จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย


1,290 ผู้ชม


ข่าวของภูเขาไฟภายใต้ธารน้ำแข็งประเทศไอซ์แลนด์สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก แล้วภูเขาไฟในประเทศไทยของเรามีจริงหรือไม่   

จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย       

         เป็นข่าวครึกโครมไม่นานมานี้เมื่อกลุ่มควันจากเถ้าภูเขาไฟภายใต้ธารน้ำแข็ง  "อายยาฟยาพลาเยอคูดูล"   (Eyjafjallajokull) ในประเทศไอซ์แลนด์ที่ปะทุขึ้น แผ่ขยายลงมาปกคลุมน่านฟ้าทวีปยุโรปทำให้สนามบินสำคัญๆ หลายแห่ง ตั้งแต่ท่าอากาศยานชาร์ลส์ เดอ โกล ในกรุงปารีส ไปจนถึงท่าอากาศยานฮีตโธรว์ในกรุงลอนดอนต้องปิดตัวลงเถ้าภูเขาไฟจากไอซ์แลนด์ทำการเดินทางทางอากาศทั่วยุโรปเป็นอัมพาตเพียงแค่ 2 วันนับจากที่เกิดเหตุส่งผลให้เที่ยวบินกว่า 17,000 เที่ยว จากทั่วโลกถูกยกเลิก ผู้โดยสารหลายพันคนตกค้างอยู่ที่สนามบิน และส่งผลเสียหายต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างมากมาย

จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย

บริเวณที่เกิดภูเขาไฟในไอซ์แลนด์

จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย

ที่มา : https://www.fwdder.com/topic/240945  

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   ช่วงชั้นที่ 3 , 4  
        ภูเขาไฟ เป็นมหันตภัยธรรมชาติ ที่ระเบิดออกมาอย่างรุนแรงสร้างความหายนะ ซึ่งเป็นภัยคุกคามโลก มันก่อตัวขึ้นจากการปะทุรุนแรงใต้พื้นพิภพ  ลาวาเหลวร้อนแดงไหลด้วยความเร็วมีเมฆหมอกฝุ่นควันพิษกระจายขึ้นสู่ท้องฟ้า อุณหภูมิสูง ลาวาเดือดผุด จะทำทุกสิ่งให้ย่อยยับ ภูเขาไฟนั้น สามารถที่จะทำให้เกิดความหายนะอื่น ๆ ตามที่ด้วย เช่น เกิดแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ด้วยถ้าเกิดในทะเลได้แก่คลื่นสึนามิ (Tsunamis)ทำให้เกิดคลื่นสูงขนาดตึก 3 ชั้น กวาดสิ่งต่างๆ ลงสู่ทะเล  รวมทั้งไฟป่า นอกจากนั้นภายหลังการเกิดภูเขาไฟระเบิดฝุ่นเถ้าภูเขาไฟไปตกทับถมอยู่ใกล้ภูเขาไฟ ทำให้เมื่อมีฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมและโคลนถล่มตามมา     
        จากการศึกษาของนักธรณีวิทยาพบว่าการเกิดภูเขาไฟเกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุ หรือแรงระเบิดเกิดขึ้น แต่สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขา เมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ  โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟเป็นหินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า "ลาวา" แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า "แมกมา" ซึ่งบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลก ก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหิน
    

ภูเขาไฟ 8 แห่งในประเทศไทย
        จากการตรวจสอบแผนที่ประเทศไทยพบว่าภูเขาไฟระเบิดหลายจุดในอดีต โดยนักวิทยาศาสตร์จึงได้มีการเก็บหิน และหลักฐานบางอย่างตรวจสอบ ซึ่งจากการตรวจสอบหลักฐานที่เก็บมาพบว่าเคยมีภูเขาไฟระเบิดขึ้นเมื่อประมาณ 7 แสนล้านปีที่ผ่านมา บริเวณที่เกิดภูเขาไฟในประเทศไทยมีดังนี้ 
        1.  ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง สถานที่เขาพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ 
        2.  ภูเขาไฟหินหลุบ จ.บุรีรัมย์ 
        3.  ภูเขาไฟอังคาร สถานที่ภูพระอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ 
        4.  ภูเขาไฟกระโดง สถานที่เขากระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 
        5.  ภูเขาไฟไบรบัด จ.บุรีรัมย์ 
        6.  ภูเขาไฟคอก จ.บุรีรัมย์ 
        7.  ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด จ.ลำปาง  
        8.  ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู จ.ลำปาง

จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย

ภูเขาไฟกระโดง  ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวสามารถไปเที่ยวชมได้

ที่มา  : https://www.google.co.th

        ปัจจุบันภูเขาไฟเหล่านี้ยังคงดับสนิท และไม่พบว่ามีการเคลื่อนตัว หรือจะเกิดระเบิดขึ้นอีก(เกิดได้ยากมาก) แต่หลายคนสงสัยว่าภูเขาไฟที่ค้นพบในประเทศไทยทำไมถึงไม่มีความสูงเหมือนกับของต่างประเทศ สาเหตุเพราะประเทศไทยเป็นภูเขาไฟแบบโล่ เกิดจากลาวาที่มีความเป็นเบสมีลักษณะเหลว ภูเขาไฟจะมีหลายแบบ ดังนี้ คือ   

           
1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone) เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง       

จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย

   
2. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) เกิดจากลาวาที่มีความเป็นเบส (Basic lava volcano) เพราะประกอบด้วยแร่เหล็ก และแมกนีเซียมลาวามีลักษณะเหลว ไหลได้เร็วและแข็งตัวช้า การระเบิดไม่รุนแรง จะมีเถ้าถ่านและเศษหินก้อนเล็ก และควันพ่นออกมาบริเวณปากปล่อง ซึ่งผลจากการเกิดภูเขาไฟระเบิด หินหนืดหรือลาวาพุ่งขึ้นมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ และไหลลงสู่บริเวณที่มีระดับต่ำกว่า สร้างความเสียหายให้แก่มนุษย์ หรือเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการปรับตัวระหว่างหินหนืด กับชั้นหินบริเวณข้างเคียง      
      

จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทยจากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย


3. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด (Ash and cinder cone)มีลักษณะเป็นกรวยสูงขึ้น ฐานแคบเป็นภูเขาไฟที่มีการระเบิดรุนแรงที่สุด        

จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทยจากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย

      
4. แบบสลับชั้น (Composite cone) เป็นภูเขาที่มีรูปร่างสมมาตร (Symmetry) กรวยของภูเขาไฟมีหลายชั้น บางชั้นประกอบด้วยลาวา และเถ้าถ่านสลับกันไป ถ้ามีการระเบิดรุนแรงจะมีลาวาไหลออกมาจากด้านข้างของไหล่เขา เป็นภูเขาไฟที่มีปล่องขนาดใหญ่ และมีแอ่งปากปล่อง (Crater) ขนาดใหญ่ 

จากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทยจากภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ถึงภูเขาไฟในประเทศไทย


ที่มา : https://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/volcano/p2.htm

