น้ำย่านาง


1,551 ผู้ชม


น้ำย่านางเป็นน้ำสารพัดประโยขน์   
วิธีทำ..น้ำใบย่านาง
ช่วงนี้เขาฮิตอินเทรนพวกน้ำใบย่านาง เคยลองซื้อมาดื่มมันไม่เข้มข้นได้นิดเดียวด้วย และไม่มั่นใจในความสะอาดการทำ เลยหันมาลองทำไว้ดื่มเองดีกว่า มั่นใจการดื่มกว่าเยอะ
ตอนแรกก็ไม่ค่อยชอบรสชาติมันมีกลิ่นเหม็นเขียว แต่ยังดีกลิ่นไม่แรงเท่าหญ้าปักกิ่ง ดื่มบ่อย ๆ แบบแช่ตู่เย็นชักจะชิน จะว่าไปกลิ่นก็ไม่ต่างจากน้ำคลอโรฟิลมากนัก
น้ำย่านาง
ซื้อใบย่านางจากตลาด ที่บ้านไม่มีต้นย่านาง กิ่งก้านที่เหลือเลยลองเอาปักชำดูเผื่อปลูกติด
ใบย่านาง เด็ดเอาแต่ใบแช่น้ำล้างให้สะอาด
น้ำย่านาง
ตำๆๆ ใบย่านางให้ละเอียดหน่อยน้ำจะได้เขียว ๆ
(บางคนจะปั่นด้วยเครื่องปั่น หรือจะใช้มือขยี้ก็ได้)
น้ำย่านาง
ตักใส่ชามไว้ ใส่ใบโต ๆ หน่อย
น้ำย่านาง
กดน้ำอุ่นที่ยังร้อนนิด ๆ ใส่ลงไป เพื่อฆ่าเชื้อโรคหน่อย 
แต่สารอาหารจะได้ยังเหลือ ถ้าใส่น้ำต้มร้อน ๆ เดี๋ยวพวกวิตามิน คลอโรฟินจะหาย
น้ำย่านาง
ใส่กระชอนหรือผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำ
น้ำย่านาง
กรอกเอาใส่ขวด ใส่ตู้เย็นเก็บไว้กินหลายวัน 
เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม
แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
ดื่มแบบเย็นจะชื่นใจมาก รู้สึกสดชื่นทันที เพราะน้ำย่านางมีคลอโรฟิลเยอะมาก
ใส่น้ำผึ้ง ถ้าอยากเพิ่มรสชาติและเปลี่ยนกลิ่นจะหอมน้ำผึ้ง 
หรือจะผสมน้ำอย่างอื่นแล้วแต่สะดวก
ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง
หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ


น้ำย่านาง
สรรพคุณน้ำใบย่านาง
หมอเขียว(ใจเพชร มีทรัพย์) นักวิชาการสาธารณสุข
ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง
- เนื้องอกในมดลูก มดลูกโต ตกเลือด ตกขาว ปวดตามร่ายกาย
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งมดลูก
- โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกในเต้านม
- เบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ขับสารพิษ
- ภูมิแพ้ ไอ จาม
- เริ่ม งูสวัด
- ตุ่มผื่นคันที่แขน
- อาการปวดแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- นอนกรน ไตอักเสบ
- อาการปวดขาที่แขน
- เล็บมือผุ
- เก๊าต์
วิธีใช้
ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล
บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ดังนี้
เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200-600 ซีซี
ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็กทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ(อุ่นน้ำจะได้สะอาด) หรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น
แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง
ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง
หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม
แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผอม เพราะฉะนั้น จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพรควรเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดและดื่มแบบพอดีกับที่ร่างกายเราต้องการ เพราะถ้าเรารู้สึกผะอืดผะอมขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่าร่างกายบอกว่าพอแล้วนั่นเอง

