ภัยธรรมชาติ


678 ผู้ชม


ร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคต   

                          ภัยธรรมชาติ
                                      ที่มา:https://hilight.kapook.com/img_cms2/News%202/16433623.jpg

    สุราษฎร์ธานี วิกฤติ น้ำใต้ดินพุ่งทะลักขึ้นท่วมสวนยางชาวบ้านกว่า 100 ไร่ ในพื้นที่ ม. 2 อ.บ้านตาขุน หลังจากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย  แต่หลังน้ำลดปัญหาต่าง ๆ ก็ยังไม่สามารถจัดการและแก้ไขได้ เช่น พื้นที่เกษตรของประชาชน หลายพื้นที่เสียหายหนัก บางคนเกือบสิ้นเนื้อประดาตัว ขณะที่บางพื้นที่ และขณะที่บางพื้นที่ก็ยังมีน้ำท่วมขัง

 ที่มา https://hilight.kapook.com/view/57380

        การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม     สาระภูมิศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
        
      เนื้อเรือง
          สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในระดับต่างๆ ในทางทฤษฏีแล้วมีสาเหตุอยู่ 2 ประการหลัก ได้แก่ 
                     1. สาเหตุตามธรรมชาติ 
                     2. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ 
           1. สาเหตุตามธรรมชาติ ประกอบด้วย
               - ลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ความสูง ความลาดชัน
               - ลักษณะธรณีวิทยา ได้แก่ ชนิดหิน รอยเลื่อย รอยแตก
               - ลักษณะของดิน ได้แก่ ชนิดของดิน ความลึกของชั้นดิน
               - ลักษณะของป่าไม้ ได้แก่ ชนิดของป่าไม้ ขนาดของต้นไม้
               - พื้นที่รับน้ำหรือลุ่มน้ำ ได้แก่ รูปร่างและขนาดของพื้นที่รับน้ำ
               - ปริมาณน้ำฝน (ตัวเร่งและปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด)
          2 . สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ ประกอบด้วย
              - การตัดไม้ทำลายป่า - การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกวิธีได้แก่ การทำไร่เลื่อนลอย การจัดผังเมืองและสาธารณุปโภคที่ไม่เหมาะสมเช่น การสร้างถนนขวางทางน้ำ การให้ปลูกบ้านเรือนตามแบบที่ไม่เหมาะสมในลุ่มน้ำ และในที่ที่อันตราย เป็นต้นปัญหาที่เกี่ยวกับน้ำท่วม และแผ่นดินถล่มในประเทศเรานับวันจะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอนจาก การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในระดับโลก(Global Climate Change) ความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน คงจะน้อยลง ถ้าเราเริ่มทำงานอย่างเป็นระบบ มีแผนงานระยะยาวที่ชัดเจนและกระทำอย่างมืออาชีพ ไม่ใช่แค่เฉพาะกิจเท่านั้น เพราะปัญหาเหล่านี้จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จะรุนแรงขึ้นและมากขึ้นอย่างแน่นอน อยากให้ช่วยป้องกันอย่างเต็มที่ก่อนการเกิดความเสียหาย ดีกว่ามาช่วยตอนเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม (เป็นประจำ) เท่านั้น ความรู้สึกทางจิตใจของชาวบ้านต่อความสูญเสียนั้นคงจะดีกว่านี้แน่ ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกก็ตาม เพราะเราได้พยายามป้องกัน และเตือนภัย(ในอนาคต)ไว้อย่างดีที่สุดแล้ว
                                                ภัยธรรมชาติ
                                             ที่มา: https://hilight.kapook.com/img_cms2/news3/2_29.jpg
          
                                                                                     วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรต่าง ๆ 
                 วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน

                       มีอยู่ 2 วิธีการใหญ่ ๆ คือ โดยวิธีการปลูกพืช ( Agronomic Methods ) และโดยวิธีกล ( Mechanical Methods ) 
                     1. การอนุรักษ์โดยวิธีการปลูกพืช วิธีการนี้พืชจะทำหน้าที่เป็นตัวสกัดกั้นพลังงานของเม็ดฝนที่ตกลงมาก่อนที่จะกระทบกับผิวดินช่วยลดความเร็ว
ของน้ำที่ไหลบ่าและลดอำนาจการกัดเซาะของน้ำและยังช่วยให้ดินมีความพรุนมากขึ้น น้ำสามารถซึมลงไปในดินได้ดีขึ้น การควบคุม การเกิดกษัยการของกิน 
โดยอาศัยพืชมีอยู่หลายวิธีคือ 
                             1)  การปลูกพืชคลุมดิน 
                             2) การปลูกพืชหมุนเวียน 
                             3) การปลูกพืชสลับเป็นแถบ ซึ่งเป็นการปลูกพืชต่างชนิดกันสลับกันเป็นแถบตามความลาดชันขอพื้นที่ 
                             4) การคลุมดิน 
                             5) การปลูกพืชแบบนวเกษตร 
                       2)  การอนุรักษ์โดยวิธีกล
                            การอนุรักษ์ดินโดยวิธีกล หมายถึง วิธีการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายดินและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อใช้ป้องกันและควบคุมการพังทลายของดินการเคลื่อนย้ายดินเป็นการดัดแปลงลักษณะภูมิประเทศของผิวดินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทำให้พลังงานที่จะก่อให้เกิดการพังทลายของดินลดลง การป้องกันการพังทลายของดินโดยวิธีกลจะเสียค่าใช้จ่ายสูงต้องมีการออกแบบอย่างถูกต้องและเหมาะสมในวิธีการนั้น ๆ และต้องปฏิบัติร่วมกับ วิธีที่ใช้พืชในการป้องกันการพังทลายของดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยวิธีกลที่ใช้กันอยู่มีหลายวิธีคือ การปลูกพืชตามแนวระดับ คูเบนน้ำ ทางน้ำไหลและทางระบายน้ำออก การทำขั้นบันได การไถพรวนแบบอนุรักษ์ เป็นต้น 
            วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 
                    
                หมายถึงการป้องกันปัญหาที่พึงจะเกิดขึ้นกับน้ำ และการนำน้ำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีพของมนุษย์ การอนุรักษ์น้ำสามารถดำเนินการได้ดังนี้ 
                       1.การปลูกป่า 
                          โดยเฉพาะการปลูกป่าบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ หรือบริเวณพื้นที่ภูเขา เพื่อให้ต้นไม้เป็นตัวกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ทั้งบนดินและใต้ดิน 
แล้วปลดปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดปี 
                      2.การพัฒนาแหล่งน้ำ 
                         เนื่องจากปัจจุบันแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ เกิดสภาพตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ปริมาณน้ำที่จะกักขังไว้มีปริมาณลดลง การพัฒนาแหล่งน้ำ
เพื่อให้มีน้ำเพียงพอจึงจำเป็นต้องทำการขุดลอกแหล่งน้ำให้กว้างและลึกใกล้เคียงกับสภาพเดิมหรือมากกว่า ตลอดจนการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม อาจจะกระทำโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ ซึ่งต้องระวังปัญหาการเกิดแผ่นดินทรุด หรือการขุดเจาะแหล่งน้ำผิวดินเพิ่มเติม 
                      3.การสงวนน้ำไว้ใช้ 
                         เป็นการวางแผนการใช้น้ำเพื่อให้มีปริมาณน้ำที่มีคุณภาพมาใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การทำบ่อ
หรือสระเก็บน้ำ การหาภาชนะขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำฝน (เช่น โอ่งหรือแท็งก์น้ำ) รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบชลประทาน 
                      4.การใช้น้ำอย่างประหยัด 
                         เป็นการนำน้ำมาใช้ประโยชน์หลายอย่างอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสูด ทั้งด้านการอนุรักษ์น้ำและตัวผู้ใช้น้ำเอง กล่าวคือ 
สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้ ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อยลง และป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ 
                      5.การป้องกันการเกิดมลพิษของน้ำ 
                         ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หรือย่านอุตสาหกรรม การป้องกันปัญหามลพิษของน้ำ
 จะต้องอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำอย่างเคร่งครัด 
                      6.การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับไปใช้ใหม่ 
                         น้ำที่ถูกนำไปใช้แล้ว ในบางครั้งยังมีสภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ เช่น น้ำจากการล้างภาชนะอาหารสามารถนำไปใช้รดน้ำต้นไม้
 หรือน้ำจากการซักผ้าสามารถนำไปถูบ้าน สุดท้ายนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

