แม่คะนิ้ง


614 ผู้ชม


แม่คะนิ้งเกิดขึ้นในที่มีอากาศหนาวจัด   

แม่คะนิ้ง

          แม่คะนิ้ง เป็นคำจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า เหมยขาบ คือผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดินลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้าง แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ต่อจากนั้นอุณหภูมิยังคงลดต่อไปอีก จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้น้ำค้างแข็งตัว กลายเป็นน้ำค้างแข็ง ซึ่งจะทำความเสียหายแก่พืชไร่และผักต่าง ๆ เช่น ข้าวที่กำลังออกรวงก็จะมีเมล็ดลีบ พืชไร่จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักใบจะหงิกงอ ไหม้เกรียม กล้วย มะพร้าวและทุเรียนใบจะแห้งร่วง ถ้าเกิดติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้มากขึ้น น้ำค้างแข็ง ในเมืองไทยสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณยอดดอยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด ส่วนมากจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม

รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

     - การเกิดลูกเห็บ
     - หิมะ
     - น้ำค้าง
     - หมอก   
     - ฝน
 
    - พายุฤดูร้อน
     - เมฆ
     - น้ำค้างแข็ง 
     - เหมยขาบ

ที่มา เว็บไซต์ดอยอินทนนท์

สาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทุกระดับชั้น และทุกคนที่สนใจ

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน

นักเรียนควรศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแม่คนิ้งเพื่ออะไร

กิจกรรมเสนอแนะ

นักเรียนควรศึกษาข้อมูลจากห้องสมุดและข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

การบูรณาการ ภาษาไทย อ่านออกเสียง อ่านจับใจความ อ่านคำยาก

ศีลป วาดภาพ  ภาษาอังกฤษ เขียนคำศัพท์

ที่มาและแหล่งข้อมูลhttps://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87/
 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4518

อัพเดทล่าสุด