เทวรูปซีอุสแห่งโอลิมเปีย ( The Statue of Zeus at Olympia ) เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ สิ่งหนึ่งของโลก คือ สร้างขึ้นประมาณ 2,400 ปีก่อน ระหว่งปี ค.ศ. 53 - 111 มีขนาดใหญ่กว่าคนปรกติถึง 8 เท่า พระหัตถ์ซ้ายทรงคทา พระหัตถ์ขวารองรับ รูปปั้นแห่งชัยชนะ
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และผู้ที่สนใจทั่วไป
ที่มา : https://m.exteen.com/blog/clver4leaf/read/1241832
เทวรูปซีอุส ( Zeus บางคนเรียกว่า ซูส บางคนก็เรียกซีอุส ) ตั้งอยู่ที่วิหารในเมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซสร้างขึ้นโดยปฏิมากรนาม ฟิดิแอส ( Phidias ) ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่สร้างวิหารพาเธนอน ในกรุงเอเธนส์ และสนามกีฬาโอลิมปิค ตัวเทวรูปมีความสูง 40 ฟุต ทำจากงาช้างที่ตัดเป็นแผ่นบาง ๆนำมาต่อกัน ประดับด้วยทองคำและอัญมณีมากมาย หัตถ์ซ้ายทรงคทา หัตถ์ขวามีเทพีแห่งชัยชนะ บัลลังค์ทำจากไม้ ซีดาห์แกะสลัก พระบาทวางบนแท่นประดับด้วยสิงห์ทองคำ มีเรื่องเล่าว่าเมื่อเทวรูปสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วฟิดิแอส ได้อธิษฐานต่อองค์เทพซีอุสว่า "หากเทวรูปนี้เป็นที่พอพระทัยขององค์มหาเทพแล้ว ขอให้โปรดแสดงให้เห็นแก่ตาด้วยเถิด " แล้วก็เปรี้ยง! เกิดฟ้าผ่าดังไปทั่ววิหาร แสดงให้เห็นความพอพระทัยจากจอมเทพ ( ซึ่งจอมเทพซีอุสนั้นทรงสายฟ้าเป็นอาวุธ ) เป็นที่น่าเสียดายที่เทวรูปนี้ได้พังทลายจนไม่เหลือซากในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเกิดจากแผ่นดินไหวทำให้พังทลายลง บางหลักฐานกล่าวว่าถูกไฟเผา คงเห็นภาพในเหรียญ ตราโบราณ และจากจินตนาการที่ได้มาจากคำบอกเล่า หรือ นิยายปรัมปราเท่านั้น แต่ความงาม ความใหญ่โตศักดิสิทธิ์ ยังคงเป็นที่ยกย่องเล่าลือมาจนถึงปัจจุบันนี้
ที่มา : https://www.baanmaha.com/community/thread23797.html
ชาวโรมันเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จูปีเตอร์ ชาวกรีกได้เรียกเทวรูปนี้ว่า ซุส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นผู้นำแห่งเทพเจ้า ชาวกรีกนับถือมากที่สุดในยุคนั้น ใครจะออกเดินทางไปเมืองใดต้องมาพรจากพระองค์เสียก่อน
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1. อธิบายความเป็นมาของ เทวรูปซีอุส
2. จงอธิบายลักษณะที่โดดเด่นของเทวรูปซีอุส จนได้รับเลือกเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
3. เทวรูปซีอุส มีอิทธิพลต่อผู้คนในสมัยนั้นอย่างไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทวรูปซีอุส
2. ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทวรูปที่พบในประเทศไทย
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ศิลปะ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://m.exteen.com/blog/clver4leaf/read/1241832
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3078