         ภูเขาไฟที่ค้นพบในประเทศไทยไม่มีการเคลื่อนตัวมาหลายแสนปี แต่โอกาสที่จะเกิดระเบิดก็ยังมีอยู่ถึงแม้ว่าจะมีน้อยก็ตาม เพราะทุกวันโลกมีการเคลื่อนตัวหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ภูเขาไฟที่พบตามจุดต่างๆในประเทศไทยอาจจะเกิดเคลื่อนตัวอีกครั้ง และอาจจะเกิดระเบิดขึ้น จึงต้องมีการศึกษา และเตรียมความพร้อมรับมือ   ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีภูเขาไฟที่มีโอกาสน้อยที่จะเกิดระเบิดขึ้น แต่ในปัจจุบันการเกิดภูเขาไฟระเบิดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกนาทีบนผิวโลก แม้แต่ในขณะนี้ยังมีภูเขาไฟเกิดขึ้นอยู่ใต้ท้องทะเลตลอดเวลาและอยู่บริเวณรอบประเทศไทย แต่ประชาชนไม่สามารถที่จะมอบเห็นได้ ซึ่งเป็นการปล่อยพลังงานสู่พื้นโลก แต่เราก็ไม่สามารถที่จะนิ่งนอนใจอะไรได้ หากเกิดภูเขาไฟระเบิดในเขตรอบข้างประเทศไทยจะต้องได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน  
         จากการที่มีการตรวจสอบในผิวโลกพบว่ามีจุดที่อาจจะเกิดภูเขาไฟอยู่ไม่ต่ำกว่า 100 จุด แต่ที่อยู่รอบประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 50 จุด คือ บริเวณรอบมหาสมุทรฟิลิปปินส์ 45 จุด และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดบริเวณเกราะอันดามันนิโคบา ซึ่งมีภูเขาไฟที่เรียกว่าไพโรคลาสติก (Pyro Clatic) ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างออกจากประเทศไทยประมาณ 200 ไมล์ทะเล และเคยเกิดภูเขาไฟระเบิดเมื่อปี 1997 ที่ผ่านมา หากภูเขาไฟไพโรคลาสติกเกิดระเบิดอีกครั้งจะส่งผลกระทบให้กับประเทศไทย ซึ่งอาจจะเกิดแผ่นดินไหว และจะเกิดเป็นคลื่นทะเลที่สูงมาก จนกระทั้งเป็นคลื่นสึนามิอีกครั้ง พร้อมทั้งจะส่งผลกระทบมลพิษทางอากาศในจังหวัดภาคใต้  
          การเกิดภูเขาไฟระเบิด และการเกิดแผ่นดินไหว จะมีการเชื่อมโยงกัน เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นสิ่งที่ตามมา คือ ภูเขาไฟระเบิด สาเหตุเกิดจากเปลือกจะแยกออกจากกันเป็นแผ่นทวีป ซึ่งบางพื้นที่มีการเคลื่อนที่ออกจากกัน หากบริเวณที่เปลือกโลกมีการยุบตัวลงจะเป็นจุดที่เกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิดขึ้นได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้เปรียบเทียบภูเขาไฟเหมือนกับกาต้นน้ำร้อน หากน้ำเดือดน้ำร้อนจะพุ่งออกจากกาน้ำก็เหมือนกับภูเขาไฟ             ประเทศไทยน่าเป็นห่วง เพราะมีภูเขาไฟล้อมรอบ และอาจจะเกิดแผ่นดินไหวตลอดเวลา จึงมีคำถามว่าเราจะสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างไร ซึ่งทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ICT) กำลังจะมีการของบประมาณ 100 กว่าล้านบาท เพื่อซื้อทุ่นลอยตรวจสอบคลื่นไว้บริเวณทะเลอันดามัน เพื่อเตือนภัยหากเกิดแผ่นดินไหวจะสามารถเตือนภัยได้ทัน ซึ่งทุ่นลอยที่มีการติดตั้งไปนั้นมีการติดตั้งระหว่างมหาสมุทรอินเดียห่างออกจากประเทศไทยประมาณ 1,000 ไมล์ทะเลถือว่ามีระยะทางที่ไกลออกมาก              
         อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรประมาทต้องติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลาเพื่อเป็นการป้องกันไม่ว่าจะเกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว หรือเกิดคลื่นสึนามิก็ตามตามหลักที่ว่า  “ป้องกันไว้ดีกว่าแก้”


ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
       1.  ภูเขาไฟเกิดขึ้นได้อย่างไร
       2.  อันตรายจากการระเบิดของภูเขาไฟมีอะไรบ้าง
       3.  นักเรียนคิดว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะเกิดภูเขาไฟหรือไม่

กิจกรรมเสนอแนะ
       1.  ค้นหาคลิปวีดิทัศน์ภูเขาไฟในประเทศไอซ์แลนด์
       2.  ค้นคว้าเรื่องราวของภูเขาไฟที่สำคัญของโลก
     

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
        สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เรื่องการเกิดภูเขาไฟ  ลักษณะของภูเขาไฟ         สาระสุขศึกษาพลศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอันตรายจากการระเบิดของภูเขาไฟ 

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  / ภาพประกอบ
https://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/volcano/p2.htm   
https://www.icygang.com/inbox_writer/readinbox.php?category_id=3&sid=640
https://coursewares.mju.ac.th/section2/la166/chapter/ch_6/index_ch_6.htm#t5
https://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=3095
https://www.fwdder.com/topic/240945

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2427

อัพเดทล่าสุด