1ธันวาคม วันเอดโลก


730 ผู้ชม


วันเอดโลก   

วันต้านเอดส์โลก วันเอดส์โลก
1 ธันวาคม ของทุกปี

        องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเอา วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปีเป็น“วันโลกต้านเอดส์” (WORLD AIDS DAY)และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ถือว่า เป็นวันโลกต้านเอดส์ครั้งแรก

        ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2532 ถือว่าเป็นวันโลกต้านเอดส์ครั้งแรก มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์หลายรูปแบบพร้อมกันทั่วโลก

โดยตั้งความหวังไว้ว่า 
        1.จะพยายามหยุดยั้งโรคเอดส์ 
        2.ให้ความเห็นใจ ห่วงใย ต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ 
        3.ให้ทุก ๆ คนได้รู้เรื่องโรคเอดส์ 

        จากการที่องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความสำคัญของโรคเอดส์ดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า โรคเอดส์เป็นโรคที่มีความรุนแรง มีผลกระทบต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคมและต่อประเทศชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากมาย

โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome) AIDS  
A = Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด หรือไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม 
I = Immune หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 
D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อม 
S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการของโรค ซึ่งมีอาการหลายลักษณะตามระบบต่าง ของร่างกาย 

        โรคเอดส์ (AIDS) หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอชไอวี (HIV) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้กันต่ำลงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกไวรัสทำลายและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาซ้ำเติมในภายหลัง (เรียกว่าโรคฉวยโอกาส) เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ 
เชื้อไวรัสเอดส์นี้มีหลายสายพันธุ์

        สายพันธุ์หลักดั้งเดิม ได้แก่ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา กลาง 

1ธันวาคม วันเอดโลก1ธันวาคม วันเอดโลก

1ธันวาคม วันเอดโลก

        สายพันธุ์เอชไอวี-2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนั้นยังมีสายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ อีกมากมายตามเวลาที่ผ่านไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์นี้สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย  
อาการติดเชื้อเอดส์แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 
 
ระยะที่ 1
         กลุ่มผู้ที่ตรวจพบเชื้อไวรัสเอดส์แต่ยังไม่ปรากฎอาการผิดปกติแต่อย่างใด บุคคลกลุ่มนี้จัดเป็นพาหะนำโรคซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้อย่างไม่จำกัดจำนวนนับว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ เพราะผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เป็นเวลานาน หากไม่มีการตรวจพบเชื้อจะไม่มีทางทราบได้เลย ว่าบุคคลนี้มีเชื้อไวรัสเอดส์อยู่ในร่างกาย จนกว่าจะมีอาการป่วยปรากฎออกมาให้เห็น 
 
ระยะที่ 2
         เป็นอาการที่พบได้ก่อนที่จะปรากฎอาการป่วยเป็นโรคเอดส์ (AIDS-Relate Complex) หรืออาจเรียกว่า กลุ่มอาการ ARC หมายถึง กลุ่มที่มีอาการ จะสังเกตได้จากอาการเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุในระยะนี้สามารถตรวจพบภูมิคุ้มกันในเลือดของผู้มีอาการนำ หรืออาจจะสังเกตลักษณะของอาการได้ดังนี้ 
        1.มีไข้สูงเกิน 37.8 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน 
        2.น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือมากว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเดิมภายใน 2 เดือน 
        3.ต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายหลายแห่งบวมโตนานกว่า 3 เดือน 
        4.อุจจาระร่วงเรื้อรังนาน 1-3 เดือน 
        5.เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีเหงื่อออกตอนกลางคืน และพบว่าร้อยละ 20 ของกลุ่ม ARC จะมีอาการลุกลามไปเป็นโรคเอดส์ในเวลาต่อมา 
        6.แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งจะไม่มีเรี่ยวแรงและทำงานไม่ประสานกัน 

ระยะที่ 3 
        เป็นระยะที่กลุ่มผู้ป่วยจะปรากฎอาการของโรคเอดส์ซึ่งอาการในระยะนี้แบ่งตามอาการที่ปรากฏออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือการติดเชื้อชนิดฉวยโอกาส และอาการของโรคมะเร็ง 
กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ สามารถแยกออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ 
        1.กลุ่มมีเพศสัมพันธ์ผิดธรรมชาติหรือสำส่อนทางเพศ เช่น กลุ่มรักร่วมเพศชาย กลุ่มรักต่างเพศ 
        2.กลุ่มผู้ติดยาเสพติด 
        3.กลุ่มที่รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด 
        4.กลุ่มที่ได้รับเลือดจากมารดา 

สาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ทุกระดับชั้น

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย

นักเรียนควรศึกษา โรคเอด เพื่อ อะไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้ไกลเอด

กิจกรรมเสนอแนะ นักเรียนควร ศึกษาความรู้เรื่องเอดเพื่อการป้องกันตัวเอง

การบูรณาการ ภาษาไทย เขียนเรียงความ  ศีลป วาดภาพ

ที่มาแหล่งข้อมูลhttps://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4563.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4485

อัพเดทล่าสุด