พระพุทธยอดฟ้า


806 ผู้ชม


ผู้สถาปนกรุงรัตนโกสินทร์   
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บทความเชิงชีวประวัตินี้ มีแหล่งอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ไม่น่าเชื่อถือ หรือต้องการเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ความถูกต้อง โปรดช่วยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่ขาดไปและที่เชื่อถือได้ เนื้อหาอันเป็นประเด็นถกเถียง โดยเฉพาะที่เป็นเชิงหมิ่นประมาท ใส่ความ หรือว่าร้าย ซึ่งไม่มีแหล่งอ้างอิงโดยสิ้นเชิง หรือมี แต่เชื่อถือมิได้นั้น ให้นำออกทันที พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมนามาภิไธย ทองด้วง ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี ครองราชย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 บรมราชาภิเษก 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 ระยะครองราชย์ 27 ปี รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัดประจำรัชกาล วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ข้อมูลส่วนพระองค์[ซ่อน] พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352 รวมพระชนมพรรษา 73 พรรษา พระบรมราชชนก สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระบรมราชชนนี พระอัครชายา (ดาวเรือง) พระราชโอรส/ธิดา 42 พระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — 7 กันยายน พ.ศ. 2352) พระนามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งถวาย[1]) รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ พระเจ้ารามณรงค์ (บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (นามเดิมว่า ทองด้วง) สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา เนื้อหา [ซ่อน] 1 พระราชประวัติ 2 พระนามเต็ม 3 พระราชโอรส พระราชธิดา 4 สมัยธนบุรี 5 วิกฤติการณ์ตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี 6 เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 6.1 เรียงตามพระประสูติกาล 7 ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ 8 ดูเพิ่ม 9 อ้างอิง [แก้]พระราชประวัติ พระราชสมภพ ณ เมื่อวันที่20 มีนาคม พ.ศ. 2279 เมื่อพระชนมายุ 21 ปี เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร ต่อมาได้วิวาห์กับธิดาในตระกูลเศรษฐีที่อัมพวาแขวงเมืองสมุทรสงคราม แล้วเสด็จออกไปรับราชการที่ราชบุรี ได้เป็นที่หลวงยกกระบัตร เมื่อพระชนม์ 25 พรรษา ในระหว่างอุปสมบทพระภิกษุทองด้วงได้ออกบิณฑบาตพร้อมกับพระภิกษุ สิน เป็นประจำเพราะรับราชการเป็นมหาดเล็กทำงานด้วยกันมาหลายปี ทั้งสองมีความรักใคร่กลมเกลียวกันมาก ได้อุปสมบทพร้อมกัน เช้าวันหนึ่งพระภิกษุทั้งสองเดินไปตามถนน เพื่อรับบิณฑบาตจากพระราชวังหลวง มีชายจีนผู้หนึ่งเดินผ่านพระภิกษุทั้งสองไปได้ 3-4 ก้าว ก็หยุดชะงักหันกลับมาดูแล้วก็หัวเราะ ทำเช่นนี้ถึง 5-6ครั้ง สองภิกษุมองหน้าแล้วถามว่าหัวเราะเรื่องอะไร ชายจีนผู้นั้นบอกว่าตนเป็นซินแสหมอดู สามารถทายลักษณะของบุรุษหรือสตรีได้ แล้วทำนายให้พระภิกษุทั้ง 2 องค์ว่า[2] ซินแสทายพระภิกษุองค์ที่ 1 (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ชายใดไกรลักษณ์พร้อม เพราองค์ ศักดิ์กษัตริย์ถนัดทรง ส่อชี้ สมบัติขัติยมง คลครอบ ครองแฮ ชายนั้นคือท่านนี้ แน่ข้าพยากรณ์ฯ ซินแสทายพระภิกษุองค์ที่ 2 (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ท่านเป็นบุรุษต้อง ตามลักษณ์ ล้วนแล บุญเด่นเห็นประจักษ์ เจิดกล้า จักสู่ประภูศักดิ์ สุรกษัตริย์ สืบศุภวงษ์ทรงหล้า สฤษฎ์เลี้ยง เวียงสยาม เกิดมาข้าพเจ้าไม่ เคยเห็น สองสหายหลายประเด็น เด่นชี้ ภายหน้าว่าจักเป็น ปิ่นกษัตริย์ นั่งอยู่ คู่กันฉนี้ แน่ล้วน ชวนหัว สองภิกษุว่า สองข้าอายุใกล้ เคียงกัน ทั้งคู่จะทรงขัณฑ์ ผิดเค้า เป็นกษัตริย์ร่วมรัฐบัล ลังก์ร่วม ไฉนนอ เห็นจะสัดตวงข้าว แน่แท้คำทายฯ [แก้]พระนามเต็ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเต็มว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลยคุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร" หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระบรมนามาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"[3] [แก้]พระราชโอรส พระราชธิดา ดูบทความหลักที่ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้ทรงโปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์ [แก้]สมัยธนบุรี ต่อมาพระองค์ท่านได้เข้ามาทำงานในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2311 และได้รับพระราชทานบันดาศักดิ์ดังนี้ พระราชวรินทร์ เจ้าพระยาจักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (บันดาศักดิ์สุดท้ายก่อนปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) [แก้]วิกฤติการณ์ตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2325 ได้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี คือ พระยาสรรค์ ได้ตั้งตัวเป็นกบฎ ขณะนั้นพระองค์ท่านเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จกลับจากกัมพูชา มาที่ กรุงธนบุรี แล้วปราบปรามกบฎ นำ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปสำเร็จโทษและพระองค์ก็เสด็จสวรรคต สมัยธนบุรีจึงสิ้นสุดลงในที่สุด [แก้]เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังจากนั้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 หลังจากที่พระองค์ท่านได้ปราบปรามกบฎเรียบร้อย ทางอาณาประชาราษฎร์ได้ทูลเชิญให้ท่านปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรี ราชธานีเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำเจ้าพระยา มายังฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างกรุงเทพมหานคร และในปี พ.