การทำน้ำย่านางอาจผสมน้ำมะพร้าว ช่วยให้ดื่มง่ายขึ้น
บางคนเป็นโรคหรือมีอาการหนักมาก ให้ใช้พืชฤทธิ์เย็นที่นำมาช่วยเสริม รวมกับย่านาง พืชฤทธิ์เย็นที่นำมาเสริมฤทธิ์ย่านางที่มีประสิทธิภาพดีได้แก่ ใบอ่อมแซ่บ 1 กำมือ ใบเตย 1-3 ใบ ผักบุ้ง 5-10 ต้น บัวบก 1 กำมือ เสลดพังพอนตัวเมีย 5-10 ยอด (1 ยอด ยาว 1 คืบ) ใบตำลึงแก่ 1 กำมือ หญ้าปักกิ่ง 1-3 ต้น ว่านกาบหอย 3-5 ใบ เป็นต้น โดยนำมาเสริมเท่าที่จะหาได้ พืชชนิดใดที่หาไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้ และถ้าพืชชนิดใดไม่ถูกกับผู้ที่จะดื่มก็ไม่ต้องมาผสม 
บางคนไม่ชินกับการรับประทานสด ก็สามารถผ่านไฟอุ่นหรือเดือดได้ไม่เกิน 5 นาที โดยตรวจสอบร่างกายของตนเองว่า ระหว่างรับประทานสดกับผ่านไฟ อย่างไหนรู้สึกสดชื่น สบายหรืออาการทุเลาได้มากกว่าก็ใช้วิธีนั้น
คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ให้ดื่มน้ำย่านางหรือสมุนไพรรวมฤทธิ์เย็นกับกล้วยดิบและขมิ้น โดยใช้กล้วยดิบทั้งเปลือก 1 ลูก แบ่งเป็น 3 ส่วน เท่าๆ กัน นำกล้วยดิบและขมิ้นอย่างละ 1 ชิ้น (ต่อครั้ง) โขลกให้ละเอียด หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวให้ละเอียดแล้วกลืน พร้อมดื่มน้ำย่านาง หรือสมุนไพรรวมฤทธิ์เย็น วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง 
แต่ถ้ามีอาการออกร้อนท้องร่วมด้วยให้งดขมิ้น สำหรับกล้วยดิบ หรือขมิ้นอาจใช้เป็นลูกกลอกหรือแคปซูลก็ได้ ใช้กล้วยดิบครั้งละ 3-5 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร ส่วนขมิ้นใช้ครั้งละ 1-3 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร
สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ให้ใช้ย่านางปริมาณที่เหมาะสมกับบุคคลดังที่นำเสนอข้างต้น ขยี้กับใบฝรั่งแก่ 3-5 ใบ หรือใบทับทิมครึ่ง – 1 กำมือ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว ดื่มก่อนอาหาร ครั้งละครึ่ง – 1 แก้ว หรือดื่มบ่อยจนกว่าจะหายท้องเสีย ย่านางสามารถฆ่าเชื้อโรคที่เป็นเหตุให้เกิดอาการท้องเสีย 
อีกสูตรหนึ่งที่ได้ผลดีมากคือ ดื่มน้ำย่านาง หรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ควบคู่กับสมุนไพรต้ม คือเอาเปลือกสะเดา (ส่วนที่มีรสฝาดขมกึ่งกลางระหว่างเปลือกแข็งนอกสุดและแก่น) ยาว 1 คืบของผู้ป่วย กว้าง 1-2 เซนติเมตร เปลือกมังคุดสดหรือตากแห้ง 1-3 ลูก ใบฝรั่งแก่ 3-5 ใบ ทั้งสามอย่าง รวมกัน ต้มใส่น้ำ 3-5 แก้ว เดือด 5-10 นาที แล้วผสมน้ำตาล 3-5 ช้อนโต๊ะ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือจิบเรื่อยๆ จนกว่าอาการท้องเสียจะหาย
การใช้น้ำย่านางกับภายนอกร่างกาย
- ใช้น้ำย่านางหรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นเจือจางกับน้ำเปล่าใช้เช็ดตัวลดไข้ได้อย่างดี หรือใช้ผ้าชุบวางบริเวณที่ปวดออกร้อน ช่วยลดความร้อนของร่างกายและผิวหนัง
- ผสมน้ำยาสระผม ใช้สระผมได้อย่างดี ช่วยให้ศรีษะเย็น ผมดกดำหรือชะลอผมหงอก
- ใช้ย่านางหรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฝ้า ตุ่ม ผื่น คัน พอกฝีหนัง จะช่วยถอนพิษและแก้อักเสบได้
การประเมินว่า ปริมาณหรือความเข้มข้นพอเหมาะที่จะดื่มหรือไม่
- ขณะที่ดื่มเข้าไป จะกลืนง่ายไม่ฝืดฝืน ไม่ระคายคอ
- อาการไม่สบายทุเลาลง ปากคอชุ่ม ร่างกายสดชื่น
- ถ้าดื่มน้อยไป อาการก็ไม่ทุเลา ถ้าดื่มมากไปก็จะเกิดอาการไม่สบายบางอย่าง หรือในขณะดื่มจะรู้สึกได้ว่าร่างกายจะมีสภาพต้านบางอย่างเกิดขึ้น
มีประสบการณ์นำใบย่านางมารักษาผู้ป่วยหนักหลายโรค พบว่าทุเลาเบาบางลง และหายป่วย
บางครั้งใช้ร่วมกับยาตัวอื่น แต่ส่วนใหญ่คนที่ดื่มน้ำย่านางทุกวัน 
จะเห็นผลได้ภายในเวลา ๓ เดือน
โรคที่มีรายงานว่า ดื่มน้ำย่านางหาย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง
ตกเลือดจากมดลูก โรคเก๊าท์ และโรคเชื้อราทำลายเล็บ หรือเป็นผื่นคัน
เป็นอาการของโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
มีผู้ซึ่งนำ ย่านาง ไปกินวันละ 1 แก้ว
รายงานผลกลับมาว่า ริดสีดวงทวารที่เป็นอยู่นาน ได้หายไป
อีกรายหนึ่ง ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลา 3 - 4 เดือน ไปหาหมอและรับยามากินก็ยังไม่มา
หลังจากกินน้ำใบย่านางได้ 10 วัน ประจำเดือนก็มาตามปกติ

ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น ใช้บำบัดหรือบรรเทาอาการอันเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน เพราะคนส่วนใหญ่มีความเครียดสูง ถูกกดดันจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ต้องแก่งแย่ง เร่งรีบฯ
สิ่งแวดล้อมก็มีมลพิษมากขึ้น โลกร้อนขึ้น อาหารและเครื่องดื่มก็ปนเปื้อนสารเคมีมากขึ้น คนอยู่กับเครื่องไฟฟ้า อิเล็คทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยหลัก ที่ทำให้คนเจ็บป่วยด้วยภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
สามารถใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาได้เช่น ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น, มีตุ่มแผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ นอนกรน ปากแห้งแตกเป็นขุย ปวดหัว ตัวร้อน ไข้ขึ้น มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่าง ๆ ของร่าวกาย ท้องผูก เริม งูสวัด อ่อนล้า เพลีย นอนพักก็ไม่หาย เจ็บปลายลิ้น เจ็บคอ เสียงแหบ ความดัน เบาหวาน เก๊าต์ เนื้องอก มะเร็ง ฯลฯ
ไมเกรนที่เคยเป็นก็ไม่ค่อยมาเยือนแล้ว

เมื่อคุณแม่ของเขาคนหนึ่งตกเลือดจากมดลูกอย่างรุนแรง หลังจากที่เขาตัดสินใจใช้ย่านาง เป็นสมุนไพรหลักในการบำบัดอาการของคุณแม่ก็ทุเลาอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน เลือดหยุดไหล เมื่อใช้ย่านางอีกบำบัดต่อเนื่องอีก 3 เดือนต่อมา มดลูกที่โต 16 เซนติเมตรก็ยุบลงเหลือเท่าขนาดปกติ คือเท่าผลชมพู่ ผิวมดลูกที่ขรุขระเหมือนหนังคางคกก็หายไป อาการตกขาวก็หายไปด้วย
ต่อมาใช้ย่านางกับผู้ป่วยมะเร็งตับ ผู้ป่วยก็อาการดีขึ้น เมื่อครบ 3 เดือนไปตรวจอัลตราซาวด์ พบว่ามะเร็งฝ่อลง จากนั้นก็ทดลองกับผู้ป่วยโรคเกาต์ให้ ดื่มน้ำย่านางต่อเนื่อง 3 เดือน อาการปวดข้อก็หายไป ไปตรวจที่โรงพยาบาลไม่พบโรคเกาต์ ซึ่งทางการแพทย์แผนปัจจุบัน บอกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย 
ได้ทดลองกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง หลังจากดื่มน้ำย่านางต่อเนื่อง พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดและลดความดันโลหิตได้ 
หลังจากนั้นเขาได้ข้อมูลจากคนแก่อายุ 77 ปีคนหนึ่งที่ดื่มน้ำย่านางต่อเนื่องกัน 1 เดือน พบว่าผมที่เคยขาวกลับเปลี่ยนเป็นสีเทา และมีสีดำแซม ลูกสาวของคนแก่ดังกล่าวเป็นเชื้อราทำลายเล็บ รักษาด้วยการทาและกินยาแผนปัจจุบันไม่หาย พอดื่มน้ำย่านางได้ 10 วัน ก็ทุเลาอย่างรวดเร็ว
ได้ทดลองให้น้ำย่านางกับผู้ป่วยอีกหลายโรคหลายอาการไม่ว่าเป็นอาการไข้ ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตุ่มผื่นคัน และอาการอื่นๆ ก็พบว่าอาการทุเลาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นโรคร้ายที่รักษายาก หรือโรคที่รักษาง่ายหลายโรคหลายอาการย่านางสามารถบำบัดรักษาให้ทุเลาเบาบาง หรือหายได้ 

ตรงกันข้ามกับเมื่อ 30-50 ปีที่ผ่านมา ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเครียด วิถี ชีวิตเรียบง่าย สงบ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกัน ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน ไม่ต้องเร่งรีบเหมือนคนยุคนี้ สิ่งแวดล้อมมีมลพิษน้อย ป่าไม้ก็มีมาก แม่น้ำลำธารใสสะอาด อาหารการกินไม่มีสารเคมีเจือปน ตั้งแต่กระบวนการผลิตทางการเกษตร จนถึงกระบวนการปรุงอาหารก็ไร้สารพิษ ปรุงแต่งน้อย รสไม่จัดจ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ค่อยมี ผู้คนส่วนใหญ่ในยุคนั้น จึงมักมีภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกินไป
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกินไป ซึ่งสามารถใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาได้ มีดังต่อไปนี้
1. ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว หรือไม่ค่อยมีขี้ตา
2. มีสิว ฝ้า
3. มีตุ่ม แผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
4. นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
5. ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขน ขยายโดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
6. ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
7. มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง มีรอยจ้ำเขียว คล้ำ
8. ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
9. กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อยๆ
10. ผิวหนังผิดปกติคล้ายรอยไหม้ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสียตามร่างกาย
11. ตกกระสีน้ำตาลหรือสีดำตามร่างกาย
12. ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้ง มีท้องเสียแทรก
13. ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมาด้วย มักมีปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2 (คนที่ร่างกายปกติ สมดุล จะไม่ตื่นปัสสาวะกลางดึก)
14. ออกร้อนท้อง แสบท้อง บางครังมีอาการ ท้องอืดร่วมด้วย
15. มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
16. เป็นเริม งูสวัด
17. หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว บางทีเสมหะพันคอ
18. โดยสารยานยนต์ มักอ่อนเพลียและหลับขณะเดินทาง
19. เลือดกำเดาออก
20. มักง่วงนอน หลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
21. เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
22. เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำ อักเสบ บวมแดงที่โคนเล็บ
23. หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับ หรืออากาศร้อนหรือเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง
24. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟช็อต หรือร้อนเหมือนไฟเผา
25. อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
26. รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
27. เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมากถ้าเป็นมากจะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
28. เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
29. หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
30. ส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า ออกร้อน บางครั้งเหมือนไฟช็อต
31. เกร็ง ชัก
32. โรคที่เกิดจากสมดุลแบบร้อนเกินไป ได้แก่ โรคหัวใจ เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ตับอักเสบ กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต โรคเกาต์ ความดันสูง เบาหวาน
เนื้องอก มะเร็ง พิษของแมลงสัตว์กัดต่อย
จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิด 
ฟัลซิพารัม

