ภูมิอากาศโลก(ตอนที่ 1)


634 ผู้ชม


7-18 ธันวาคม 2552 สหประชาชาติ ประชุมเพื่อร่างแผนต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน ที่กรุงโคเปนเฮเกน ของเดนมาร์ก   


ซึ่งนับเป็นเวทีหารือด้านสภาพอากาศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มีคนเข้าร่วม 15,000 คน จาก 192 ชาติทั่วโลก โดยจะเริ่มขึ้นระหว่าง 7-18 ธ.ค.ที่กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ฝ่ายผู้จัดประชุมได้แก่ “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)”และ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)”ในการประชุมครั้งนี้ จะหารือกันเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังจะหารือกันเพื่อกำหนดกลไกในการให้เงินช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันปัญหาภัยธรรมชาติด้านต่าง ๆ 
ก็ว่ากันไปก็มีหลายประเทศที่จะปรับลดระดับปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้  ภายในปี 2568 ก็หวังว่าโลกเราจะดีขึ้น เรามาดูกันซิว่าภูมิอากาศโลกเราที่มันเกิดปัญหาอยู่ทุกวันนี้มันเป็นอย่างไร
ภูมิอากาศ (Climate) 
ภูมิอากาศ คือ ลักษณะเงื่อนไขของบรรยากาศ ที่อยู่บริเวณใกล้ผิวโลก ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งได้จากการเฉลี่ยข้อมูลสภาพอากาศระยะยาว (หลายทศวรรษ แต่ในวงการอุตุนิยมวิทยาจะใช้ค่าเฉลี่ย 30 ปี) โดยปกติเมื่อกล่าวถึงภูมิอากาศ จะระบุขอบเขตของพื้นที่ เช่น ภูมิอากาศตามละติจูด (latitudinal climates) ภูมิอากาศของภูมิภาค (regional climate) และภูมิอากาศท้องถิ่น 
ในแต่ละพื้นที่ รูปแบบของภูมิอากาศจะแตกต่างกัน โดยมีตัวชี้วัดของสภาพอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือน อุณภูมิสูง-ต่ำรายวัน ความชื้น จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดด การปกคลุมของเมฆ ความเร็วลม ทิศทางลม พลังงานแสงอาทิตย์ และลมพายุ
การจำแนกภูมิอากาศ
ดร.วลาดิเมียร์ เคิปเปน แห่งมหาวิทยาลัยกราซ ประเทศออสเตรีย ได้แบ่งภูมิอากาศโดยยึด อุณหภูมิ   ความชื้น   พืชพรรณธรรมชาติ ออกเป็น 5 ประเภทใช้สัญลักษณ์อักษรตัวใหญ่คือ     A, B, C, D และEแยกให้เห็นอย่างชัดเจนดังนี้
1. เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ( Humid Tropical Climate “ A ” )  เป็นเขตภูมิอากาศร้อนและชุ่มชื้น ไม่มีเดือนใดเลยที่อุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของอากาศสูงตลอดปี ไม่มีฤดูหนาวที่แท้จริง แยกเป็น 3 เขตดังนี้
         เขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้น ( Tropical Rain Forest Climate “ Af ” )ลักษณะภูมิอากาศร้อนและชุ่มชื้นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส พบบริเวณจากแนวเส้นศูนย์สูตรไปจนถึงบริเวณละติจูดที่ 5 - 10 องศาเหนือ และใต้ บริเวณที่มีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้นตลอดปี ได้แก่ ลุ่มแม่น้ำอเมซอนทางภาคเหนือของทวีปอเมริกาใต้ บริเวณลุ่มน้ำคองโกและอ่าวกินีในแอฟริกาตะวันตก นอกจากนั้นพบที่หมู่เกาะอินดิสตะวันออก หมู่เกาะฟิลิปินส์ และคาบสมุทรมลายู และบริเวณอื่นๆ ได้แก่ ภาคตะวันออกของอเมริกากลาง หมู่เกาะอินดิสตะวันตกด้านต้นลม โคลัมเบียภาคตะวันตก บางส่วนของชายฝั่งตะวันออกของบราซิล และภาคตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ อุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้า เนื่องจากพบมากบริเวณแถบศูนย์สูตรซึ่งได้รับแสงอาทิตย์ตลอดปี ส่งผลให้อุณหภูมิสูงตลอดปี เฉลี่ยระหว่าง 25 – 27 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบมีพันธุ์ไม้เลื้อยเกาะตามไม้ใหญ่ เช่น กล้วยไม้ เถาวัลย์ พืชขนาดเล็กระดับพื้นดินมีน้อยเนื่องจากแสงแดดส่องลงมาได้น้อยมาก บริเวณพื้นดินมีความชื้นสูงมาก ในประเทศบราซิลเรียกป่าชนิดนี้ว่า “เซลวาส์” ป่าไม้ที่ถูกทำลายจะมีป่ารุ่นที่สองเกิดขึ้นมาแทนที่อย่างหนาแน่นเรียกว่า “ป่าชัฏ”  ส่วนที่ราบบริเวณชายฝั่งทะเลมักเป็นป่าชายเลนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็กได้แก่ นก และแมลงต่างๆ สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ได้แก่ ลิง ค่าง และสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยในที่ชื้นแฉะ ได้แก่ จระเข้ งู และเต่า เป็นต้น 
