กระเทียม ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn. ชื่อวงศ์ Alliaceae ชื่ออังกฤษ Garlic ชื่อท้องถิ่น เทียม, หอมเทียม, หัวเทียม หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ 1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้กระต่าย (1, 2) 2. ฤทธิ์ขับน้ำดี กระเทียมเมื่อรับประทานเข้าไป จะไปเพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี 3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด มีรายงานว่ากระเทียมออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด เช่น E. coli, Shigella เป็นต้น โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ allicin 4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ กระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร อันจะเป็นผลช่วยลดการแน่นจุกเสียด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ โดยต้านการสังเคราะห์ prostaglandin 5. การทดลองทางคลินิก ใช้รักษาอาการแน่นจุกเสียด ทางอินเดียทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วยบิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลม มีรายงานผลการทดลองในคนไข้ 29 ราย เมื่อได้รับยาเม็ดกระเทียมในขนาด 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด คลื่นไส้หลังอาหาร พบว่าใช้ได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดา และเนื่องจากอาการทางประสาท จากการถ่าย X-ray พบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวแบบขับเคลื่อนของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำให้ลมกระจายตัว ผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์นี้ว่า gastroenteric allechalcone
6. ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ กระเทียมสามารถป้องกันตับอักเสบเนื่องจาก carbon tetrachloride , dimethylhydrazine , galactosamine สารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ S-propyl cysteine , S-allyl mercaptocysteine , S-methyl-mercaptocysteine , ajoene , diallyl sulfide
7. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา มีผู้ทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อราของกระเทียมมากมาย พบว่าสารสกัดด้วยน้ำและน้ำมันหอมระเหย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก คือ Trichophyton , Epidermophyton และ Microsporum ได้ดี 8. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา สารสำคัญเป็นสารที่ไม่คงตัว พบได้น้อยในพืชในรูปของ alliin เมื่อเซลลูโลสพืชถูกทำลาย alliin ถูกเปลี่ยนเป็น allicin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ และ allicin ที่อุณหภูมิต่ำๆ จะเปลี่ยนเป็น ajoene ซึ่งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เช่นเดียวกับ allicin 9. การทดสอบความเป็นพิษ 9.1 ให้หนูกินสารสกัดกระเทียมด้วยอีเธอร์ขนาด 2-4 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีพิษต่อตับ หัวใจ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม ไทรอยด์ 9.2 เมื่อป้อนสารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% แก่หนูขาว ซึ่งขาดน้ำดี ไม่พบพิษ 9.3 ฉีดสารสกัดสีขาวไม่มีกลิ่น ละลายน้ำ พบว่ามีฤทธิ์ลดปริมาณแคลเซียม หนูมีอาการกระวนกระวาย เดินไม่ตรง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการโคม่า ปริมาณที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง คือ 222 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดกระต่าย โดยค่อยๆ เพิ่มขนาด ทำให้กระต่ายตายในขนาด 100-200 มิลลิกรัม% น้ำมันหอมระเหยขนาด 0.755 ซี.ซี./ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้เกิดอาการงง 9.4 สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ, แอลกอฮอล์ หรืออะซิโตน ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน 9.5 Uemori ได้ทดลองให้สารสกัดแอลกอฮอล์ขนาด 0.755 มิลลิกรัม แก่กระต่ายทางหลอดเลือด พบว่าทำให้เกิดอาการกระตุ้นการหายใจตอนแรก ต่อมาเกิดอาการกดระบบหายใจ และระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด เมื่อทดลองให้สารสกัดนี้กับหัวใจกบที่ตัดแยกจากตัว พบว่าจะลดการบีบตัวของหัวใจ และหยุดในที่สุด แต่อาการพิษจะกำจัดได้โดยการล้างหัวใจ Caffeine จะช่วยลดอาการพิษได้บางส่วน Adrenaline ไม่ได้ผล แต่เมื่อใช้ atropine จะยับยั้งพิษได้สมบูรณ์ ถ้าใช้ในขนาดน้อยๆจะทำให้หลอดอาหารกระต่ายที่ตัดแยกจากตัวลดการบีบตัว เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดกระต่าย จะพบอาการต่างๆ ดังนี้ ขนาด 10 มิลลิลิตร ทำให้หัวใจเต้นแรง ขนาด 4 มิลลิลิตร เกิดอาการความดันโลหิตลดลงชั่วคราว และขนาด 8 มิลลิลิตร มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิตและฤทธิ์อยู่ได้นาน 10. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อทดลองฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ไขกระดูก โดยใช้กระเทียมสด ในขนาด 1.25, 2.5, 5.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ น้ำคั้นกระเทียมสด และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ มีผลลดจำนวน micronucleated cell ของเซลล์ไขกระดูก และ polychromatocytes ในหนูและ Chinese hamster 11. ต้านการก่อกลายพันธุ์ สารสกัดน้ำกระเทียมทำให้เกิดการสูญเสียของ chromatin จากสายใยของ cell nuclei และต้านการก่อกลายพันธุ์ซึ่งเกิดจากcumol hydroperoxide, ter-butyl hydroperoxide, hydrogen peroxide และ gamma-irradiation แต่ไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ antibiotic, NaN3, 2-nitrofluorene, 1,2-epoxy-3,3,3-trichloropropane หรือ Alpha-methyl hydronitrosoguoamidine ดังนั้นสารสกัดน้ำด้วยกระเทียม มีผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์จากปัจจัยซึ่งเป็นปฎิกริยาทางรังสี มากกว่าต้านการทำลายของ DNA นอกจากนี้การทดลองการต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ของกระเทียม ด้วยสารสกัดต่างๆ ให้ผลดังนี้ สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน E. coli สารสกัดกระเทียมด้วยอะซิโตน ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium strain TA89, TA100 ที่เกิดจาก aflatoxin B1 สารสกัดสามารถลดการก่อกลายพันธุ์ได้ 73-93% กระเทียมดิบบด ต้านการก่อกลายพันธุ์ของ 4-metroquinoline-1-oxide แต่ไม่เกิดปฎิกริยาการก่อกลายพันธุ์ของ UV-irradiation
การใช้กระเทียมรักษาอาการแน่นจุกเสียด 1. นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำดื่ม 2. นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้องอาหารไม่ย่อย การใช้กระเทียมรักษากลาก เกลื้อน
1. นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน 2. นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย https://www.thaifitway.com/education/ndata/n2db/question.asp?QID=25 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มฐ. ส 3. 1 อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมีผลต่อการผลิต ประเด็นคำถามที่นำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน นักเรียนใช้กระเทียมในการทำอาหารได้อย่างไรบ้าง กิจกรรมเสนอแนะ นักเรียนควรจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน จดบันทึกและนำเสนอหน้าชั้น สืบด้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต การบูรณาการ ศีลป วาดภาพกระเทียม ภาษาไทย เขียนประโยชฯของการะเทียม อ้างอิงแหล่งที่มา https://wich246.blogspot.com/2008/01/blog-post_7314.html ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4204 |