ตะลึงพบทองในภาคตะวันออก(ตอนที่ 1)


620 ผู้ชม


ชาวบ้านขุดพบสายแร่ทองคำหมู่บ้านบ่อนางชิง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้วชาวบ้านกลายเป็นเศรษฐีใหม่   

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ได้มีกระแสข่าวพบบ่อแร่ทองคำในพื้นที่ ต.ห้วยโจด อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
บริเวณท้ายหมู่บ้านบ่อนางชิง ม.4 ต.ห้วยโจด เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ จากการตรวจสอบก็พบว่า
บริเวณบ้านบ่อนางชิงนี้ เคยเป็นเหมืองทองคำมาก่อน โดยจะเห็นได้จากหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกั
บการขุดหาทองคำของคนโบราณที่ชาวบ้านขุดได้.(ที่มาhttps://www.thairath.co.th/)ราคาทองคำก็ขยับขึ้น
อยู่ตลอดเวลาก็เป็นธรรมดาที่คนเราจะต้องตื่นเต้นและหาทางให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการก็แล้วแต่ว่าใครจะไปขุดทองแถวๆอ.วัฒนานครกันนะคะแต่คราวเราจะมาศึกษาเกี่ยวกับภาคตะวันออกกันดีกว่าค่ะ
ลักษณะทางกายภาพของภาคตะวันออก
ขนาด

    ภาคตะวันออกมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 32,980 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ 7 จังหวัด
คือ ปราจีนบุรี สระแก้ว ตะลึงพบทองในภาคตะวันออก(ตอนที่ 1)ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด นับเป็นภาคที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ
ที่ตั้ง
 ภาคตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้คือ
 ทิศเหนือ  ติดต่อกับ จังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา และนครนายก
 ทิศใต้   ติดต่อกับ อ่าวไทย 
 ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา
 ทิศตะวันตก ติดต่อกับ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และอ่าวไทย
ลักษณะภูมิประเทศ 
 ภูมิประเทศของภาคตะวันออกแบ่งเป็น 3 เขต คือ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี, เขตทิวเขาจันทบุรี ทิวเขาบรรทัด  และบริเวณที่ราบชายฝั่ง
 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี  เป็นที่ราบอยู่ระหว่างทิวเขาสันกำแพง และทิวเขาจันทบุรี ต่อเนื่องกับที่ราบลุ่มเจ้าพระยา บริเวณนี้เรียกว่า "ฉนวนไทย" หมายถึงพื้นที่ ที่เชื่อมระหว่างเจ้าพระยาในภาคกลางกับที่ราบต่ำในประเทศกัมพูชา เป็นที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามาทับถม ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว
 บริเวณทิวเขาจันทบุรี และทิวเขาบรรทัด  ทิวเขาของภาคตะวันออกจะวางตัวในแนวตะวันตกไปตะวันออก 
บริเวณนี้มีหุบเขาแคบๆ คั่นสลับกัน
 บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล  อยู่ระหว่างทิวเขาจันทบุรีกับอ่าวไทย เป็นที่ราบแคบๆ เรียกว่า    "ที่ราบชายฝั่งทะเลยกตัว" มีดินอุดมสมบูรณ์ อยู่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ลักษณะที่ราบบริเวณนี้ เป็นที่ราบลูกฟูกสลับกับเนินเขาเตี้ยๆ
ลักษณะภูมิประเทศเด่นในภาคตะวันออก
 ลักษณะภูมิประเทศเด่นในภาคตะวันออก สรุปได้ดังนี้
 1.  ชายฝั่งทะเลยกตัว  เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลก ทำให้ชายฝั่งมีหาดทรายกว้างยาว น้ำทะเลตื้น มีไหล่ทวีป ชายฝั่งทะเลเหล่านี้จะพบเห็นได้ในทุกจังหวัดทที่ติดกับชายฝั่งทะเลของภาค
 2.  แอ่งกราแบน  เป็นภูมิประเทศที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดแอ่งที่ราบต่ำระหว่างทิวเขาสันกำแพงกับทิวเขาจันทบุรี บริเวณพื้นที่ราบลุ่มดินตะกอน แม่น้ำปราจีนบุรี
 3.  เกาะ  เกาะที่อยู่ตามชายฝั่งของภาคตะวันออก จัดเป็นเกาะริมทวีป หมายถึง มีสภาพทางภูมิประเทศและพืชพันธุ์ธรรมชาติ ตลอดจนชนิดของดินและหินเหมือนกับฝั่งทวีป เกาะในภาคตะวันออกจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เกาะสีชัง เกาะล้าน เกาะช้าง เกาะกูด เกาะครามใหญ่ เกาะใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกคือ เกาะช้าง เกาะเสม็ด เกาะไผ่ เกาะเตาหม้อ เกาะแรด เกาะจวง เกาะพระ เกาะหนู เกาะแมว เกาะจุฬา เกาะนางรำ เกาะจิก เกาะกวาง
 4.  อ่าว  เป็นภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นในทะเล อ่าวส่วนใหญ่ของภาคตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวไทยด้านตะวันออก เช่น อ่าวบางแสน อ่าวอุดม อ่าวพัทยา อ่าวสัตหีบ ซึ่งมีชายฝั่งติดต่อกับทะเล 6 จังหวัด คือ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด มีความยาว 544 กิโลเมตร
 5.  แหลม  เป็นภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมของทรายจากคลื่น และส่วนหนึ่งเกิดจากการกัดเซาะของคลื่นทะเล แหลมในภาคตะวันออกที่สำคัญคือ แหลมฉบัง แหลมสิงห์ แหลมงอบ แหลมสารพัดพิษ แหลมหญ้า แหลมแสบสาร
ตะลึงพบทองในภาคตะวันออก(ตอนที่ 1)ตะลึงพบทองในภาคตะวันออก(ตอนที่ 1)ตะลึงพบทองในภาคตะวันออก(ตอนที่ 1)

ตะลึงพบทองในภาคตะวันออก(ตอนที่ 1)ตะลึงพบทองในภาคตะวันออก(ตอนที่ 1)

ลักษณะภูมิประเทศบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน

 คำถามเพื่อการอภิปราย
  1. ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกมีลักษณะอย่างไร
  2. ฉนวนไทยมีความสำคัญอย่างไร

สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์
  
เหมาะสำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษา
ที่มาของข้อมูล
พีรพล  ยศธสาร. ภูมิศาสตร์กายภาพของประชากรและสิ่งแวดล้อมประเทศไทย. ขอนแก่น : 
บริษัทเพ็ญพรินติ้งจำกัด, 2541 
www.chantaburi.go.th
www.sakaeo.go.th
ที่มาของรูปภาพ

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2638

อัพเดทล่าสุด