มือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา


914 ผู้ชม


นักออกแบบผลิตภัณฑ์ชาวเดนมาร์กพัฒนาโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   

มือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา

มือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา

รูปภาพจากที่นี่ดอทคอม


นักออกแบบรายนี้มีชื่อว่า เกิร์ท แจน แวน บรูเจล เขาตั้งใจออกแบบโทรศัพท์มือถือให้ย่อยสลายได้ง่าย และเมื่อใช้จนเสียแล้ว ก็สามารถงอกขึ้นมาเป็นต้นไม้ได้ด้วย 


เดนมาร์กพัฒนามือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา 
วอชิงตัน 24 เม.ย.-นักออกแบบผลิตภัณฑ์ชาวเดนมาร์กพัฒนาโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากตัวเครื่องจะทำมาจากไม้ไผ่แล้ว ภายในยังมีเมล็ดพันธุ์ไม้ไผ่บรรจุอยู่ถ้านำตัวเครื่องที่ใช้จนเสียไปกลบฝังในดินก็จะช่วยให้เมล็ดพันธุ์ข้างในงอกออกมาเป็นต้นได้

 

เพื่อจะได้ลดจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีน้อยลง โทรศัพท์มือถือรุ่นนี้ยังช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า  เพราะด้านหลังของเครื่องจะมีข้อต่อเอาไว้หมุนให้พลังงาน  ถ้าหมุนข้อต่อครบ 3 นาที จะช่วยให้ตัวเครื่องมีพลังงานเพียงพอสำหรับการรับส่งข้อความสั้น หรือโทรเข้าโทรออกได้ชั่วคราว ไม่จำเป็นต้องนำแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟอยู่ตลอดเวลา


หลายฝ่ายคาดว่า โทรศัพท์มือถือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า 

เนื่องจากผู้บริโภคต่างใส่ใจในปัญหาโลกร้อนกันมากขึ้น  ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมายังได้เห็นบริษัทผู้ผลิตมือถือหลายแห่งเปิดตัวโทรศัพท์มือถือทั้งในแบบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์  ไปจนถึงตัวเครื่องที่ทำมาจากขวดพลาสติกรีไซเคิล  แต่เนื่องจากโทรศัพท์มือถือเหล่านี้มักมีราคาที่แพงกว่าโทรศัพท์มือถือทั่วไป  ดังนั้น จึงยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่า ถ้ามีการวางขายอย่างจริงจัง  โทรศัพท์มือถือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ซื้อหรือไม่


ผลการศึกษาจาก Strategy Analytics  พบว่า  ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในสหรัฐและยุโรป ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อมือถือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ส่วนกลุ่มที่ซื้อก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น ลูกเล่นในตัวเครื่องและรูปทรงการออกแบบ  ถ้าเป็นมือถือในแบบที่เชยเกินไปหรือไม่มีลูกเล่นการใช้งาน แม้จะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ก็คงไม่จูงใจให้ผู้บริโภคอยากซื้อมาใช้  เช่น โทรศัพท์มือถือที่ทำจากไม้ไผ่ของเกิร์ท แจน แวน บรูเจล ที่สามารถใช้งานได้แค่โทรเข้าโทรออกและส่งข้อความสั้นเท่านั้น. -สำนักข่าวไทย

 
 
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:"ข่าวเข้ม ฉับไว เป็นกลาง"

อ้างอิงแหล่งข่าว:คลิกที่นี่

มือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา

รูปภาพจากสยามโฟนดอทคอม
มือถือคือส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ดังนี้
   เทคโนโลยี  หมายถึง  วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
   สารสนเทศ  หมายถึง  ข่าวสาร  การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
   ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริง  หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
   การสื่อสาร  หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร  ช่องทางการส่งข้อมูล  ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร

    จากความหมายดังกล่าว  สามารถกล่าวขยายอธิบายเพิ่มเติมได้  คือ

เทคโนโลยี (Technology) มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง  วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า ลอจิก (Logic) ซึ่งหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว (Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliabld) และความถูกต้อง  ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์
       อย่างไรก็ตาม  ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี  ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร  และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย  เทคโนโลยีสำหรับการผลิต  การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
       เทคโนโลยี  ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ  โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์  หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง  ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม  และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน

มือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา

รูปภาพจากไทยเวิร์กเกอร์ดอดคอม
โลกอินเตอร์เนต และการสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) แต่เดิมมักได้ยินแต่คำว่า IT หรือ Information Technology เท่านั้น ต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย  เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาอย่างมาก  และสามารถที่จะนำสื่อสารในเทคโนโลยีได้
            การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ  3  ส่วน  ได้แก่  ผู้ส่งสาร  ช่องทางการสื่อสารและผู้รับสาร  และมีระบบการสื่อสาร  2  ประเภท  คือ  ประเภทมีสายและประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย  เทคโนโลยีการสื่อสาร  ได้แก่  อินเทอร์เน็ต  โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)  หรือ  (web)
           จึงกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง  "วิทยาการต่างๆ  ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง"  กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารสนเทศ  ที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก  ตั้งแต่การรวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เพื่อให้ได้สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต  การบริการ  การบริการและการดำเนินงานต่าง ๆ  รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้  ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ  การค้า  และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณภาพของประชาชนในสังคม

 มือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา

รูปภาพจาก:คลิกที่นี่ 

ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ เช่น นำมาใช้ในวงการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)

 

เทคโนโลยีการสื่อสาร  หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่

1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)

2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)

3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)

4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)

 

บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน  เช่น   คอมพิวเตอร์   ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร    โครงข่าย

โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทําให้ เกิดสิ่งที่เรียกว่า "การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข" (Digital Revolution) ทําให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองานกราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนําเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใชhงานของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทําให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วยระบบที่มีการทําให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ" (Interactive)

 

เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)

คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology) ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ

“การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร (Transfer of Information)”

เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice) หรือทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและเป็นเครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age)และเป็นสังคมสาร- สนเทศ (Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม (ธวัชชัย พานิชยกรณ์, 2539)

 

ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร

เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)


                         เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

 

ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)

  1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
  2.  เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
  3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็น

  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม

 สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology) ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ

 พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้ 1) ก. การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ข. องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 2) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ

 บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์

เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว

 กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง

 สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน

 เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า

เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ

  1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว 
  2.  ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด 
  3.  ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป

 

มือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา

รูปภาพจาก :คลิกที่นี่
การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร  ช่องทางการส่งข้อมูล  ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร

 

อ้างอิง:คลิกที่นี่

 

มือถือถ้าเสียแล้วโยนทิ้งจะมีต้นไม้งอกขึ้นมา

รูปภาพจาก วิชาการดอทคอม

จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนสามารถบอกความหมายและบทบาทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

จุดประสงค์นำทาง
1.บอกความหมายของเทคโนสารสนเทศได้
2.บอกบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3.บอกหลักการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันได้
4.บอกข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศได้

โดย: ครูสายพาน ทับนิล      ตำแหน่งครู ค.ศ.2  โรงเรียนตากพิทยาคม    สังกัด สพท.ตาก เขต 1
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=72

อัพเดทล่าสุด