       เขตภูมิอากาศแบบมรสุมร้อน ( Tropical Monsoon Climate “ Am ” ) ลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อน มีฤดูแล้งสั้นๆ ประมาณ 1 – 2 เดือน มักพบบริเวณชายฝั่งด้านต้นลมระหว่างละติจูดที่ 15 – 20 องศาเหนือ และใต้ อาจเป็นลมประจำปีหรือลมประจำฤดูก็ได้ จึงมักทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงที่บริเวณนั้นได้รับแสงจากดวงอาทิตย์มาก ในเอเชีย ได้แก่ ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย ชายฝั่งทะเลของประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย ภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดจัทบุรี และจังหวัดตราด ชายฝั่งตะวันออกของประเทศเวียดนาม และหมู่เกาะฟิลิปินส์ ชายฝั่งทะเลลุ่มแม่น้ำอเมซอนในอเมริกาใต้ และชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวกินีในประเทศแอฟริกา อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า เนื่องจากอยู่ในเขตร้อน อุณหภูมิของอากาศสูงตลอดปี และมีฤดูแล้งสั้นๆ ปริมาณน้ำฝนรวมตลอดทั้งปีมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 130 – 375 เซนติเมตร พืชพรรณเป็นป่าดิบเขา ไม้ยืนต้นขึ้นหนาแน่น และมีพืชขนาดเล็กเติบโตได้บ้าง เนื่องจากสภาพพื้นดินมีความชื้นแฉะน้อยกว่าลักษณะภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นและแสงอาทิตย์สามารถส่องผ่านเรือนยอดไม่ใหญ่ได้บ้าง แต่ความหลากหลายของชนิดพรรณไม้มักมีน้อยกว่าป่าดงดิบในเขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้น สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศ ได้แก่ จำพวกสัตว์ปีก แมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ ส่วนสัตว์ขนาดใหญ่มีน้อย 
      เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ( Tropical Savanna Climate “ Aw ” ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตภูมิอากาศแบบสะวันนา ลักษณะภูมิอากาศมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนอย่างเด่นชัด โดยมักมีสถานที่ตั้งอยู่ถัดจากเขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นขึ้นไปยังเขตละติจูดสูง หรือทางตอนในของแผ่นดิน โดยพบอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 - 20 องศาเหนือ และใต้ ในทวีปเอเชียพบบริเวณ กลุ่มประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คาบสมุทรเดคข่าน ประเทศอินเดีย รอบๆ เขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นในแอฟริกากลาง หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ลุ่มแม่น้ำโอริโนโค และที่ราบสูงบราซิลในทวีปอเมริกาใต้ อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนอย่างเด่นชัด อุณหภูมิของอากาศจึงคล้ายกับภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นและมรสุมร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 23 – 27 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่มักเป็นป่าไม้ แต่ไม่หนาแน่นมาก เช่น ป่าแดง หรือป่าเบญจพรรณในประเทศไทย ในส่วนบริเวณพื้นที่ที่มีความชื้นน้อย พืชพรรณส่วนใหญ่มักเป็นไม้ต้นเล็ก เช่น ป่าหนาม หรือไม้พุ่มเขตร้อน ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนบริเวณพื้นที่ที่ได้รับความชื้นน้อยที่สุด มักเป็นทุ่งหญ้าสะวันนา ลักษณะเป็นทุ่งหญ้าต้นยาวๆ มีไม้พุ่มขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป หรือเป็นทุ่งหญ้าโปร่ง สำหรับสัตว์ที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ได้แก่ ม้าลาย กระทิง โคไพร กระซู่ และแรด  สิงโต เสือ เป็นต้น
คำถามเพื่ออภิปราย
     1. พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ของภูมิอากาศในเขตนี้เป็นอย่างไร
     2. ประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบใดและมีลักษณะอย่างไร
     3. ลักษณะภูมิอากาศมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไร

สาระภูมิศาสตร์
เหมาะสำหรับช่วงชั้นที่3-4

ที่มาของข้อมูล : https://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/4/index_ch_4-5.htm
ที่มาของรูปภาพ    :https://wianghaeng.com/wh/whp092.jpg
https://www.painaima.com/resources/webboard/wb0508/wb0508_t71_r1572.jpg

https://www.rmutphysics.https://kim.uing.net/files/media_file_11458.jpgcom/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/4/index_ch_4-5.htm

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1830

อัพเดทล่าสุด