นำเสนอข้อมูลของอำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอล่่าสุดของประเทศไทย ......อำเภอกัลยาณิวัฒนา
เป็นอำเภอล่าสุดของประเทศไทย(อันดับที่ 878)และของจังหวัดเชียงใหม่(อันดับที่ 25)ครับชื่ออำเภอกัลยานิวัฒนา ซึ่งแยกมาจากอำเภอแม่แจ่ม
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำความ กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานชื่อที่เกี่ยวข้องกับพระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งชื่ออำเภอวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติที่คณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบแล้ว ซึ่งความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่ออำเภอว่า อำเภอกัลยาณิวัฒนา
การจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนา เป็นการจัดตั้งอำเภอโดยมีเหตุผลความจำเป็นพิเศษ ทางพื้นที่ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีเนื้อที่ประมาณ 287,172.68 ไร่ ประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ดังกล่าวเป็นถิ่นทุรกันดารอยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประชาชน
ในพื้นที่ประสบปัญหาการคมนาคมในการติดต่อขอรับบริการจากหน่วยงานของ รัฐและพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีโครงการตามพระราชดำริตั้งอยู่ใน พื้นที่หลายโครงการ เช่น โครงการศูนย์ ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง ฯลฯ รวมทั้งเป็นพื้นที่การท่องเที่ยว โดยที่การจัดตั้งอำเภอที่มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวัน ที่ 2 ธันวาคม 2551 ได้เห็นชอบในหลักการการจัดตั้งอำเภอวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นกรณีพิเศษเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประกอบกับการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาในพื้นที่ดังกล่าว จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สามารถเดินทางไปติดต่อขอรับบริการจาก หน่วยงานของรัฐได้โดยสะดวก และจะทำให้พื้นที่ดังกล่าวได้รับการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไปทั้งยังเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ประวัติ
วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีไทยเห็นว่าพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่แดด และตำบลแจ่มหลวงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่การท่องเที่ยว มีเนื้อที่ 674.58 ตารางกิโลเมตรและประชากร 10,561 คน มีการจัดตั้งโครงการพระราชดำริหลายโครงการ
มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าและภูเขาสูงชัน ทุรกันดาร การคมนาคมติดต่อเพื่อขอรับบริการต่างๆ
จากหน่วยงานของรัฐ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม เป็นไปด้วยความยากลำบากการให้บริการของเจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาด้านความสงบเรียบร้อย เรื่องยาเสพติดและปัญหาด้านการลักลอบการตัดไม้ทำลายป่า จึงเห็นชอบให้แยกพื้นที่ดังกล่าวมาจัดตั้งเป็นอำเภอใหม่ชื่อ "อำเภอวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ" มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเฉพาะอย่างไรก็ดี วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออำเภอที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นั้นตามที่กระทรวงมหาดไทยขอพระราชทาน ว่า "อำเภอกัลยาณิวัฒนา"
ดังนั้น เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง"พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ..." ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 97 ก หน้า 7 ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และมีผลใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น
ที่ทำการอำเภอกัลยาณิวัฒนา(ชั่วคราว)
เขตการปกครองอำเภอกัลยาณิวัฒนา ประกอบด้วย 3 ตำบล 21 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ตำบลบ้านจันทร์ (Ban Chan) 7 หมู่บ้าน
2. ตำบลแม่แดด (Mae Daet) 7 หมู่บ้าน
3. ตำบลแจ่มหลวง (Chaem Luang) 7 หมู่บ้าน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อำเภอกัลยาณิวัฒนา ประกอบด้วย 3 องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น (อปท.) ได้แก่
1. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ทั้งตำบล
2. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่แดด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่แดดทั้งตำบล
3. องค์การบริหารส่วนตำบลแจ่มหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจ่มหลวงทั้งตำบล
อาณาเขต
อำเภอกัลยาณิวัฒนา มีอาณาเขตดังนี้
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
บรรยากาศยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติมากๆ (คล้ายๆ อ.ปายยุคแรกๆ)หากมีโอกาสไปเที่ยวฃมได้ครับ
อ้างอิง
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/A/097/7.
https://scicmulib09.wordpress.com/2009/10/14/district/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2102