏอยู่อย่างเด่นชัดทางด้านชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 30 – 40 องศาเหนือ และใต้ และทางตอนใต้และตอนกลางของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนกลางของประเทศชิลี ตอนเหนือของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่ประเทศโปรตุเกสไปจนถึงประเทศตุรกี เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงประเทศอิหร่าน ในประเทศโมร็อกโก ทางเหนือของเอลจีเรีย และตูนิเซีย ทางเหนือของเบงกาสี ในประเทศลิเบีย และทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย ย่านเคปทาว์นแอฟริกาใต้ อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า ลักษณะอุณหภูมิจะแตกต่างกันไปในแต่ละ ที่ตั้งของพื้นที่ โดยถ้าบริเวณใดอุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ยตลอดปีเท่าหรือสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะเป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนร้อน (Csa) แต่ถ้าหากอุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ยตลอดปีต่ำกว่า 22 องศาเซลเซียส จะเป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น (Csb) ซึ่งโดยทั่วไปจะปรากฏอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลระหว่างละติจูดที่ 30 – 40 องศาเหนือ และใต้ และมีกระแสน้ำเย็นไหลผ่าน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็น ป่าไม้เนื้อแข็ง ไม่ทิ้งใบ ลำต้นไม่สูง ใบเล็กหนาเป็นมัน ลำต้นมีเปลือกหนา เพื่อลดการสูญเสียน้ำในฤดูร้อน 
       2)เขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน ( Humid Subtropical Climate “Cfa” ,“Cwa” ) พบบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีป จึงได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศชื้นภาคพื้นสมุทร บริเวณที่มีลักษณะอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน ได้แก่ ชายฝั่งตะวันออกของทวีปบริเวณละติจูดที่ 25 – 40 องศาเหนือ และใต้ เช่น ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ ในประเทศปารากวัย ทางใต้ของบราซิล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาใต้ ทางตะวันออกของออสเตรเลีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ลุ่มแม่น้ำโปของอิตาลี ภายในของประเทศยูโกสลาเวีย และทางตะวันออกของประเทศจีนด้านตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำฮวงโห ฤดูร้อนอยู่ระหว่าง 24 – 27 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวอุณหภูมิของอากาศอยู่ระหว่าง 6 – 13 องศาเซลเซียส ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ตั้งว่าอยู่ใกล้หรือห่างจากชายฝั่งทะเลเพียงใด หรืออยู่ในเขตละติจูดสูงต่ำเพียงใด สำหรับเขตภูมิอากาศแบบ Cfa จะมีฝนตกตลอดทั้งปี เดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุดจะมีค่ามากกว่า 3 เซนติเมตร แต่ในเขตภูมิอากาศแบบ Cwa จะมีอากาศแห้งแล้งในช่วงฤดูหนาว แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกตลอดปีของเขตภูมิอากาศแบบชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อนจะแปรผันอยู่ระหว่าง 75 - 150 เซนติเมตรต่อปี พืชพรรณจึงได้แก่พืชจำพวกไม้ใบกว้างทิ้งใบ ในเขตที่สูงเป็นป่าไม้ใบกว้างผสมกับป่าสน 
         3)เขตภูมิอากาศชายฝั่งตะวันตก ( Marine West Coast Climate “Cfb” ,“Cfc” ) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดทั้งปี พบบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปต่างๆ ในบริเวณเขตละติจูดที่ 40 – 60 องศาเหนือ และใต้ จึงได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศภาคพื้นสมุทร โดยมากพบบริเวณทางด้านชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา จากทางเหนือของแคลิภูมิอากาศโลก(ตอนจบ)ฟอร์เนีย เลียบชายฝั่งไปจนถึงตอนใต้ของอลาสกา ส่วนประเทศชิลีเริ่มจากละติจูดที่ 40 องศาใต้ลงไป ตอนใต้ของแอฟริกา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนียและนิวซีแลนด์ และส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ทางยุโรปตะวันตก เริ่มตั้งแต่เกาะไอซ์แลนด์ไปจนถึงตอนใต้ของโปแลนด์  ฤดูร้อนอุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ย ต่ำกว่า 22 องศาเซลเซียส แต่อย่างน้อย 4 เดือนที่อุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ซึ่งในการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนใช้สัญลักษณ์ Cfb แต่ถ้าหากเขตภูมิอากาศแบบชายฝั่งตะวันตกที่มีอากาศเย็นในฤดูร้อนใช้สัญลักษณ์ Cfc ซึ่งลักษณะอากาศโดยทั่วไปในช่วง 1 – 3 เดือนอุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิของอากาศร้อนที่สุดเฉลี่ยประมาณ 12 – 21 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวเดือนที่หนาวที่สุดมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 0 – 9 องสาเซลเซียส สำหรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณที่ราบมีปริมาณเฉลี่ย 75 – 100 เซนติเมตร ส่วนในบริเวณด้านต้นลมของภูเขาที่ตั้งรับลมประจำฝ่ายตะวันตก ที่พัดเข้าสู่ฝั่งมีปริมาณเฉลี่ย 150 – 200 เซนติเมตร พืชพรรณธรรมชาติจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ในทวีปยุโรปเป็นป่าไม้ใบกว้างทิ้งใบในฤดูหนาว ส่วนในอเมริกาเหนือเป็นป่าสนตามเทือกเขาที่ตั้งรับลมประจำ สำหรับประเทศนิวซีแลนด์เป็นป่าฝนเขตอบอุ่น (Temperate Rainforest) 
  4.เขตภูมิอากาศแบบเย็นชื้น ( Humid Microthermal Climate “ D” ) เป็นเขตภูมิอากาศในละติจูดกลางที่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็นอย่างรุนแรง แบ่งเป็น 3 เขตย่อย ดังนี้
       1) เขตภูมิอากาศชุ่มชื้นภาคพื้นทวีปที่ร้อนในฤดูร้อน ( Humid Continental Hot Summer Climate “ Dfa” , “Dwa” ) ลักษณะอากาศจะร้อนและชุ่มชื้นในฤดูร้อน พบในอเมริกาเหนือต่อจากแนว เขตภูมิอากาศแบบสเต็ปป์ในแถบตะวันตกกลางของสหรัฐอเมริกามายังชายฝั่งตะวันออก และอยู่เหนือเขตภูมิอากาศแบบชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อนในยุโรป ปรากฏตั้งแต่ยุโรปตะวันออกต่อกันเข้าไปยังประเทศโรมาเนียและบัลเกเรีย ในเอเชียจะปรากฏอยู่ในแมนจูเรียของประเทศจีนและคาบสมุทรเกาหลีเหนือ ฤดูร้อนจะมีช่วง 3 – 4 เดือน อุณหภูมิมี ค่าเฉลี่ยราว 21 - 24 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวมีระยะเวลา 3 – 5 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยราว - 4 ถึง 2 องศาเซลเซียส  พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ ป่าผสมระหว่างป่าไม้ใบกว้างทิ้งใบกับป่าสน ส่วนบริเวณที่สูงจะเป็นป่าสน บริเวณป่าไม้ที่ถูกแผ้วถางทำลายจะกลายเป็นทุ่งหญ้าแพรี่ 
        2) เขตภูมิอากาศชุ่มชื้นภาคพื้นทวีปที่อบอุ่นในฤดูร้อน ( Humid Continental Mild Summer Climate “ Dfb” , “Dwb” ) เป็นเขตภูมิอากาศที่อากาศอบอุ่นในฤดูร้อน มีความแตกต่างจากเขตภูมิอากาศแบบชุ่มชื้นภาคพื้นทวีปที่ร้อนในฤดูร้อน คือ ในฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นกว่า ส่วนในฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายกว่า และมีหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในปริมาณน้อย  พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ป่าไม้ผสม ระหว่างป่าไม้ใบกว้างทิ้งใบผสมกับป่าสน  เช่น โอ๊ก เมเปิ้ล พันธุ์ไม้สน เช่น เฟอร์ ไพน์ ส่วนบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในผืนแผ่นดิน ปริมาณความชื้นลดลง พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าแพรี่ และทุ่งหญ้าสเต็ปป์ 
       3) เขตภูมิอากาศกึ่งขั้วโลกภาคพื้นทวีป ( Continental Sub-Arctic Climate “Dfc” , “Dwc” , “Dfd” และ “Dwd” ) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีอากาศหนาวเย็นภูมิอากาศโลก(ตอนจบ)มากในช่วงฤดูหนาวเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลิ่มความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุม เขตภูมิอากาศกึ่งขั้วโลกภาคพื้นทวีปมักพบบริเวณซีกโลกเหนือ ได้แก่ในอเมริกาเหนือ และยูเรเชีย ที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 50 – 55 และ หรือ 70 องศาเหนือ ในทวีปอเมริกาเหนือจะเป็นแนวแผ่ขยายจากอลาสกามาจนถึงนิวฟันด์แลนด์ของประเทศแคนาดาถึงทะเลแลบราเดอร์ ส่วนในยูเรเชียเริ่มจากทะเลบาเรนต์ถึงทะเลเบริ่งและทะเลโอโคทสต์ เนื่องจากในเขตนี้มีลักษณะอากาศปลีกย่อย แตกต่างกันอยู่ เคิปเปนจึงได้แบ่งออกเป็นเขตย่อย ได้แก “Dfc” มีสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเย็น มีฤดูร้อนสั้นๆ น้อยกว่า 4 เดือน ที่มีอุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส แต้ถ้าหากสภาพอุณหภูมิของอากาศเย็นมากกว่านี้ ใช้สัญลักษณ์ “Dfd” ในฤดูหนาวอากาศเย็นจัดมาก เดือนที่หนาวที่สุดอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า -38 องศาเซลเซียส ส่วนสัญลักษณ์ “Dwc” หรือ “Dwd” นั้นจะมีอุณหภูมิของอากาศคล้ายคลึงกันกับที่กล่าวมาแล้วแต่จะแตกต่างกัน คือ หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาจะมีอากาศแห้งแล้งในช่วงฤดูหนาว ส่วน “Dfc” และ “Dfd” จะมีหยาดน้ำฟ้าตกตลอดทั้งปี ปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาตลอดปีเฉลี่ยต่ำกว่า 30 เซนติเมตร  พืชพรรณธรรมชาติส่วนมากเป็นป่าสน เรียกว่า “ป่าไม้เขตหนาว” (Boreal Forest) ในรุสเซีย เรียกว่า “ไทก้า” (Taiga) ในแคนาดา เรียกว่า “ป่าสนเหนือ” บริเวณพื้นล่างของต้นไม้มีพืชจำพวกมอสส์ และไลเคน ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนในบริเวณที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงขึ้นจะเป็นป่าไม้ทิ้งใบและป่าสนผสมกัน 
     5.  เขตภูมิอากาศแบบขั้วโลก ( Polar Climate “ E ” ) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีความหนาวเย็นอย่างรุนแรง ทุกเดือนของปีมีอุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาส่วนใหญ่อยู่ในรูปของหิมะ แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อย ดังนี้
          1)เขตภูมิอากาศแบบทรุนดรา ( Tundra Climate “ ET ” ) อากาศตลอดปีมีอุณหภูมิต่ำ อากาศหนาวเย็นมาก พบบริเวณ หมู่เกาะทางเหนือของอเมริกาภูมิอากาศโลก(ตอนจบ)เหนือ เริ่มจากทางตอนเหนือของอลาสกาถึงชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดา บริเวณรอบนอกของเกาะกรีนแลนด์ ชายฝั่งและหมู่เกาะทางเหนือของยูเรเชีย โดยเริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทางเหนือของนอร์เวย์ถึงช่องแคบเบริ่ง ในซีกโลกใต้จะปรากฏอยู่บ้างเล็กน้อยตามคาบสมุทรของทวีปแอนตาร์กติกา และหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ช่วงฤดูร้อนโดยเฉลี่ยอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 4 – 9 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ตั้งที่อยู่ใกล้ ไกลทะเล ส่วนในฤดูหนาว อุณหภูมิจะแปรผันอยู่ระหว่าง –28 ถึง -6 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ตะไคร่น้ำ มอสส์ และไลเคน ส่วนในเขตละติจูดต่ำลงมามีพืชจำพวกสนแคระขึ้นอยู่บ้าง 
       2)เขตภูมิอากาศแบบพืดน้ำแข็ง ( Ice Cap Climate “ EF ” ) อากาศหนาว เย็นตลอดปี พื้นดินปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทะเลทรายขั้วโลก” (Polar Desert) พบในเขตทวีปแอนตาร์กติกาในซีกโลกใต้ ส่วนในซีกโลกเหนือจะปรากฏอยู่ในบริเวณตอนกลางของเกาะกรีนแลนด์ อุณหภูมิของอากาศทุกเดือนต่ำกว่า 0 องศา เซลเซียส จึงทำให้พื้นดินปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งตลอดเวลา สำหรับปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาส่วนใหญ่อยู่ในรูปของหิมะมีปริมาณเฉลี่ยน้อยกว่า 8 – 10 เซนติเมตรในเขตภูมิอากาศนี้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้
        คงจะพอเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะภูมิอากาศของโลกเราบ้างนะคะส่วนการประชุมเพื่อพิจารณาเนื้อหาข้อตกลงโลกร้อนฉบับใหม่ก็เสร็จสิ้นลงแล้วโดยมีความคืบหน้าเกิดขึ้นในบางประเด็น เช่น การจัดสรรความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี ให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ในประเด็นที่สำคัญอื่น ๆ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาโลกร้อนแทบไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้นเราก็ต้องต่อสู้กับโลกร้อนกันต่อไป 

คำถามเพื่ออภิปราย
     1. พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ของเขตภูมิอากาศแบบชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน ( Humid Subtropical Climate “Cfa” ,“Cwa” )เป็นอย่างไร
     2. เขตภูมิอากาศชุ่มชื้นภาคพื้นทวีปที่อบอุ่นในฤดูร้อน  พบบริเวณใดของโลก
     3. เขตภูมิอากาศใดไม่เหมาะในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เพราะเหตุใด

สาระภูมิศาสตร์
เหมาะสำหรับช่วงชั้นที่3-4

ที่มา: https://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/4/index_ch_4-5.htm
ที่มาของรูปภาพ https://school.net.th/library/create-web/10000/history/10000-235/pic2.jpeghttps://img88.imageshack.us/img88/4666/alaska0155zm2.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1872

อัพเดทล่าสุด