พริก...แก้ง่วง


1,529 ผู้ชม


ตั้งจุดบริการแจกจ่าย "พริกสด" ให้กับผู้ัขับขี่ยวดยานพาหนะ เพราะ...   

พริกแก้ง่วง

พริก...แก้ง่วง 

[ภาพจาก  :  พริก :  พืชน่าพิศวง]


         พริกแก้ง่วง(ข่าวสด) คนจีนมีความเชื่อว่าสภาพอากาศเข้าสู่ช่วง "ฤดูใบไม้ผลิ" จะทำให้มนุษย์ง่วงเหงาหาวนอนมากกว่าปกติ  ถ้าขับรถขับราก็อาจ "หลับใน" เกิดอุบัติเหตุง่าย! 
         คุณตำรวจในนครฉงชิ่ง ของจีน ก็เลยเสนอมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนน...   ตั้งจุดบริการแจกจ่าย "พริกสด" 
ให้ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะผ่านถนนหลวงสายสำคัญๆ  พอเหนื่อยก็จอดรถมารับพริกเผ็ดจี๊ดไปเคี้ยวแก้ง่วง  เพราะพริกช่วยให้ตาสว่าง
ตื่นตัวดี   ที่มา  :  กระปุกดอทคอม

         พริก...แก้ง่วงพริก  คนไทยมีการปลูกและบริโภคพริกกันอย่างกว้างขวาง พริกถือเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมบริโภคมีอยู่
มากมายหลายชนิด  ทั้งเผ็ดมากและเผ็ดน้อยหรือเกือบไม่เผ็ดเลย  ผลพริกสามารถบริโภคได้ทั้งในรูปสดหรือแห้ง  หรือในรูปปรุงแต่งอื่นๆ เช่น พริกดอง พริกเผา หรือพริกแกงต่างๆ อาหารไทยมีชื่อเสียงในด้านความเผ็ด และพริกขี้หนูมีส่วนในการทำให้อาหารไทยโด่งดังทั่วโลก ขึ้นชื่อเป็นอาหารยอดนิยม 1 ใน 10 ของโลก คือ "ต้มยำกุ้ง"   และเป็นสมุนไพรไทยใกล้ตัว สารพัดประโยชน์  ที่ไม่ใช่แค่ให้รสเผ็ด สามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์แก้ง่วงได้หลายอย่าง  เช่น สเปรย์พริกชนิดฉีดพ่นในปากปลุกให้ตื่น แผ่นฟิล์มอมแก้ง่วง หรือขนมเจลาตินชนิดใช้เคี้ยวอม  พริกพืชผักสวนครัวประจำบ้านที่แทบทุกครัวเรือน จะนำไปเป็นส่วนผสมสำคัญของอาหาร ประเทศไทยนิยมปลูกพริก 2 ชนิด ได้แก่ พริกที่มีรสชาติไม่เผ็ดมาก พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า  และพริกที่เผ็ดได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ และพริกเหลือง  นอกจากให้รสชาติของความเผ็ดแล้ว พริกยังจัดเป็นสมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมยังช่วยเป็นยาขับลมในลำไส้   แก้จุกเสียด  ช่วยเจริญอาหาร  แล้วยังมีการนำสารประกอบในพริกมาสกัดเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ  อย่างโครงการ “ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อแก้ง่วงจากสารสกัดพริก”  โดยรองศาสตราจารย์ วิมล  ศรีศุข   คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล 
      พริก...แก้ง่วง                                         7 กุมภาพันธ์ 2550   รองศาสตราจารย์วิมล  ศรีศุข  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์พริก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แก้ง่วงในรูปแบบสเปรย์พ่นปาก แผ่นฟิล์ม และขนม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  การทดสอบฤทธิ์กระตุ้นของสเปรย์โดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตของผู้ใช้ในภาวะปกติก่อนและหลังการฉีดพ่น พบว่า  พริกที่มีรสชาติเผ็ด เมื่อให้ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ  ความดันทำให้โลหิต ซึ่งจะส่งผลทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว  ปลุกให้หายง่วงนอนได้  ซึ่งมีผลในการเพิ่มความดันโลหิต ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น  และสามารถทำให้ตื่นตัวหายง่วงได้ภายในเวลาประมาณ 30 วินาที สำหรับสเปรย์ดับกลิ่นปาก  สารสกัดจากพริกที่ใช้เป็นส่วนผสมในสเปรย์ดังกล่าวที่มี ชื่อว่า
แคปไซซินอยด์ (Capsaicinoids)  ยังต้องปรับแต่งกลิ่นและรสชาติให้เป็นที่พึงพอใจสำหรับผู้ใช้ต่อไป สำหรับระงับกลิ่นปาก  และขนมเจลาตินที่มีส่วนผสมจากพริกสำหรับแก้ง่วง  จึงเหมาะกับนักเรียน นักศึกษา และพนักงานบรัษัท   ที่มา : สยามจดหมายเหตุ

                                             
[ภาพจาก  :  “สเปรย์พริก ปลุกให้ตื่น”]                       