ใบ รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา
ราก รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้พิษเมาเบื่อแก้เมสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก่ไม่ผูก ไม่ถ่าย แก้กำเดา แก้ลม
ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
1. แก้ไข้
ใช้รากย่านางแห้ง 1 กำมือ ประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 แก้วครึ่ง เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว ให้ดื่มครั้งละ ½ แก้ว ก่อนอาหาร 3 เวลา
2. แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง)
ใช้รากย่านางแดงและรากมะปรางหวาน ฝนกับน้ำอุ่น แต่ไม่ถึงกับข้น ดื่มครั้งละ ½-1 แก้วต่อครั้ง วันละ 3-4 ครั้ง หรือทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีรากมะปรางหวาน ก็ใช้รากย่านางแดงอย่างเดียวก็ได้ หรือถ้าให้ดียิ่งขึ้น ใช้รากมะขามฝนรวมด้วย
3. ถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย ใช้รากย่านางต้นและใบ 1 กำมือ ตำผสมกับข้าวสารเจ้า 1 หยิบมือ เติมน้ำคั้นให้ได้ 1 แก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่ายให้หมดทั้งแก้ว ทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น
4. ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
ใช้หัวย่านางเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วนดื่มครั้งละ ½ แก้ว
การใช้เป็นยาพื้นบ้านในภาคอีสาน
1. ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น
2. ใช้รากย่านางผสมรากหมาน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเรีย
3. ใช้ราก ต้มขับพิษต่างๆ
ใบย่านางคั้นเอาน้ำปรุงอาหารต่างๆ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ (ย่านางสามารถต้านพิษกรดยูริกในหน่อไม้ได้) แกงอ่อม แกงเห็ด หรือขยี้ใบสดกับหมาน้อย รับประทานถอนพิษร้อนต่างๆ
ช่วยทำให้น้ำแกงข้นมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาหารต่างๆ ดังนี้
ภาคอีสาน
1. เถาว์ ใบอ่อน ใบแก่ ตำ คั้นเอาน้ำสีเขียว นำไปต้มกับหน่อไม้ ปรุงเป็นแกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงต้มเปรอะ เชื่อว่าย่านางจะช่วยลดรสขม ของหน่อไม้ได้ดี ทำให้หน่อไม้มีรสหวานอร่อย
2. นำไปแกงกับยอดหวาย
3. นำไปแกงกับขี้เหล็ก
4. นำไปใส่แกงขนุน แกงผักอีลอก
5. นำไปอ่อมและหมก
ภาคใต้
1. ใช้ยอด ใบเพสลาด (ไม้อ่อน ไม่แก่เกินไป) นำไปแกงเลียง ผัด แกงกะทิ
2. ผลสุก ใช้กินเล่น
ภาคเหนือ
1. ยอดอ่อน นำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก
2. ยอดอ่อน ใบแก่ คั้นน้ำนำมาใส่แกงพื้นเมือง เช่น แกงหน่อไม้ แกงแค
ประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ
1. น้ำสีเขียวจากใบย่านางนำไปใช้ย้อมผ้าได้อีกด้วย
2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น กระบือ
3. เถาว์ มีความเหนียว ใช้มัดสัมภาระได้
ยอดอ่อนของเถาย่านางยังสามารถนำมารับประทานแกล้มแนมกับของเผ็ดอื่นได้ด้วย หรืออย่างชาวอีสานก็นิยมนำใบ และยอดอ่อนใส่รวมกับแกงขนุน แกงอีลอก อ่อมและหมกต่าง ๆ ใส่ในแกงเลียงและแกงหวาน ใส่ในแกงขี้เหล็ก น้ำคั้นจากใบก็ใช้เติมลงไปด้วย เพื่อลดความขมของใบขี้เหล็ก 
แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้ ส่วนของเถาใช้แก้ตานขโมย
วิธีใช้
1 แก้ประดงเลือดลม ใช้ใบกะเม็ง ขมิ้นอ้อย ใบหมากตัวผู้
ใบหมากตัวเมีย ใบย่านาง อย่างละเท่าๆกัน โขลกรวมกันคั้น
เอาน้ำทา ประดงทราย ก็จะหายภายในไม่ช้า
2 แก้อาการผิดสำแดง เอาใบมะขาม ใบย่านาง ใบบัวบก
เอาอย่าง ละ เท่าๆกัน ตำละเอียดผสมน้ำซาวข้าว ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา
แก้อาการ ผิดสำแดง เพระาเป็นไข้แล้วกินของแสลง ไข้กำเริบ ได้ผลดี
3 ยาแก้เลือดตกไม่หยุด เอาใบมะขาม เปลือกตะขบ รากย่านาง รากคัดเค้า ต้ม 3 เอา 1 กิน
4 ยาแก้อาหารเป็นพิษ เอารากตะไคร้ 1 รากย่านาง 1 รากว่าน น้ำ 1
ตัวยาทั้ง 3 ล้างให้สะอาด ฝนกับฝาละมีหม้อดิน ผสมกับน้ำต้มสุก
รับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วย มีสรรพคุณ แก้อาหารเป็นพิษ เพราะผิดสำ
แดง ที่เกิดจากรับประทานอาหารเข้าไป ทำให้ปวดท้อง อาเจียน ท้อง เสีย ให้หาย ได้ผลชะงัด
5 ยารักษาแผลกลาย เอาใบเถาวัลย์เขียน ( อ่อนๆ) 4-5 ใบ
ใส่ ปากเคี้ยวให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็นแผลกลาย เมื่อยาพอกแห้ง
เปลี่ยนยา พอกใหม่ จะหายภายใน 7 วัน
6 ยาแก้โรคประดง เอาไพล รากย่านาง จันทร์หอม ตัวยาทั้ง 3 นี้
ตำละเอียดผสมน้ำซาวข้าว ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน
ยังสามารถใช้น้ำย่านางมาสระผม ช่วยให้ศีรษะเย็น ผมดกดำหรือชลอผมหงอก
ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฟ้า ตุ่ม ผื่นคัน พอกฝีหนอง

