ศาสนาพราหมณ์


787 ผู้ชม


เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด ที่มีวิวัฒนาการมาจากความเชื่อของชาวอารยันเมื่อ 4,000 ปีก่อน   

ศาสนาพราหมณ์

สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

      สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อักษรเทวนาครี อ่านว่า “โอม” ซึ่งย่อมาจากอักษร อะ อุ และ มะ หมายถึงเทพยิ่งใหญ่ทั้งสาม 
อักษร “อะ” แทนพระศิวะ   อักษร “อุ” แทนพระวิษณุ  อักษร “มะ” แทนพระพรหม

ศาสนาพราหมณ์  สำคัญอย่างไร

     เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด  ที่มีวิวัฒนาการมาจากความเชื่อของชาวอารยันเมื่อ  4,000  ปีก่อน  พวกอารยันในสมัยนั้น นับถือภูติผีปีศาจ และอำนาจต่างๆ ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถอธิบายได้ ต่อมาการนับถือธรรมชาติต่าง ๆ  ได้พัฒนามาสู่การทำรูปเคารพ และเทพีต่าง ๆ มากมาย เช่นพระอินทร์ พระวิรุฬ พระอัคนี   
     ลัทธิความเชื่อเหล่านี้เองที่ได้พัฒนาการมาเป็นศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้งเหมือนหลาย ๆ ศาสนา ปัจจุบันเรียกว่าศาสนาฮินดู มีผู้นับถือทั่วโลกเกือบ 800 ล้านคน  ทั้ง อินเดีย เนปาล และบางส่วนของอินโดนี


4 คัมภีร์  ของศาสนาพราหมณ์ 

       ชาวอารยันก็ได้รวบรวมคำสอน  คำอ้อนวอนของตน  ขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นภาษาสันสกฤต เรียกว่า พระเวท ซึ่งแปลว่าความรู้   คัมภีร์ ที่แต่งขึ้นครั้งแรกเรียกว่า ฤคเวค  ต่อมาจึงได้เรียบเรียงคัมภีร์เพิ่มเติมตามลำดับคือ ยชุรเวท   สามเวท   อาถรรพเวท  

     1. ฤคเวท  เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวเนื่องกับบทสวดต่างๆ เพื่อสรรเสริญพระเจ้า ฤทธิ์เทวะและธรรมชาติ กล่าวถึงการสร้างโลก เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีบทสวดถึง 1,028 บท
     2. ยชุรเวท  เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับบทร้อยกรองบวงสรวงต่างๆ ใช้ในพิธีการบูชายัญที่เรียกว่า ยัญพิธีในทางศาสนา
     3. สามเวท  เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับกลศาสตร์รวมทั้งสังคีต บทสวดมนต์ สำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของประชาชนทั่วๆ ไป
     4. อาถรรพเวท  เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับเวทมนต์ คาถาต่างๆ

พระเจ้าของศาสนาพราหมณ์  

    ศาสนาพราหมณ์  เป็นศาสนาที่มีพระเจ้าหลายองค์  เช่น พระอัคนี (ไฟ) พระโสม (จันทร์) พระอินทร์ พระอาทิตย์ พระพรหม พระอิศวร (พระศิวะ) พระนารายณ์ (พระวิษณุ) พระกฤษณะ พระราม พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา พระแม่สุรัสวดี พระแม่ลักษมี พระขันทกุมาร และพระพิฆเณศ เป็นต้น   แต่องค์ที่เคารพสูงสุดมี  3  องค์  คือ

     ศาสนาพราหมณ์1. พระพรหม (the god Brahma) นามอื่นที่ใช้กันมาก คือ ธาดา (ผู้ทรงไว้) โลเกศ (จอมโลก) และ ปรเมษฐ์ (เป็นใหญ่ในสวรรค์)ทรงถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) ได้สร้างสิ่งทั้งปวงขึ้นจากความว่างเปล่า เมื่อทรงหว่านพืชลงในน้ำ ก็บังเกิดไข่ทองขึ้น พอไข่ทองแตกก็ปรากฏองค์พระพรหมอยู่ภายใน มเหสีของพระองค์คือ พระสรัสวดี  พระพรหมทรงมีวรกายสีแดง มีสี่พักตร์ แปดกรรณ (หู) สี่กร (บ้างว่า 8 กร) ถือธารพระกร ช้อน (สำหรับหยอดเนยในไฟ) หม้อน้ำ คัมภีร์ มีประคำคล้องศอ ถือธนู มีหงส์เป็นพาหนะ   พระพรหมทรงกอปรไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทางพระพุทธศาสนาจึงเรียกว่า พรหมวิหาร คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม

 ศาสนาพราหมณ์   2. พระอิศวร (the god Vishnu) นามอื่นมีมากมาย อาทิ พระมหาเทพ พระตรีโลจนะ (สามตา) นิลกัณฐ์ (คอดำ) จันทรเศขร (เอาพระจันทร์เป็นปิ่น) ตำนานกำเนิดหนึ่งกล่าวว่า ทรงเป็นโอรสของ พระกัศยป กับ นางสุรภี แต่บางตำนานอ้างว่า ทรงสร้างพระองค์ขึ้นเองจากพระเวทและพระธรรม ทรงมีมเหสีชื่อ อุมา หรือ บารพตี พระอิศวรมีสีกายขาว มีสามเนตร (เนตรที่ 3 อยู่กลางหน้าผาก) มีรูปพระจันทร์ครึ่ง ซีกอยู่เหนือเนตรที่ 3 เกศามุ่นเป็นชฎา รุงรัง มีประคำกะโหลกหัวคนคล้องศอ สังวาลเป็นงู ศอสีนิล นุ่งหนังเสือหนังช้าง หรือหนังกวาง สถิตอยู่บนเขาไกรลาศ ในเทือกเขาหิมาลัย มีตรีศูลเป็นอาวุธ ถือคทายอดหัวกะโหลก ถือสังข์ ฯลฯ มีวัวนนทิเป็นพาหนะ พระอิศวรทรงมีพระทัยกรุณา ให้พรแก่ผู้ขอโดยง่าย นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้ล้าง ผู้ทำลาย (เพื่อให้ไปถือกำเนิดใหม่) เป็นผู้สร้างดังสัญลักษณ์ เป็นรูปศิวลึงค์

ศาสนาพราหมณ์  3. พระนารายณ์ (the god Siva) นามอื่นๆ คือ วิษณุ พิษณุหริ (ผู้สงวน) อนันตไศยน (นอนบนอนันตนาค) ตำนานกำเนิดของพระนารายณ์ มีว่า หลังจากพระอิศวรทรงบังเกิดขึ้นจากพระเวทพระธรรมแล้ว ก็ทรงสร้างผู้ช่วยขึ้น โดยเอาพระหัตถ์ ซ้ายลูบพระหัตถ์ขวา ปรากฏเป็นองค์พระนารายณ์ขึ้น และไปประทับอยู่ในเกษียรสมุทร ยามใดที่ทุรยุคพระนารายณ์ก็มีหน้าที่ไปปราบระงับทุกข์ เรียกว่า อวตาร ทรงมีพระมเหสีนามว่า พระลักษมี และมีครุฑเป็นพาหนะ รูปโฉมของพระนารายณ์ที่จิตรกรนิยมเขียน จะเป็นบุรุษหนุ่ม กายสีนิลแก่ อาภรณ์อย่างกษัตริย์ เสื้อทรงสีเหลือง มีสี่กร ทรงตรีคทา จักร สังข์ บ้างว่าทรงธนู ดอกบัว หรือพระขรรค์ 

เทพเจ้าทั้งสามองค์ คือ พระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ รวมเรียกว่า “พระตรีมูรติ”

      ศาสนาพราหมณ์  หรือฮินดู ก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ "พราหมณ์-ฮินดู" เพราะผู้ให้กำเนิด ศาสนานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า "พราหมณ์" ต่อมาศาสนาเสื่อมลงระยะหนึ่งและได้มา ฟื้นฟูปรับปรุงเป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดย เพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้าไป มีการปรับปรุงเนื้อหาหลักธรรม คำสอน ให้ดีขึ้น คำว่า "ฮินดู" เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไป ตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช ้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมือง ในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนา ศาสนาพราหมณ์โดยการ เพิ่มเติมอะไรใหม่ๆ ลงไป แลัวเรียกศาสนาของพวกนี้ว่า"ศาสนาฮินดู" เพราะฉะนั้นศานาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ว่า "ฮินดู" จนถึงปัจจุบันนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับศาสนาพราหมณ์

        พราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องกับราชสำนักไทยมานานแล้ว ในอินเดียพราหมณ์มีฐานะเป็นอาจารย์ของคนวรรณะอื่น เมื่อพราหมณ์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยก็มิได้ทิ้งหน้าที่นี้  หน้าที่หลักของพราหมณ์คือ สอนหนังสือให้แก่บรรดาพระราชโอรส นอกจากนี้ยังสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยการเป็นเจ้าพนักงานพิธีสำคัญๆ ที่แสดงถึงความเป็นสมมติเทวราชแห่งองค์พระมหากษัตริย์ เช่น พิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชบัลลังก์ พิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา พิธีโสกันต์   ปัจจุบัน พระราชพิธี ต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ก็ยังคงมีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพราหมณ์ทำพิธีจะเป็นผู้อัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาฮินดูมาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง พราหมณ์ผู้ทำพิธีเหล่านี้ สืบสายสกุลมาจากพราหมณ์แท้ๆ ที่เดินทางมาจากอินเดียปัจจุบัน พราหมณ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย นับถือทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์คู่กันไป

ประเด็นอภิปราย

     1.  ที่มาของศาสนาพราหมณ์
     2.  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับศาสนาพราหมณ์

สาระการเรียนรู้   สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษา  4-6

บูระณาการกับสาระ

     1.  ภาษาไทย  เรื่อง  การเขียนและอ่านคำสันสกฤต
     2.  ศิลปะ  การวาดภาพ

ที่มาของข้อมูล  :  https://www.siamganesh.com/brahmahindu.html
                               
https://www.artsmen.net/content/show.php? Category=mythboard&No=5691

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2678

อัพเดทล่าสุด