กระทรวงไอซีทียกเลิกการบล็อคเว็บหลังการยกเลิกพรก. ฉุกเฉินฯ แล้วครับ


663 ผู้ชม


หลังจากที่รัฐบาลได้ยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังจากที่สถานการณ์ได้สงบลง ทางกระทรวงไอซีที ก็ได้ยื่นจดหมายแจ้งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ให้ทำการยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์แล้ว จำนวน 71 เว็บไซต์ รวมถึง no-ip.org, ning.com และ cbox   
กระทรวงไอซีทียกเลิกการบล็อคเว็บหลังการยกเลิกพรก. ฉุกเฉินฯ แล้วครับ
กระทรวงไอซีทียกเลิกการบล็อคเว็บหลังการยกเลิกพรก. ฉุกเฉินฯ แล้วครับ         หลังจากที่รัฐบาลได้ยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถาน
การณ์ฉุกเฉิน หลังจากที่   สถานการณ์ได้สงบลง ทางกระทรวงไอซีที ก็ได้ยื่น
จดหมายแจ้งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ให้ทำการยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์
เว็บไซต์ แล้ว จำนวน ๗๑ เว็บไซต์ รวมถึง no-ip.org, ning.com และ cbox.ws
ยังไม่มี รายงานว่าหลังการยกเลิกการปิดกั้นเนื่องจาก หมดอำนาจตามพรก.นี้ ทางกระทรวงไอซีที จะยื่นขอ อำนาจจากศาล เพื่อปิดกั้นเว็บเหล่านี้ ซึ่งเป็น เรื่องปรกติ ที่พระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก. ฉุกเฉินฯ) นั้นประกาศขึ้นมาเพื่อให้อำนาจ พิเศษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และคงไม่ต้องแปลกใจหากมันจะถูกใช้มั่วๆ ไปบ้างและทางไทยรัฐได้ตีพิมพ์รายชื่อเว็บที่ถูกปิดด้วยอำนาจของ พรก. ทำให้เจ้าหน้า ที่ไม่ต้องอาศัยอำนาจศาลตามภาวะปรกติ โดยเกือบทั้งหมดเป็นเว็บที่เกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดงแต่มีสองรายการที่เป็นผู้ให้บริการโดยทั่วไป
คือ ning.com และ no-ip.org สำหรับ ning.com นั้นเป็นบริการ Social Network ที่เปิดให้สมาชิกสร้าง Social Network ของตัวเองได้อย่างอิสระ ส่วน no-ip.org นั้นเป็นผู้ให้บริการ Dynamic DNS ที่เปิดให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ที่เปลี่ยนหมายเลขไอพีบ่อยๆ สามารถมีชื่อ DNS ประจำเครื่องได้

            นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงไอซีทีระบุชัดเจนว่าเว็บที่ถูกปิดด้วยอำนาจพรก. จะถูกปิดต่อไปหลังจากยกเลิกพรก. ไปแล้ว โดยจะขอหมายศาลเพื่อปิดต่อไป แต่มาในขณะนี้การแจ้งยกเลิก การปิดกั้นนี้ก็นับเป็นสัญญาณอันดีว่าทาง กระทรวงไม่ได้ใช้อำนาจนอก เหนือจากกฏหมายกำหนดแต่อย่างใด [ที่มา : ประชาไท ]
            แล้วคอมพิวเตอร์เกี่ยวอะไรกับการเมืองเกี่ยวอะไรกับเสื้อแดงเสื้อเหลืองและ เกี่ยวอะไรกับการใช้ พรก. หล่ะ นักเรียนคงสงสัยและข้องใจใช้ไหมครับ เอาเป็นว่าเรามาศึกษาเรื่อง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ว่ามันเกี่ยวเนื่องกันได้อย่างไร

    ๑.เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
    ๒.เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ได้ถูกวิธีและไม่ขัดต่อ พรบ.ฯ
 
ทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
           “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุกวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
             สำหรับคำถามหรือข้อสงสัยอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่อง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ สามารถ
เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ https://www.inet.co.th/computer_act/

บทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
             บทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ. ฉบับนี้
ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน ๖ เดือน ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยไม่ชอบ ไม่เกิน ๑ ปี ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน ๒ ปี ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ไม่เกิน ๓ ปี ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail) ไม่มี ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ไม่เกิน ๑ ปี ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
การกระทำต่อความมั่นคง
- ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์
- กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ
- เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

ไม่เกิน ๑๐ ปี
  ๓ ปีถึง ๑๕ ปี
๑๐ ปีถึง ๒๐ ปี

และไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
และ๖๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มี
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น (การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม)
ไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล ไม่เกิน ๓ ปี ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท

ประเด็นคำถาม
        
๑.ทำไมต้องมี พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
        ๒.การประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ ทำไมต้องมีการบล็อกเว็บไซต์บางเว็บไซต์
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
        ๑.สาระสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เรื่อง ศีลธรรม , สังคมมนุษย์กับการสื่อสาร
        ๒.การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
        ๓.ภาษาไทย เรื่อง ภาษากับการสื่อสาร
แหล่งที่มาและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
        ๑.ประชาไท : https://www.prachatai.com/05web/th/home/16592
        ๒.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: www.mict.go.th
        ๓.ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี 
           (High-Tech Crime Center) :https://htcc.police.go.th
        ๔.กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: https://ict.police.go.th
        ๕.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: www.royalthaipolice.go.th
        ๖.กรมสอบสวนคดีพิเศษ: https://www.dsi.go.th/dsi/index.jsp
        ๗.ว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA) 
           https://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php 
        
 
บทความโดย
กระทรวงไอซีทียกเลิกการบล็อคเว็บหลังการยกเลิกพรก. ฉุกเฉินฯ แล้วครับ   ครู มนตรี   อกอุ่น
   โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ ในพระอุปถัมภ์
   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุรินทร์ เขต ๓
   e-mail : [email protected]
   web-blog : krumontree.212cafe.com                   
 
 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=79

อัพเดทล่าสุด