      เนื้อหาบทความนี้เหมาะกับนักเรียน  นักศึกษา และบุคคลทั่วไป

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพริก
          พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Capsicum frutescens L. 
ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำ ภาษาสเปน ว่า chile   หมายถึง 
พริกที่มีขนาดเล็ก  ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา 
ชนิดของพริก       
          พริกมีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า ประเทศไทยมักนิยมปลูกพริกอยู่  2  ชนิด  
ซึ่งได้แก่
           1.  พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า          
           2.  พริกเผ็ด ได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ 
การเพาะปลูก   เมื่อตอนอ่อนพริกจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีแดง หรือ สีเหลือง
สรรพคุณ
          พริกมีวิตามินซีสูง  เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหาร  เพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่ายของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสด และพริกชี้ฟ้าของไทย พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีน หรือวิตามินเอสูง   สาระสำคัญอีก  2  ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresin โดยเฉพาะ
สาร Capsaicin ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร  และผลิตภัณฑ์รักษาโรค Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด 
ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็น
โลชั่นและครีม (Thaxtra - P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน          [ที่มา  :  วิกิพีเดีย]

ความเผ็ดอยู่ที่ไหน
          บริเวณที่พบสารแคปไซซินภายในผลพริกนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว 
หรือเรียกว่า "รก" (placenta)  ส่วนของเนื้อผลพริก เปลือกผลและเมล็ดจะมีสารแคปไซซินอยู่น้อยมาก ซึ่งคนทั่วไปมักคิดว่าเมล็ดคือส่วนของพริกที่เผ็ดที่สุด   เนื่องจากสารแคปไซซินสามารถละลายในน้ำได้เพียงเล็กน้อย แต่ละลายได้ดีในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ ดังนั้นถ้าต้องการบรรเทาความเผ็ดของอาหารในปาก ควรดื่มแอลกอฮอล์หรือกินอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบมากกว่าการดื่มน้ำ 

chilli-2[ภาพจาก  : สเปรย์พริก ปลุกให้ตื่น]

สารพัดประโยชน์จากพริก
         พริก...แก้ง่วง ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด 
         
พริก...แก้ง่วง ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด 
         
พริก...แก้ง่วง ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเทอรอล 
         
พริก...แก้ง่วง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง 
         
พริก...แก้ง่วง ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด 
         
พริก...แก้ง่วง ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ 
         
พริก...แก้ง่วง พริกเป็นสารป้องกันตัว 
         
พริก...แก้ง่วง การใช้พริกในส่วนประกอบอาหารสัตว์เพื่อทดแทนสารปฏิชีวนะ 
         
พริก...แก้ง่วง พริกยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ตัวอย่างที่อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย เช่น การใช้ไล่แมลงศัตรูพืช ใช้ป้องกันไม่ให้เพรียงมาเกาะท้องเรือ เป็นต้น      [ที่มา :  https://clgc.rdi.ku.ac.th/article/seed/chilli/chilli.html]

ลักษณะของพริก

พริก...แก้ง่วง

 

 

                                               ลำต้นและกิ่ง

พริก...แก้ง่วง

 

ราก

 

 

 

 

 

พริก...แก้ง่วง

                                                   ผล

พริก...แก้ง่วง

 

ใบ

 

 

 

           [ภาพจาก  :  https://www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/153.htm]

ความรู้เพิ่มเติม

          มีการศึกษาพบว่า capsaicin ในพริกมีความสามารถในการกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ดีภายในร่างกาย 
ซึ่งอีกไม่นานจะมีการแนะนำให้ใช้ capsaicin ในการรักษามะเร็ง นับเป็นการบำบัดแบบใหม่ที่มีทิศทางที่ดีในอนาคต

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย

  1. มีอะไรอยู่ในพริกบ้าง
  2. ศัตรูของพริกและการป้องกันกำจัด
  3. การแปรรูปของพริก
  4. นอกจากผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว พริกยังนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อะไรได้อีกบ้าง

กิจกรรมเสนอแนะ

  1. ศึกษาค้นคว้าพริกแต่ละชนิด
  2. ให้นักเรียนเพาะพันธุ์พริกที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นของตนเอง  เพื่อดูลักษณะการเจริญเติบโต  รสชาดของพริก ฯลฯ
  3. ประกอบอาหารที่มีส่วนประกอบของพริก
  4. นำพริกแต่ละชนิดมาตกแต่งเพื่อให้สวยงาม  เช่น  จัดกระเช้าผักผลไม้  จัดจานอาหารให้น่ารับประทานขึ้น
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
  • ลุ่มสาระการงานฯ เช่น  วิชางานบ้าน  เรื่อง  การประกอบอาหาร  การจัดตกแต่งอาหาร  ,  วิชางานเกษตร  เรื่อง วิธีการปลูกพริก
  • กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์พืช
  • กลุ่มสาระศิลป  เรื่อง การวาดภาพ   การระบายสี
  • หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง พืชในชุมชนของเรา  และพืชเศรษฐกิจ
แหล่งที่มาของข้อมูล

https://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=787

www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/153.htm]

https://clgc.rdi.ku.ac.th/article/seed/chilli/chilli.html]
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=99

อัพเดทล่าสุด