ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ
การสื่อสารข้อมูล
ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หลายองค์การแก้ไขปัญหาด้วยการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งการลดกำลังคน หรือการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งพบว่าการดำเนินการประสบปัญหา เพราะบางองค์การดำเนินการแบบกระทันหัน ไม่มีการวางแผน การเตรียมตัว ไม่มีการสื่อสารให้พนักงานได้ทราบ เป็นผลทำให้เกิดการต่อต้าน ความไม่พอใจของพนักงานต่อมาตรการของนายจ้างและก่อให้เกิดปัญหาการประท้วงหรือก่อความวุ่นวาย (ที่มา : ดร. อภิชัย ศรีเมือง วิทยากรที่ปรึกษาการบริหารทรัพยากรบุคคล นำเสนอเทคนิคสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหาทางด้านแรงงานสัมพันธ์ )
ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรี่มา มต่างๆ ร่วมกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ทำงานสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากการดำเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว ด้านการทำงาน ตลอดจนสังคมและการเมืองทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบปะ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้ เมื่อมนุษย์มีความจะเป็นที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน จึงมีการพัฒนาการหลายด้านที่ตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ช่วงชั้นที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สาระความรู้ (ตอนที่ 1)
ที่มาภาพ : https://pirun.ku.ac.th/~b5013422/pics/atom8_06.jpg
ความหมายการสื่อสารข้อมูล Data Communication
(ผศ.สมใจ บุญศิริ และ ผศ.ดร.ภัทรสินี ภัทรโกศล, 2543 , 239) การสื่อสารข้อมูล หมายถึงวิธีการที่ทำการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยการส่ง จะใช้การส่งผ่านด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้
(ธีราวุธ ปัทมวิบูลย์ และคณะ, 2545, 103) การสื่อสารข้อมูล คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อย่างน้อย 2 ตัว โดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งข้อมูลนั้นอาจจะอยู่ในรูปตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง
(ผศ.สมใจ บุญศิริ และ ผศ.ดร.ภัทรสินี ภัทรโกศล, 2543 , 239) การสื่อสารข้อมูล หมายถึงวิธีการที่ทำการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยการส่ง จะใช้การส่งผ่านด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้
(ธีราวุธ ปัทมวิบูลย์ และคณะ, 2545, 103) การสื่อสารข้อมูล คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อย่างน้อย 2 ตัว โดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งข้อมูลนั้นอาจจะอยู่ในรูปตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง
(ผศ.ธงชัย สิทธิกรณ์, 2547,179) การสื่อสารโดยทั่วไปหมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิดสู่กัน สิ่งมีชีวิตทุกประเภทมีกระบวนการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์ อาจอยู่ในรูปการสื่อสารแบบจุดต่อจุด (จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับรายเดียว) หรือแบบกระจาย ( จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับหลายราย หรือไปสู่กลุ่มผู้รับ)
สรุปได้ว่า การสื่อสารข้อมูล (data communications) คือการรับ-ส่ง โอน ย้าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ โดยผ่านสื่อนำข้อมูล
ที่มาภาพ : https://pirun.ku.ac.th/~b5013313/pic/d1.jpg
องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
3. ข่าวสาร (Massage)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium)
5. โปรโตคอล (Protocol)
ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลด้วยโทรศัพท์
ผู้ส่งข้อมูล : ผู้ที่ทำการส่งข้อความในรูปแบบของเสียงรวมถึงตัวเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในการติดต่อด้วย
ผู้รับข้อมูล : ผู้ที่ทำการรับข้อความเสียงรวมถึงตัวเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในการรับข้อมูลด้วย
ข้อมูล : ข่าวสารที่ถูกส่งในการสนทนาระหว่าง 2 ฝ่าย ในรูปแบบของเสียง
สื่อนำข้อมูล: สายโทรศัพท์ ชุมสายโทรศัพท์
โพรโตคอล : ในการเริ่มการสื่อสาร (establishment) ผู้เริ่ม (ผู้โทร) จะต้องแนะนำตัวก่อน ในระหว่างการสนทนา
ทั้ง 2 ฝ่ายจะผลัดกันเป็นผู้ส่งและผู้รับข้อมูล เมื่อผู้ส่งพูดจบให้เว้นจังหวะ ให้คู่สนทนาพูดตอบ ถ้ารับข้อมูลไม่ชัดเจนให้ทำการแก้ไขข้อผิดพลาด (error detection) ด้วยการส่งข้อความว่า “ อะไรนะ” เพื่อให้คู่สนทนาส่งข้อมูลซ้ำอีกครั้ง ในการจบการสื่อสาร (termination) ให้พูดคำว่า ”แค่นี้นะ” และอีกฝ่ายตอบว่า “ตกลง” เป็นการตอบรับ
ที่มาภาพ : https://4.bp.blogspot.com/_JeBmce75g7g/RuQpadGMTWI/AAAAAAAAABE/3n2Dq19gMrw/s320/imagesCARA8JWF.jpg
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกันคือ
1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจอง ที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4. ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
ประเด็นปัญหา
1. ความขัดแย้งในปัจจุบันเป็นผลมาจากสาเหตุใด ?
2. เข้าใจคำว่าสมานฉันท์อย่างไร ?
3. วิธีการสมานฉันท์ควรเป็นอย่างไร ?
4. การสื่อสารข้อมูลหมายถึง ?
5. องค์ประกอบการสื่อสารมีอะไรบ้าง ?
กิจกรรมเสนอแนะ _ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก
1. www.stou.ac.th/thai/office/oce/knowlage3-4/page20-3-44.htm
2. www.skn.ac.th/a.cd/content/lan.html
3. https://regelearning.payap.ac.th/docu/ba208/h4/datalink.htm
(องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสาร)
4. https://www.dcs.cmru.ac.th/lesson1_2.php
( ระบบการสื่อสาร)
5. https://school.obec.go.th/mrPaisan/e-learning/information/content/commu1.htm
(เรื่องความสำคัญของการสื่อสาร )
การบูรณาการ
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการสื่อสาร (ผศ. ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์ )
https://e-learning.tru.ac.th/learn/Supit/lesson1/content11.html
แหล่งที่มาของข้อมูล
ผศ.สมใจ บุญศิริ และ ผศ.ดร.ภัทรสินี ภัทรโกศล. ความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดี. 2543. 23
ธีราวุธ ปัทมวิบูลย์ และคณะ. คู่มือเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : 2545. 103.
ผศ.ธงชัย สิทธิกรณ์. ระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์. 2547. 179
ธีราวุธ ปัทมวิบูลย์ และคณะ. คู่มือเรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรุงเทพฯ : บริษัทโปรวิชั่น จำกัด. 2545. 109.
แหล่งที่มาของภาพประกอบ
https://www.nationmultimedia.com/admin/specials/nationphoto/photo/onKFBQB.jpg
https://203.172.219.14/e-book-information/ICT-4/7/7.5_files/pg7_4_files/part.jpg
https://pirun.ku.ac.th/~b5013313/pic/d1.jpg
https://pirun.ku.ac.th/~b5013422/pics/atom8_06.jpg
https://4.bp.blogspot.com/_JeBmce75g7g/RuQpadGMTWI/AAAAAAAAABE/3n2Dq19gMrw/s320/imagesCARA8JWF.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=296