อาณาจักรหริภุญชัยเป็นอาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 ถึง พุทธศตวรรษที่ 19 อยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำปิงตอนบน บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่-ลำพูนสันนิษฐานว่าอาณาจักรหริภุญชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหริภุญชัยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน
ในตำนานจามเทวีหรือตำนานหริภุญชัย กล่าวว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยและขอให้กษัตริย์ละโว้ส่งเชื้อพระวงศ์มาปกครองละโว้จึงส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นพระราชธิดามาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย
อนุเสาวรีย์พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย
ที่มาภาพ :https://www.monlamphun.ob.tc/monlamphun/image/พระนางจามเทวี%203%20medium.jpg
ในระยะแรกเมืองหริภุญชัยและเมืองละโว้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ต่อมาเกิดการสู้รบกันส่งผลให้อาณาจักรหริภุญชัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของละโว้หลายครั้ง จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระเจ้าอาทิตยราชได้ปกครองหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก และทรงสร้างพระธาตุหริภุญชัย
พระธาตุหริภุญชัย
ที่มาภาพ : https://www.lomluang.com/wp-content/uploaders/2008/05/img_1673.jpg
สร้างวัด โบราณสถาน โบราณวัตถุ อันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามากมาย ทำให้อาณาจักรหริภุญชัยเป็นศูนย์พระพุทธศาสนา
ในภาคเหนือ ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 พระยามังรายมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนา ยกทัพมาโจมตี และรวมอาณาจักรหริภุญชัย
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาและสิ้นสุดอาณาจักรหริภุญชัย
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
๑.หลักฐานทางโบราณสถานที่ค้นพบในอาณาจักรหริภุญชัยค้นพบที่ใดบ้าง จงอภิปราย
๒.จงอธิบายอาณาเขตอาณาจักรหริภุญชัยครอบคลุมพื้นที่ใดบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ ควรนำนักเรียนไปศึกษาแหล่งโบราณสถานอาณาจักรหริภุญชัย และศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ต
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
ใช้บูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การแต่งกลอน กลุ่มสาระศิลปะ การวาดภาพหลักฐานทางประวัติศาสตร์
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เป็นไกด์นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ นำเที่ยวชมอาณาจักรหริภุญชัย
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
พลับพลึง คงชนะ. หนังสือเรียนสาระประวัติศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการจำกัด,2552
https://www.lomluang.com/wp-content/uploaders/2008/05/img_1673.jpg
https://www.monlamphun.ob.tc/monlamphun/image/พระนางจามเทวี%203%20medium.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2897