แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...


731 ผู้ชม


ภาวะที่มีผลกระทบกระเทือนต่อการดำรงชีวิตของคนจำนวนมาก....   

         

 

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

          

  ปัญหาสังคม 

(Social Problem) หมายถึง สถานการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งมากพอควรและเกิดความรู้สึกกว่าควรมาร่วมกันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น 

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

ลักษณะของปัญหาสังคม 

ปัญหาสังคมโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือ 
        
                      1. เป็นสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนบุคคลเป็นจำนวนมาก 
                      2. เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม 
                      3. รู้สึกว่าสามารถจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ 
                      4. การแก้ไขมีลักษณะที่จะร่วมมือร่วมใจกัน

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

 

สาเหตุของปัญหาสังคม


1.  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 

  • สมาชิกในสังคมสร้างระบบสังคมและค่านิยมใหม่ๆทำให้ระเบียบกฎเกณฑ์เดิมไม่อาจนำมาใช้ได้ 
  • การเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น แหล่งเสื่อมโทรม ความยากจน ฯลฯ 
  • การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การอพยพเข้าสู่ตัวเมืองเพื่อหางานทำ

2. ความไม่เป็นระเบียบเกิดจากสมาชิกในสังคมบางคน หรือบางกลุ่ม 

  • ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ทำให้เกิดการขาดระเบียบและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมขึ้น โดยมีสาเหตุเกิดจากความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เช่น นักเรียนขยันท่องหนังสือ แต่สอบตกจึงต้องทุจริตในการสอบ 
  • ความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 
  • สมาชิกในสังคมบางคนหรือบางกลุ่ม มีบุคลิกภาพที่เป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้สังคม เช่น ชอบก่อการวิวาท เป็นต้น

3.  บุคลิกภาพส่วนบุคคล

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

 

ปัญหาสังคมในปัจจุบัน

                                    1.  ปัญหาประชากร
                                    2.  ปัญหาอาชญากรรม
                                    3.  ปัญหายาเสพติดให้โทษ
                                    4.  ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
                                    5.  ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
                                    6.  ปัญหาการว่างงาน
                                    7.  ปัญหาความมั่นคงของชาติ
                                    8.  ปัญหาการขาดการศึกษา
                                    9.  ปัญหาโสเภณี
                                   10.  ปัญหาความยากจน
                                   11.  ปัญหาระบบบริหารงานของรัฐบาลขาดประสิทธิภาพ

 

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

 

แนวทางแก้ปัญหาสังคมไทย

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"... 

1. แก้ปัญหาแบบระยะสั้น หรือแบบย่อย 

      เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน เช่น ปี 2538 น้ำท่วมกรุงเทพมหานครฉับพลัน กรุงเทพมหานครวางแผนรับมือ โดยการสร้างคันดินกั้นน้ำเป็นการด่วน 

2. แก้ปัญหาแบบระยะยาว หรือแบบรวม 

      เพื่อหามาตราการมิให้เกิดปัญหานั้นอีก เช่น หลังจาก สร้างคันดินแล้ว กรุงเทพมหานครได้วางโครงการป้องกันน้ำท่วมระยะยาว เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมตลอดไป ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย 

แบบไหนที่เรียกว่า "ปัญหาสังคม"...

1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุมาจาก 

  • การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว 
  • การขาดการศึกษา ทำให้ต้องประกอบอาชีพที่มีรายได้ต่ำ 
  • ขาดความชำนาญหรือทักษะในการประกอบอาชีพ จึงหางานทำยาก 
  • ครอบครัวแตกแยก เช่น หัวหน้าครอบครัวเล่นการพนัน ดื่มสุรา ทำให้เกิดความยากจน 
  • ได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพจากเครื่องจักรในโรงงาน ทำให้ทำงานไม่ได้ หรือได้น้อยลง 
  • ลักษณะอาชีพมีรายได้สม่ำเสมอ จะเห็นจากพวกเกษตรกร และกรรมกรรับจ้าง 
  • ภัยจากธรรมชาติหรือโรคระบาดทำให้ผลผลิตเสียหายขายไม่ได้ราคา 
  • การมีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย 
  • มีนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน เช่น ไม่กระตือรือร้นที่จะพัฒนาอาชีพของตน ไม่ชอบ ทำงาน เป็นต้น แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา 
  • พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ปฏิรูปที่ดิน ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น 
  • พัฒนาสังคม เช่น บริหารฝึกอาชีพให้ประชาชน พัฒนาโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา 
  • พัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร เช่น ขยายโรงพยาบาล เสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน เป็นต้น 