ศ. 2327 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญ พระแก้วมรกต จาก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดซึ่งอยู่ใน กรุงธนบุรี ราชธานีเดิม หรือ ฝั่งธนบุรี ในปัจจุบัน มายัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่กรุงเทพมหานคร [แก้]เรียงตามพระประสูติกาล ประสูตินอกพระมหาเศวตฉัตร พระนาม พระมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระชันษารวม 1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - สิ้นพระชนม์แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา - 2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - สิ้นพระชนม์แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา - 3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - ปีกุนเอกศก จ.ศ. 1141 - 4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายฉิม สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี วันพุธ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีกุนนพศก จ.ศ. 1129 วันพุธ เดือน 8 แรม11 ค่ำ ปีวอกฉศก จ.ศ.1186 57พรรษา 5. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าแจ่มกระจ่างฟ้า สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ปีขาลโทศก จ.ศ. 1132 วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 1 ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ. 1170 38 ปี 6. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - สิ้นพระชนม์ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี - 7. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุ้ย สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี วันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะโรงเบญจศก จ.ศ. 1134 วันพุธ เดือน 8 อุตราสาท ขึ้น 3 ค่ำ ปีฉลูนพศก จ.ศ. 1179 45 พรรษา 8. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี - สิ้นพระชนม์ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี - 9. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงเอี้ยง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี วันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ ปีระกานพศก จ.ศ. 1139 วันศุกร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะแมเบญจศก จ.ศ. 1185 47 ปี 10. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากล้าย เจ้าจอมมารดาภิมสวน ปีจอสัมฤทธิศก จ.ศ.1140 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 - ประสูติเมื่อเสด็จปราบดาภิเษกแล้ว 11. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม เจ้าจอมมารดาปุย ปีเถาะเบญจศก จ.ศ. 1145 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 - 12. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับทิม เจ้าจอมมารดาจัน ปีเถาะเบญจศก จ.ศ. 1145 วันศุกร์ เดือน 7 แรม 6 ค่ำ ปีมะโรงโทศก จ.ศ. 1182 38 ปี 13. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง เจ้าจอมมารดาดวง ปีมะโรงฉศก จ.ศ. 1146 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 - 14. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงผะอบ เจ้าจอมมารดาภิมสวน ปีมะโรงฉศก จ.ศ. 1146 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 - 15. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงพลับ เจ้าจอมมารดาคุ้ม ปีมะเส็งสัปตศก จ.ศ. 1147 ปีขาลสัปตศก จ.ศ. 1228 82 ปี 16. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายอภัยทัต เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ธิดาพระยาจักรี เมืองนครศรีธรรมราช วันอังคาร เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีมะเส็งสัปศก จ.ศ. 1147 วันอังคาร เดือน 3 แรม 11 ค่ำ ปีระกานพศก จ.ศ. 1199 52 ปี 17. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายอรุโณทัย เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม (ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่เมืองนคร) ปีเถาะนพศก จ.ศ. 1169 วันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก จ.ศ. 1194 48 พรรษา 18. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ เจ้าจอมมารดาน้อย - วันอังคาร เดือน 5 แรม10 ค่ำ ปีระกาสัปตศก จ.ศ. 1187 39 ปี 19. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงธิดา เจ้าจอมมารดาเอม ปีมะแมนพศก จ.ศ. 1149 ปีจอสัมฤทธิศก จ.ศ. 1200 52 ปี 20. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายคันธรส เจ้าจอมมารดาพุ่ม ธิดาเจ้าพระยาวิเศษสุนทร (นาค นกเล็ก) วันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะแมนพศก จ.