                  วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 
                      การอนุรักษ์ป่าไม้สามารถกระทำได้ดังนี้
                      1. การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ 
                          นโยบายป่าไม้แห่งชาติ มีอยู่ 20 ข้อที่สำคัญ คือ การกำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ
 เป็นการกำหนดแนวทางการจัดการและ การพัฒนาป่าไม้ในระยะยาว 
                     2. การปลูกป่า 
                         เป็นการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างหนึ่ง เมื่อป่าไม้ในพื้นที่ถูกตัดฟันลงไม่ว่ากรณีใดก็ตาม นโยบายการรักษาป่าไม้จะกำหนดให้มี
การปลูกป่าขึ้นทดแทนและส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าทุกรูปแบบ 
                     3. การป้องกันไฟไหม้ป่า 
                       ไฟไหม้ป่าถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับป่าไม้การฟื้นฟูกระทำได้ยากมาก ไฟไหม้ป่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์ จากความประมาทเลินเล่อ
 ทำให้ต้นไม้บางส่วนอาจตาย บางส่วนอาจชะงักการเจริญเติบโต และบางแห่งอาจตายหมด หากเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนพืชหมดโอกาสแพร่พันธุ์ได้ 
                     4. การป้องกันการบุกรุกทำลายป่า 
                         การบุกรุกการทำลายป่าไม้ในปัจจุบัน จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น การป้องกันทำได้โดย การทำหลักเขตป้ายหรือเครื่องหมายให้ชัดเจนเพื่อบอกให้รู้ว่า 
เป็นเขตป่าประเภทใด การแก้ปัญหานี้สำคัญที่สุดอยู่ที่ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นไปด้วยความเที่ยงตรง เอาจริงเอาจัง และมีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพและหน้าที่
ปฏิบัติตามตัวบทกฎหมายและพระราชบัญญัติป่าไม้อย่าง เคร่งครัดจะสามารถป้องกันการทำลายป่าในทุกรูปแบบได้ 
                     5. การใช้วัสดุทดแทนไม้ 
                         ในการก่อสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เคยใช้ไม้ดั้งเดิม เช่น การสร้างสะพานเพื่อทดแทนสะพานเก่าที่ชำรุด ควรจะใช้เหล็กทำสะพาน
 ให้รถวิ่งชั่วคราว ก่อนจะมีสะพานใหม่ที่ถาวรและสร้างได้ด้วยวัสดุอื่นแทนไม้ 
                     6. การใช้ไม้อย่างมีประสิทธิภาพ / ประหยัด 
                         เป็นการนำเนื้อไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยใช้ทุกส่วนของต้น เช่น ไม้ที่เหลือจากการแปรรูป นำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างแล้วสามารถนำ
 ไปเป็นวัตถุดิบทำไม้อัด ไม้ปาร์เก้ชิ้น ทำเครื่องใช้ขนาดเล็ก เช่น แจกัน ที่เขี่ยบุหรี่ ของชำร่วย เป็นต้น ส่วนไม้ที่นำมาแปรรูป
เพื่อใช้ในการก่อสร้างหรือเพื่อการอื่น ควรปรับปรุง คุณภาพไม้ ก่อนนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การอาบน้ำยาไม้อบให้แห้งเพื่อยึด อายุการใช้งานให้ยาวนานออกไป 
                     7. การพยายามนำไม้ที่ไม่เคยใช้ประโยชน์มาใช้ 
                        ไม้ที่ไม่เคยนำมาใช้ประโยชน์มาก่อน เช่น ไม้มะพร้าว ต้นตาล ไม้ยางพารา นำมาทำเครื่องใช้ในครัวเรือนได้หลายชนิด อาทิ ตู้ เตียง โต๊ะ ก่อนนำมา
ใช้ประโยชน์ ควรปรับปรุงคุณภาพไม้ก่อน 
                     8. ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ให้การศึกษา 
                       ให้เยาวชนและประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และช่วยกันดูแลในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ เหมือนกับที่เรารักษา
และหวงแหนสิ่งของที่เป็นสมบัติของเราเอง
  

                                     

          ที่มา: 1. เว็บรักษาสิ่งแวดล้อมไทย  https://prakeaw.igetweb.com/index.php?mo=3&art=260630
                    2. https://www.maceducation.com/e-knowledge/2343104100/02.htm                               
                    3.เว็บไทยกูดวิวดอดคอม https://www.thaigoodview.com/node/49461
        ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
                1.สาเหตุจากที่ทำให้เกิดอุทกภัยดินถล่มมาน่าจะเกิดจากอะไร
                2.นักเรียนคิดว่าเราน่าจะหาวิธีป้องกันปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร
                3.ดิน น้ำ ป่า มีความสำคัญอย่างไร มีความสัมพันธ์กันในแง่มุมใด

        กิจกรรมเสนอแนะ
               1.นำนักเรียนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จัดกิจกรรมปลูกป่า ปลูกต้นไม้
               2.ทำกิจกรรมกลุ่ม จัดบอร์ดความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์
               3.จัดทัศนศึกษา เช่น ป่าลักษณะต่างๆ 
       บูรณาการกับสาระวิชา
               1.วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดิน  พืช  น้ำ
                2.ภาษาอังกฤษ คำศัพท์   ต้นพืช  น้ำ   ดิน 
       
        อ้างอิงแหล่งที่มาก
  ภาพ:เว็บกระปุกดอดคอม https://hilight.kapook.com/img_cms2/News%202/16433623.jpg
                                              https://hilight.kapook.com/img_cms2/news3/2_29.jpg
                                     ข่าว: https://hilight.kapook.com/view/53243
                                   คลิป :https://youtu.be/Im12yRQP3Js
                              ไอคอล :https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/927/36927/images/0547.gif

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3761

อัพเดทล่าสุด