2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมในสังคมไทย 

       สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมี 2 ประการคือ 

1. สภาวะทางธรรมชาติ เช่น ความร้อน แสงแดด ฝนลม ทำให้สภาพภูมิประเทศถูกทำลายได้ เอง ยากที่จะบรรเทารักษา แต่การทำลายโดยวิธีนี้ใช้เวลานานมาก 

2. การกระทำของมนุษย์ ทำลายได้รวดเร็วและรุนแรงยิ่งกว่าธรรมชาติมากนัก สาเหตุหลักมาจาก 

  • การเพิ่มประชากร 
  • การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา 
  • แก้พฤติกรรมของคนอันเป็นสาเหตุของปัญหา ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น ไม่ทิ้งขยะลงใน แม่น้ำไปถึงเรื่องใหญ่โตกว้างขวาง โดยการสร้างจิตสำนึกให้รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม 
  • อนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
  • พัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม และสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ดีขึ้นมาเพิ่มเติม 

3. ปัญหาสิ่งเสพติดและยาเสพติด 

        มีหลายชนิด ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กระท่อม แอมเฟ ตามีน บาร์บิทเรต แอล.เอส.ดี. และสารระเหย ปัญหาสิ่งเสพติดส่วนใหญ่มักจะพบในกรุงเทพมหานคร และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น นับเป็นปัญหาแก่สังคมไทยอย่างร้ายแรง 

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา 

  • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ครู ผู้ปกครอง โรงเรียน สื่อมวลชน ต้องประชาสัมพันธ์ให้ สังคมรับรู้อันตรายจากสิ่งเสพย์ติด 
  • รัฐบาลจะต้องกำหนดมาตรฐานการลงโทษแก่ผู้ค้ายาเสพย์ติด และจัดบริการบำบัดแก่ผู้ติด ยาเสพย์ติดอย่างเพียงพอ 
  • สมาชิกในสังคมไทยโดยเฉพาะเยาวชน และผู้ใช้แรงงาน ต้องมีความรับผิดชอบตนเอง มี เหตุผล ไม่หลงเชื่อคำชักจูงของผู้อื่น 
  • ครอบครัวจะต้องให้การอบรมบุตร ให้ความรักและความอบอุ่นทางด้านจิตใจ แก่สมาชิก ในครอบครัว 

4.ปัญหาโรคเอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัสเอดส์ 

      ชื่อภาษาอังกฤษว่า Human immunodeficiency Virus หรือ เอชไอวี (H.I.V.) กลุ่มที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากผู้ที่มีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ และติดยาเสพย์ติด ในปัจจุบันปัญหานี้เป็นภัยอย่างร้ายแรงของสังคมไทย และนับวันจะทวีมากขึ้นหากไม่มีการวางแผนป้องกันที่ดี 


แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา 

  • หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข จะต้องวางแผนและโครงการป้อง กันการแพร่ของโรคเอดส์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • รัฐจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 
  • สร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้สังคมไทย เช่น ผู้ชายไม่ควรเที่ยวหญิงบริการ เพราะจะทำให้ ภรรยาติดเชื้อได้ 
  • แก้ปัญหาอื่น ๆ อันเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหายา เสพย์ติด ปัญหาโสเภณี ฯลฯ 