ประโยชน์ของน้ำใบย่านาง
1. เคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
2. ปรับสมดุลของกรดในกระเพาะอาหาร
ลักษณะของน้ำใบย่านาง
1. มีกลิ่นเหม็นเขียว คล้ายน้ำใบบัวบก 
แต่เมื่อดื่มแล้วจะรู้สึกได้ทันทีว่าน้ำใบย่านางมีสรรพคุณดีกว่าน้ำใบบัวบก
2. ใบย่านางเป็นสมุนไพรธาตุเย็น เหมาะสำหรับคนธาตุร้อน 
ถ้าดื่มแล้วร่างกายรู้สึกหนาวให้ลดปริมาณลง
การปลูกและขยายพันธุ์
ย่านางเป็นพืชที่ขึ้นในดินทุกชนิด และปลูกได้ทุกฤดู ขยายพันธุ์โดยการใช้หัวใต้ดิน เถาว์แก่ที่ติดหัว ปักชำยอด หรือการเพาะเมล็ด รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง 
เดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงอดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล 

ที่มาของข้อมูล
https://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3624
https://smartgigcool.spaces.live.com/blog/cns!EDB5AC4F78B9745F!425.entry?0aaed4f8
https://apichoke.com/index.php?topic=886.0

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3

สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์

มฐ. ส 3.1  อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมีผลต่อการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการ

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน

นักเรียนมีวิธีการทำน้ำย่างได้อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ

นักเรียนควรทำน้ำย่านางดื่ม

นักเรียนควรสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

การบูรณาการ     ศีลป   วาดภาพต้นใบย่านาง

ภาษาไทย เขียนประโยชน์ของน้ย่านาง

ที่มาแหล่งอ้างอิง https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=imaginer&month=30-09-2009&group=9&gblog=84

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4195

อัพเดทล่าสุด