มารู้จักคนไทยกับการกู้ชีพคนงานเหมืองประเทศชิลี


1,174 ผู้ชม


ย้อนรอบปฎิบัติการกู้ชีพ 33 คนงานเหมือง 2วิศวกรไทย มีส่วนร่วมกู้ชีพสะท้านโลก   


มารู้จักคนไทยกับการกู้ชีพคนงานเหมืองประเทศชิลี


เกิดอุบัติเหตุเหมืองแร่ทองแดงและทองคำ ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทะเลทรายในชิลี ถล่ม ส่งผลให้คนงานเหมืองทั้งหมด 33 ชีวิต ติดอยู่ใต้เหมือง ที่มีความลึกเกือบ 700 เมตร ขณะที่เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย พยายามใช้อุปกรณ์ประเภทต่างๆที่มีอยู่ เพื่อติดต่อกับคนงานเหมืองเหล่านี้
6 ส.ค. : นายลอว์เรนซ์ โกลบอร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่ รีบบินกลับมายังประเทศชิลี พร้อมนำทีมปฏิบัติการกู้ภัยด้วยตนเอง ขณะที่เจ้าหน้าที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของชิลี เปิดเผย ถึงความเป็นไปได้ที่คนงานเหมืองที่ติดอยููู่ใต้ดินจะสามารถหาแหล่งที่พักพิง ซึ่งมี       อ็อกซิเจน น้ำ และ อาหาร เพื่อประทังชีวิต


8 ส.ค. : เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย เริ่มขุดเจาะปล่องหลุม ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 12 เซนติเมตร ลงไปยังเหมืองดังกล่าว เพื่อค้นหาตำแหน่งของคนงานเหมืองทั้งหมด
10 ส.ค. : ประธานาธิบดีเซบาสเตียน ปิเนรา แห่งชิลี กล่าวว่า รัฐบาลชิลี ได้ติดต่อคณะผู้เชี่ยวชาญจากเปรู สหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย เพื่อความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ในการปฏิบัตการกู้ชีวิตคนงานเหมือง ทั้ง 33 คน
12 ส.ค. : ประธานาธิบดีปิเนรา กล่าวว่า เขายังคงมีความหวังว่า คนงานเหมืองทั้งหมดจะได้รับความช่วยเหลือ แม้โอกาสรอดจะมีอยู่เพียงน้อยนิด
22 ส.ค. : ชาวชิลี ตื่นเต้นดีใจอย่างสุดซึ้ง หลังทางการสามารถแพร่ภาพคนงานเหมือง 33 คน ทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก หลังจากคนงานที่ติดอยู่ใต้เหมือง มาแล้ว 17 วัน
23 ส.ค. : เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย เริ่มส่งสารอาหารจำพวกกลูโคส และน้ำ ลงไปให้คนงานเหมือง 33 คน
                 มารู้จักคนไทยกับการกู้ชีพคนงานเหมืองประเทศชิลี                             มารู้จักคนไทยกับการกู้ชีพคนงานเหมืองประเทศชิลี
                          แผนที่ ประเทศชิลี
                                                                ธงชาติประเทศชิลี
24 ส.ค. : ประธานาธิบดีปิเนรา กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า คนงานเหมือง ทั้ง 33 คน จะได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาได้ก่อนสิ้นปีนี้
5 ก.ย. : เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยและคณะแพทย์ ระบุว่า คนงานเหมือง 33 คน ยังสามารถเอาตัวรอดในเหมืองได้ และสภาพร่างกายและจิตใจของคนงานอยู่ในสภาพที่ดี
7 ก.ย. : ชาวชิลี เฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งอิสระภาพจากการปกครองของสเปน พร้อมฉลองความสำเร็จของเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ที่สามารถใช้เครื่องมือขุดเจาะลงไปใต้พื้นดิน จนถึงตำแหน่งที่อยู่ของคนงานเหมืองทั้ง 33 คน
8 ก.ย. : คนงานเหมือง ที่ติดอยู่ใต้ดินทั้ง 33 คน ไม่ลืมที่จะเฉลิมฉลอง 200 ปี แห่งการเป็นเอกราชของชิลี แม้พวกเขาจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตราย โดยวิดีโอได้แพร่ภาพจากใต้ดิน ว่าคนงานเหมืองพร้อมใจกันร้องเพลงชาติ และเต้นรำกันอย่างรื่นเริง
21 ก.ย. : นายโกลบอร์น กล่าวว่า การช่วยเหลือคนงานเหมืองทั้ง 33 คน อาจจะไม่แล้วเสร็จก่อนที่จะถึงเดือนพฤศจิกายน
มารู้จักคนไทยกับการกู้ชีพคนงานเหมืองประเทศชิลี                      มารู้จักคนไทยกับการกู้ชีพคนงานเหมืองประเทศชิลี
                 ภูเขาไฟในประเทศชิลี                                                   แร่ทองแดง  แ่ร่ธาตุสำคัญของชืลี