ศ. 1149 วันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น 13 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จ.ศ. 1178 30 ปี 21. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจงกลณี เจ้าจอมมารดาตานี ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. 1150 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 - 22. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุริยา เจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่ วันอังคาร เดือน 12 แรม 1 ค่ำปีระกาเอกศก จ.ศ. 1151 วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลฉศก จ.ศ.1216 66 ปี 23. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเกษร เจ้าจอมมารดาประทุมา ปีระกาเอกศก จ.ศ. 1151 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 - 24. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงมณฑา เจ้าจอมมารดานิ่ม ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 วันพฤหัสบดีเดือน 8 อุตราสาฒ ขึ้น 11 ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. 1223 72 ปี 25. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงมณี เจ้าจอมมารดาอู่ ธิดาพระยาเพชรบุรี (บุญรอด) ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 - 26. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงดวงสุดา เจ้าจอมมารดาน้อย ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 - 27. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจักจั่น (บางแห่งว่า พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี) เจ้าจอมมารดาอิ่ม ภายหลังได้เป็น ท้าววรจันทร์ฯ มีหน้าที่บังคับบัญชาท้าวนางทั่วทั้งพระราชวัง ธิดาเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล) ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 - 28. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายวาสุกรี เจ้าจอมมารดาจุ้ย ธิดาพระราชาเศรษฐี วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. 1214 64 พรรษา 29. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายฉัตร เจ้าจอมมารดาตานี (เจ้าคุณวัง) ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) เกิดแต่ท่านผู้หญิงเดิมที่ถูกโจรฆ่าตายไปเมื่อครั้งกลับไปขนทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้กลับมาจากกรุงเก่า วันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 วันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ ปีขาลโทศก จ.ศ. 1192 40 ปี 30. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุริยวงศ์ เจ้าจอมมารดานวล วันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุนตรีศก จ.ศ. 1153 วันเสาร์ เดือนอ้าย แรม 2 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. 1215 63 ปี 31. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงอุบล เจ้าจอมมารดาทอง ธิดาในท้าวเทพกระษัตรี วีรสตรีแห่งเมืองถลาง วันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนตรีศก จ.ศ. 1153 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 - 32. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงฉิมพลี เจ้าจอมมารดางิ้ว ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1153 วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จ.ศ. 1219 67 ปี 33. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายไกรสร เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีกุนตรีศก จ.ศ. 1153 วันพุธ เดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ.1210 57 ปี 34. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายดารากร เจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่ วันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ ปีชวดจัตวาศก จ.ศ. 1154 ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. 1210 57 ปี 35. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายดวงจักร เจ้าจอมมารดาปาน วันจันทร์ เดือน 8 แรม 6 ค่ำ ปีชวดจัตวาศก จ.ศ. 1154 อาทิตย์ เดือน 10 แรม 8 ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก จ.ศ. 1208 55 ปี 36. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงศศิธร เจ้าจอมมารดาฉิมแมว ซึ่งเป็นธิดาท้าววรจันทร์ (แจ่ม) ปีขาลฉศก จ.ศ. 1156 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 - 37. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเรไร เจ้าจอมมารดาป้อม (ป้อมสีดา) ธิดาพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. 1157 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 - 38. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงกระษัตรี เจ้าจอมมารดานวม ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. 1158 ปีชวดอัฐศก จ.ศ. 1178 20 ปี 39. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี เจ้าจอมมารดาทองสุก พระธิดาเจ้าอินทวงศ์ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราชขณะนั้น ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 วันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 3 ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก จ.