4. ปัญหาอาชญากรรม 
      
       เป็นปัญหาที่คุกคามต่อความสงบเรียบร้อยและความผาสุกของประชาชน ในสังคม สาเหตุของปัญหาอาชญากรรมมีหลายประการดังต่อไปนี้ 
- เกิดความบกพร่องทางร่างกาย 
- เกิดจากความบกพร่องทางจิตใจ 
- เกิดจากสิ่งแวดล้อม 
- เกิดจากการไร้ระเบียบในสังคม แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา 
- การลงโทษผู้กระทำผิด 
- การเข้าค่ายฝึกอบรมให้กลับประพฤติตนเป็นคนดี 
- ให้คำแนะนำปรึกษาให้ประพฤติตนอย่างถูกต้อง 
- การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประชากรมีคุณภาพที่ดี 

5. ปัญหาสุขภาพอนามัย 
     
      
เป็นปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยอันเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย โภชนาการ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ สาเหตุของปัญหาสุขภาพอนามัยมีดังนี้ 
1. ขาดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย 
2. ขาดแคลนหมอและอุปกรณ์การแพทย์ 
3. ข้อผิดพลาดและปัญหาด้านการบริการ
4. ปัญหาด้านการกระจายแพทย์ไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ 

6. ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง 
   
     เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกสังคมรวมทั้งประเทศไทย ก่อให้เกิด ปัญหาที่บั่นทอนความก้าวหน้าของสังคมไทยมาโดยตลอด ก่อให้เกิดผลเสียดังต่อไปนี้ 
1. ทำให้ชาติเสื่อมเสียชื่อเสียง 
2. เกิดความแตกแยกและความไม่ยุติธรรมในสังคม 
3. เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ 
4. ประชาชนขาดความศรัทธาในข้าราชการและรัฐบาล 
5. เป็นข้ออ้างของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล 
สาเหตุของปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง 
1. แรงจูงใจและโอกาสอำนวย 
2. ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ 
3. กฎหมายมีข้อบกพร่อง 
4. การบริหารงานขาดประสิทธิภาพ 
5. ค่านิยมในทางที่ไม่ถูกต้อง 
7. ปัญหาโสเภณี 
  
     นับเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมทางศีลธรรม และส่งผลไปยังปัญหาโรคร้ายต่าง ๆ รวมทั้งโรคเอดส์ 
สาเหตุที่สำคัญของปัญหาโสเภณี 
  
      คือ ค่านิยมในด้านเงินตราและวัตถุ รวมทั้งการแสวงหาผลประโยชน์จากสถานบริการและนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว 

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย

 
      การแก้ไขปัญหาสังคมนั้นต้องแก้ตามปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะแต่ละปัญหามีสาเหตุแตกต่างกันออกไป แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม อาจสรุปได้ดังนี้ 
  • รัฐบาลจะต้องวางระเบียบและออกกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ กระทำความผิดอย่างรัดกุม เช่น ออกกฎหมายลงโทษผู้ที่ค้ายาเสพย์ติด หรือล่อลวงหญิงมาเป็นโสเภณี เป็นต้น
  • วางแผนและนโยบายแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น ประสานการทำงานระหว่างรัฐกับเอกชน เพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ เช่น จัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการรณรงค์โรคเอดส์ เป็นต้น 
  • ให้การศึกษาแก่ประชาชนเพราะการศึกษาเป็นบ่อเกิดของเหตุผลและการมีความคิดที่ดี 
  • ปรับปรุงระบบสังคมให้มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบการให้สวัสดิการแก่ผู้ยากไร้ การ ประกันสังคม การวางแผนครอบครัว เป็นต้น 
  • พัฒนาเศรษฐกิจทั้งทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ ช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เช่น การประกันราคาพืชผล ส่งเสริมการลงทุน พยายามให้บุคคลในท้องถิ่นมีงานทำตลอดปี 
  • พัฒนาสังคม เช่น สื่อมวลชนช่วยกันเผยแพร่สร้างค่านิยมที่ดีแก่สังคม ครอบครัว พยายามสร้างค่านิยมที่ดีให้แก่บุตร รณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น เป็นต้น


คำถามจากสาระการเรียนรู้ :  
นฐานะที่นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนักเรียนจะมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างไรบ้าง 

อัพเดทล่าสุด