1 ต.ค. : นายโกลบอร์น กล่าวว่า เดือนตุลาคม จะเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นปฏิบัติการช่วยเหลือคนงานเหมือง 33 คน
5 ต.ค. : คนงานเหมืองทั้ง 33 คน ติดอยู่ใต้เหมืองครบ 2 เดือน นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์เหมืองถล่มเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม
8 ต.ค. : นายโกลบอร์น เชื่อมั่นว่า ท่อ T-130 หรือที่เรียกว่า Plan B จะถูกส่งลงไปใต้ดินจนถึงตำแหน่งที่อยู่ของคนงานเหมืองในวันดังกล่าว และคาดว่าการอพยพคนงานจะเริ่มต้นขึ้นในสัปดาห์ถัดไป
9 ต.ค. : การส่งท่อกู้ภัย ซึ่งมีความยาว 624 เมตร ลงไปใต้ดินเสร็จสิ้นลง ซึ่ง นายโกลบอร์น กล่าวว่า ปฏิบัติการช่วยชีวิตคนงานเหมืองทั้ง 33 คน จะเริ่มขึ้นในวันพุธที่ 13 ต.ค.
13 ต.ค. : วันที่หลายคนเฝ้ารอก็มาถึง ภายหลังการทำงานกันอย่างหามรุ่งหามค่ำ เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย เริ่มดำเนินการช่วยเหลือคนงานเหมือง 33 คน ในช่วงเช้าตรู่วันนี้ตามเวลาประเทศไทย จนสามารถช่วยชีวิตคนงานคนแรกไว้ได้ ในเวลา 24:10 น. ตามเวลาท้องถิ่น คือ นายฟลอเรนซิโอ อวาลอส คุณพ่อลูกสอง วัย 31 ปี โดยมีประธานาธิบดีเซบาสเตียน ปิเนรา ผู้นำชิลี เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีด้วยตนเอง พร้อมด้วยการโห่ร้องด้วยความยินดีของคนทั้งโลก 

2 วิศวกรไทย มีส่วนร่วมกู้ชีพสะท้านโลก


นาย วชิรพงศ์ นาสารีย์ และนายสมพงษ์ พงกันยา คือวิศวกรไทย 2 คน ในทีมช่วยชีวิตคนงานเหมืองชิลี 33 คน โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลชิลี ขอความช่วยเหลือจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก ในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่และทีมงานฝีมือดีที่สุุุดเข้าร่วมแผนปฏิบัติการนี้
       
โดยนายวชิรพงศ์ และนายสมพงษ์ เป็นวิศวกรที่ผ่านการคัดเลือกจากบริษัท เม็ตตาโลจิก อินสเป็คชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในประเทศแคนนาดา และมีบริษัทสาขาอีก 8 แห่งทั่วโลก คือ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา อินเดีย อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และไทย วิศวกรชาวไทยทั้งสองคนนี้ ทำหน้าที่ในส่วนการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบ "เม็ตตาเฟส" หรือเทคโนโลยีที่ใช้เครื่องอัลตราโซนิค ตรวจสอบรอยเชื่อมต่อท่อโลหะและรอยต่อต่างๆ ซึ่งนิยมใช้ในระบบท่อส่งก๊าซและน้ำมันต่างๆ แทนระบบเอกซเรย์แบบเก่า ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะให้ความละเอียดและแม่นยำในการตรวจสอบจุึุดรั่วไหลหรือรอย ร้าวของจุดเชื่อมต่อต่างๆแบบให้ผล 100 เปอร์เซ็นต์



สองวิศวกรไทยกับปฎิบัติการกู้ชีพสะท้านโลก

โดยทั้งคู่เดินทางไปร่วมปฎิบัติการนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา และได้ร่วมทำงานในการต่อท่อช่วยชีวิตคนงานเหมืองถล่มในจุดเกิดเหตุ ซึ่งต้องใช้ข้อต่อเหล็กพิเศษทนแรงอัดสูงมาเชื่อมรอยต่อระหว่างท่อเหล็กแต่ละ ท่อน ซึ่งการเชื่อมต่อจะมีความผิดพลาดไม่ได้เลย เพราะหากเกิดข้อผิดพลาด จะมีอันตรายต่อชีวิตของคนงานเหมืองและทีมกู้ชีพที่ลงไปใต้ดินทันที
สำหรับการช่วยเหลือคนงานโดยการขุุดอุโมงค์ช่วยเหลือที่มีขนาดเส้นผ่าศููนย์ กลาง 66 เซนติเมตร หรือ 28 นิ้วเป็นอย่างน้อย ลงไปยังบริเวณพื้นที่หรือตำแหน่งที่มีคนงานเหมืองติดอยู่ แต่เนื่องจากความไม่มั่นคงของเหมือง อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่อุโมงค์ช่วยชีวิตจะถล่มซ้ำ หรือท่อลำเลียงในการช่วยชีวิตอาจเกิดการติดค้างระหว่างช่วยเหลือ จึงมีการตัดสินใจทำการติดตั้งปลอกท่อเหล็กเสริมแรง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 24 นิ้ว ความหนา ½ นิ้ว ที่บริเวณทางเดินของการช่วยเหลือ ทีมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือที่ประเทศชิลี ซึ่งมีประสบการณ์ในการใช้เม็ตตาเฟส (เทคโนโลยีอุลตร้าโซนิค ที่ใช้แทนที่การตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยเทคนิคแบบดั้งเดิมหรือเทคนิค X-ray) เลือกใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบเม็ตตาเฟสของบริษัท เม็ตตาโลจิกฯ และเห็นพ้องกันว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุุุดและรับประกันได้ว่าแนวเชื่อมของ ปลอกท่อเหล็กเสริมแรงจะได้รับการตรวจสอบอย่างรวดเร็วที่สุด

                                                                             ปฎิบัติการสะท้านโลก
แหล่งอ้างอิง
https://news.sanook.com/973311-
https://www.dek-d.com/board/view.php?id=1948138#ixzz12UF3lvMU
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3251

อัพเดทล่าสุด