ครูไทย...ยุคความขัดแย้ง


612 ผู้ชม


มารู้ผลสำรวจความคิดของประชาชนมีที่ต่อครูในยุคของความขัดแย้งกันว่าความคาดหวังของพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางตัวในยุคของความขัดแย้ง   

      

ครูไทย...ยุคความขัดแย้ง

     ที่มาของภาพ

    ในสภาพการณ์ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเกิดความขัดแย้งภายในประเทศ สวนดุสิตโพลได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนมีที่ต่อครูในยุคของความขัดแย้ง  สรุปผลได้ดังนี้ "ครู" ควรวางตัวให้เหมาะสม เป็นกลาง ไม่ชี้นำ และไม่เอนเอียง อยากให้สอนหนังสือกับเด็กเหมือนเดิม พร้อมชี้แนะสั่งสอนให้เด็กรู้จักแยกแยะถูกผิดจากยุคของความขัดแย้งครูต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อยากให้สอนและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กนักเรียน  เรียกได้ว่า คนเป็นครูควรมีวิธีการแก้ไขความขัดแย้งโดยต้องสอนหรือบอกให้เด็กรับรู้ถึงความเป็นไปในบ้านเมืองขณะนี้ โดยยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น  และอยากให้โรงเรียนสอน หรือสอดแทรกเนื้อหาให้กับนักเรียน เพื่อช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้  และต้องเน้นการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมที่ขัดแย้งและแตกต่าง

ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์

ครูไทย...ยุคความขัดแย้ง

สาระการเรียนรู้ :

เรื่อง   ความขัดแย้งทางความเชื่อ และค่านิยม

ครูไทย...ยุคความขัดแย้ง

      

       ความเชื่อและค่านิยม หมายถึง  สิ่งที่บุคคลในสังคมยึดถือ และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้องที่สุด มีอิทธิพลในการเลือกตัดสินใจ และการปฏิบัติของบุคคล

ครูไทย...ยุคความขัดแย้ง

     ความขัดแย้ง หมายถึง  สิ่งใดก็ตาม หรือสถานการณ์ต่างๆที่ก่อให้เกิดการต่อสู้ระหว่างบุคคลสองฝ่ายทางด้านความเชื่อ ค่านิยม การเลือกปฏิบัติ หรือมากกว่านั้นเพื่อกีดกัน ขัดขวางมิให้ฝ่ายตรงข้ามได้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งมักเป็นเรื่องของสิ่งมีคุณค่า หรือผลประโยชน์ รวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ

ครูไทย...ยุคความขัดแย้ง

สาเหตุของความขัดแย้งมีดังนี้

1. ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่แต่ละคนได้รับเกิดความแตกต่างกัน

2. ความแตกต่างในเป้าหมาย

3. ค่านิยม

4. ความเชื่อ

5. ความคิดเห็นและความรู้แตกต่างกัน

6. โครงสร้างของสังคม

7. การเปลี่ยนแปลง

8. พฤติกรรมของกลุ่ม: ความไม่พึงพอใจในบทบาทและฐานะที่ได้รับใน

9. ความแตกต่างในการรับรู้

10. ความต้องการผลประโยชน์   

ครูไทย...ยุคความขัดแย้ง

ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

        หมายถึง  ประเทศใดประเทศหนึ่งตั้งแต่สองประเทศ เข้ามาเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน โดยมีปฎิสัมพันธ์บางอย่างต่อกัน ต่างก็มีเป้าหมายร่วมเฉพาะหรือมีค่านิยมร่วมเฉพาะของกลุ่มที่เห็นได้จริง หรือที่แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องมองเห็น มีปฏิสัมพันธ์ที่แสดงออกมาให้เห็นเป็นพฤติกรรมที่ชี้ให้เห็นถึงการข่มขู่ การลดหรือการกดดันฝ่ายตรงข้าม หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ แต่ละฝ่ายเผชิญหน้ากันในลักษณะที่มีการกระทำที่ตรงกันข้ามต่อกัน เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน กระทั่งพยายามที่จะสร้างสภาวะของความไม่สมดุล หรือในลักษณะที่จะทำให้มีความเหนือกว่าในด้านอำนาจต่ออีกฝ่ายหนึ่ง

 

หลักการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ มี 3 รูปแบบ

      1.  ความร่วมเมืองทางการเมือง เช่น องค์อาเซียน องค์การสหประชาชาติ

      2.  ความร่วมมือทางการทหาร เช่น สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)

     3. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เช่น สหภาพยุโรป (EU),นาฟต้า (NAFTA)

    4. ความร่วมมือทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม และอื่น ๆ เช่น องค์การยูเนสโก(UNESCO) ยูนิเซฟ (UNICEF)

 

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2273

อัพเดทล่าสุด