ศ. 1200 41 ปี 40. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายสุทัศน์ เจ้าจอมมารดากลิ่น ธิดาพระยาพัทลุง (ขุน) วันพุธ เดือน 8 บุรพาสาฒ ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 วันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม 10 ค่ำ ปีมะเมียนพศก จ.ศ. 1209 49 ปี 41. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุภาธร เจ้าจอมมารดาเพ็งเล็ก พระธิดาเจ้านันทเสน พระเจ้าเวียงจันทน์ ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 41 ปี 42. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุด เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ ธิดาพระยาพัทลุง (ขุน) ปีมะแมเอกศก จ.ศ. 1161 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 49 ปี [แก้]ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 รูปอุณาโลม ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี พ.ศ. 2279 20 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม ทองด้วง พ.ศ. 2325 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าขึ้นเป็นที่ พระมหาอุปราชฝ่ายหน้า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าทองอิน ขึ้นเป็นที่ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุขฝ่ายหลัง' องเชียงสือ (ญวน) และนักองค์เอง (เขมร) ขอเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โปรดให้อาลักษณ์คัดนิทานอิหร่านราชธรรม พ.ศ. 2326 กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ. 2327 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากหอพระแก้วในพระราชวังเดิม แห่ข้ามมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถในพระราชวังใหม่ ทรงพระราชทานนามพระอารามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้า สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ รวม 9 ทัพ กองทัพไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยินไปทุกทัพ พ.ศ. 2328 งานสร้างพระนครและปราสาทราชมณเฑียรสำเร็จเสร็จสิ้น พระราชทานนามของราชธานีใหม่ พ.ศ. 2329 สงครามรบพม่าที่ท่าดินแดง ทรงพระราชนิพนธ์ นิราศรบพม่าท่าดินแดง โปรตุเกสขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี อังกฤษเช่าเกาะปีนัง จากพระยาไทรบุรี พ.ศ. 2330 องเชียงสือเขียนหนังสือขอถวายบังคมลา ลอบหนีไปกู้บ้านเมือง อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานภายในพระราชวังบวรสถานมงคล พ.ศ. 2331 โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎก ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ. 2333 องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จและจัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย พ.ศ. 2337 ทรงอภิเษกให้นักองค์เอง เป็น สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ไปครองกรุงกัมพูชา พ.ศ. 2338 โปรดเกล้าฯ ให้ชำระพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทานุมาศ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาพิชัยราชรถ พ.ศ. 2339 งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พ.ศ. 2340 ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ พ.ศ. 2342 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเวชยันตราชรถ พ.ศ. 2344 ฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดสระเกศ ฟื้นฟูการเล่นสักวา พ.ศ. 2345 ราชาภิเษกพระเจ้าเวียดนามยาลอง (องเชียงสือ) พ.ศ. 2347 โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ชำระกฎหมาย จัดเป็นประมวล กฎหมายตราสามดวง ขึ้น พ.ศ. 2349 ทรงอภิเษกให้ นักองค์จันทร์ เป็น สมเด็จพระอุทัยราชา ครองกรุงกัมพูชา พ.ศ. 2350 เริ่มสร้างวัดสุทัศน์เทพวราราม พ.ศ. 2352 ได้ริเริ่มให้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เสด็จสวรรคต [แก้]ดูเพิ่ม คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย พระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี [แก้]อ้างอิง ^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 15. ^ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร:คลังวิทยา ๒๕๑๑) หน้า ๕๔-๕๘ ^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, สร้อยพระนาม, สกุลไทย, ฉบับที่ 2622, ปีที่ 51, ประจำวันอังคารที่ 18 มกราคม 2548 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระราชสกุล ข้อความและความเห็นจากเว็บบอร์ดพันทิป สมัยก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยถัดไป กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน นักเรียนควรศึกษาประวัติของพระพุทธยอดฟ้าและควรนำมายกย่องในด้านใด กิจกรรมเสนอแนะ นักเรียนควรศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต นักเรียนควรจัดป้ายนิเทศ การบูรณาการ ศีลป วาดภาพพระพุทธยอดฟ้า ภาษาไทย เขียนพระราชประวัติของพระพุทธยอดฟ้า อ้างอิงแอหล่ีงที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (ตากสิน) (กรุงธนบุรี) พระมหากษัตริย์สยาม (6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4290

อัพเดทล่าสุด