ท้าวสุรนารี


650 ผู้ชม


ท้าวสุรนารีเป็นบุคคลตัวอย่างของชาวไทย   

ประวัติท้าวสุรนารี

ในที่นี้เราจะเรียกท่านว่า"ย่าโม"


  5

 

    ย่าโมเป็นคนโคราช เกิดในตระกูลผู้ดีเก่าในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช เกิดเมื่อ พ.ศ. 2314 ท่านเป็นคนที่งามพร้อม กิริยา มารยาท อ่อนหวานแต่ก็ซุกซนด้วย ชอบเล่นฟันดาบ กระบี่ กระบอง มาตั้งแต่เด็ก

    พอโตเป็นสาว อายุประมาณ 25 ปี ก็ได้แต่งงานกับปลัดทองคำหรือพระยาสุรเดชาเดชฤทธิทศทิศวิชัย และสมัยต่อมามีเหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศหลายอย่าง จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอย่หัว ได้ทรงโปรดให้ทรงจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดาคือ รัชกาลที่ 2 บรรดาเจ้าเมืองประเทศราชหรือผู้แทนจะต้องเดินทางมาถวายบังคมพระบรมศพ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและในครั้งนั้น เจ้าอนุวงค์ (เจ้าเมืองเวียงจันทร์) ได้เดินทางมาถวายพระเพลิง พระบรมศพด้วยตนเอง พร้อมผู้ติดตามอีกมากมาย ในขณะ ที่พำนักอยู่ใน กรุงเทพฯนั้น พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงขอแรงให้ไพล่พลของเจ้าอนุวงค์ ให้ไปช่วยตัดไม่ต้นตาลที่เมือง สุพรรณบุรี ไม่จำกัดจำนวนเสร็จแล้วให้ลากเข็นมาที่ สมุทรปราการ น้องชายของเจ้าอนุวงค์ได้ทำตามรบสั่งจนสำเร็จ จนทำให้ เจ้าอนุวงค์ทะนงตัวว่าเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัว และเคยช่วยทำศึกกับพม่าที่เมืองเชียงแสน 2362 ถึง 2 ครั้ง และปราบพวกกบฎข่าที่เมืองจำปาศักดิ์  ตอน จะทูลลากลับ หน้าพระที่นั่ง เจ้าอนุวงค์ได้ทูลขอครอบครัวชาวเวียงจันทร์ ที่เคยเป็นเชลยสมัยพระเจ้ากรุงธนฯ  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวไม่ประทานเนื่องจากทรงเห็นชาวลาวมาตั้งหลักแหล่งดีแล้ว ถ้ากลับไปจะไปก่อตั้งเป็นปึกแผ่นละก่อเหตุให้เดือดร้อนอีกในเมืองไทย

    เจ้าอนุวงค์ไม่พอใจมาก กลับไปเวียงจันทร์วางแผนจะมายึดกรุงเทพฯ แต่ทำศึกที่โคราชก่อน ตอนนั้นที่ นครราชสีมา พระยาปลัดทองคำสามีของย่าโมและเจ้าเมืองไม่อยู่ ไปราชการที่เขมร ย่าโมอยุ่ที่เมืองโคราช เจ้าอนุวงค์บุกจับไปเป็นเชลย พร้อมครอบครัวชาวเมืองอีก 600 ครอบครัว ช้างอีก 70 เชื่อก เมื่อเดินทางไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ ย่าโมได้วางแผนต่างๆ จนทหารลาวยอมให้พัก ย่าโมวางแผนให้ ผู้หญิงผู้ชาย ชาวเมืองโคราชทำให้ทหารลาวตายใจ และได้ทำการฆ่าทหารลาว และต่อสู้กันอุตลุต จนสามารถเอาชนะฝ่ายทหารลาวได้ แต่ก็ต้องเสียนางสาวบุญเหลือ และชาวเมืองโคราชไปบ้าง หลังจากนั้นทหารลาวก็ถูกตามทำศึกจากไทย จนชนะ และต่อมาเจ้าอนุวงค์ก็โดนจับไปทำโทษที่กรุงเทพฯและได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงแต่งตั้งย่าโมให้เป็น ท้าวสุรนารี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านย่าโมได้ถึงแกอสัญกรรมในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 ) เมื่อวันที่ 5 ปีชวด จศ.1214 (เมษายน 2395) ตอนนี้อัฐิของท่านย้ายมาบรรจุไว้ในฐานรอบรับใหม่ ณ. หน้าประตูชุมพล จนถึงทุกวันนี้

    อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีตั้งอยู่ที่ประตูชุมพลในตัวเมือง จ. นครราชสีมา หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 หนัก 325 กิโลกรัม เป็นรูปท้าวสุรนารีตัดผมทรงดอกกระทุ่มถอนไร แต่งกายด้วยเครื่องยศที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นุ่งผ้าจีบยกทองคาดเข็มขัด ห่มสไบเฉียงบ่า สวมตุ้มหู สวมตะกรุดพิสมรมงคล 3 สายทับสไบ นิ้งก้อยนิ้วนางทั้งสอง สวมแหวนนิ้วละวง มือขวากุมดาบ ด้ามดาบจำหลักลายสอดอยู่ในฟักจำหลักลาย ปลายจรดพื้น มือเท้าสะเอวหันหน้าเฉียงซ้ายเล็กน้อย ก้มหน้าหน่อยๆ มาทางทิศตะวันตก ทางกรุงเทพฯเหมือนแสดงคาราวะไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัว
 

    เมื่อถึงเดือน มีนาคม ของทุกปีชาวโคราชจะจัดงานฉลองท้าวสุรนารีเป็นการลำรึกถึงวีรกรรมของท่านตลอดมา และท่านก็จะอยู่ในใจของลูกหลานสืบไป

 

ท้าวสุรนารี

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2011 เวลา 21:28 น.

 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

สาระที่ 2   หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม   และการดำเนินชีวิตในสังคม

มฐ. ส 2.1 ยกตัวอย่างบุคคลซึ่งมีผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตน

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน

ถ้าในท้องถิ่นของตนมีบุคคลสำคัญซึ่งมีผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่นมากๆ จะส่งผลดีอย่างไรต่อชุมชน

กิจกรรมเสนอแนะ

สืบค้นข้อมูลประวัติบุคคลสำคัญแล้วบันทึกข้อมูลและออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

การบูรณาการ  ศีลป วาดภาพบุคคลสำคัญ

ภาษาไทย เขียนประวัติบุคคลสำคัญ

อ้างอิงที่มา  https://www.nakhonkorat.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=27&Itemid=28&lang=th

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4192

อัพเดทล่าสุด