สถานการณ์เลวร้าย สุขภาพกายต้องปลอดโรค กันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าแย่จะแก้ไม่ทัน ป้องกันไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ด้วยผ้าปิดปาก...
ปิดปาก+จมูกไว้...ไม่รับโรค
ภาพจาก : กระปุกดอทคอม
ข่าวที่นำเสนอไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกมีประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก และประเทศไทยเเปลี่ยนชื่อเป็น "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ 2009H1N1" เรียกสั้น ๆ ว่า "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009" (ที่มา : กระปุกดอดคอม) เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ มีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนโดยทั่วไป คือแพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอหรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมู ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก หากป่วยและมีอาการดังกล่าว ควรสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด (ที่มา : โรงพยาบาลวชิรภูเก็ต)
อันตรายจากโรคร้าย คร่าชีวิตประชาชนมากมายเมื่อโรคร้ายติดต่อกันได้ทางลมหายใจ ควรมีวิธีป้องกันโรคร้ายเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และยืดอายุอีกวิธีหนึ่ง จะมัวช้าอยู่ไย มาเรียนรู้และประดิษฐ์ผ้าปิดปากไว้ไช้ดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราและคนที่เรารักจะได้ช่วยสังคมให้ปลอดภัยอีกวิธีหนึ่ง
ภาพจาก : prakaipitak.multiply.com
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์)ช่วงชั้นที่ 2
ความหมายของผ้าปิดปาก
mask (มาซค) หมายถึง กำบัง, เครื่องกำบัง, เครื่องปกคลุม, ปิดบัง, หน้ากาก
gag (แก็ก) เครื่องถ่างปาก; ปิดปาก, วิธีปิดปาก, สวมบังเหียนปาก; กลอนสด, ถ้อยคำที่ตัวละครกล่าวโดยไม่มีบท, พูดโดยไม่มีบท, พูดตลก (ที่มา : สนุกดอคคอม)
ปิดปากและจมูกทำไม?
การป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อเป็นเรื่องสำคัญ วิธีการแพร่กระจายเชื้อและวิถีทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่มีโอกาสติดขึ้น และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ใช้หลักการปลอดเชื้อ (Aseptic technique) ในการให้พยาบาลผู้ป่วย มีหลักการในการใช้เครื่องมือป้องกันร่างกายที่ถูกต้อง รวมทั้งปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้มาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อกับผู้ป่วยทุกรายเรียกว่า Standard Precautions และ Transmission - Based Precautions สอดคล้องกับคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและการป้องกันโรค (CDC) ที่ใช้เป็นหลักสากลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและควบคุมการแพร่กระจายเชื้ออย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในการให้การพยาบาลลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสกับฝอยละออง ( droplet contact ) และการแพร่กระจายทางอากาศ ( airborne route)ผ้าปิดปากและจมูกมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการกรองและการกระชับใบหน้าใช้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการแพร่กระจายทางอากาศการสัมผัสกับละอองเสมหะ (ที่มา : มหิดล)
หลักสำคัญในการใช้ผ้าปิดปากและจมูก
1.ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ผ้าปิดปากและจมูก
2.ควรสวมให้กระชับกับใบหน้า ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป
3.ไม่ควรใช้มือสัมผัสผ้าปิดปากและจมูกขณะที่สวมใส่
4.ไม่ควรแขวนผ้าปิดปากและจมูกไว้ที่คอ เพราะจะสัมผัสกับเชื้อโรคได้
ขั้นตอนการใส่ผ้าปิดปากและจมูก
1.ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
2.วางผ้าปิดปากและจมูกให้เหมาะสม
3.จับเชือกเส้นบนคล้องผ่านบนใบหูทั้ง 2 ข้าง ผูกเชือกเป็นเงื่อนกระตุกไว้ที่ด้านหลังของศีรษะให้พอดี ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
4.จับเชือกเส้นล่าง ผูกให้กระชับกับใบหน้าให้แน่ใจว่าคลุมทั้งปากและจมูก
5. เมื่อจะถอดผ้าปิดปากและจมูกก็จะต้องล้างมือและเช็ดให้แห้ง
(ที่มา : มหิดล)
มาทำผ้าปิดปากกันเถอะ
เมื่อมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อชีวิตของเราเอง ต่อคนรอบข้าง ต่อสังคมไทยแล้ว เรามาประดิษฐ์ผ้าปิดปากสวยๆ ป้องกันภัยร้ายกันดีกว่าค่ะ
วัสดุอุปกรณ์
1. ผ้าสีและลวดลายตามชอบ
2.เชือก
3.เข็ม
4.ด้าย
วิธีการทำ
1. ตัดขนาดของผ้าตามที่ต้องการ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 4x6 นิ้ว เลือกลวดลายได้ตามที่ชอบ
2. เย็บขอบโดยพับจีบ ตามด้านกว้างทั้งสองด้าน
3.เย็บผ้าปิดปากโดยให้มีช่องสำหรับสอดเชือกใส่ได้
4.นำเชือกใส่โดยวัดขนาดให้เหมาะกับตนเอง
5.เมื่อเสร็จสามารถนำไปปิดปากและจมูกได้
คำถามน่าสนใจ
1. มีวิธีป้องกันการติดต่อของเชื้อโรคได้อย่างไร
2. หากปิดปากแต่ไม่ปิดจมูกจะมีผลต่อการติดเชื้อหรือไม่
3. สิ่งสำคัญในการป้องกันตนเองเบื้องต้นควรทำอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนออกแบบผ้าปิดปากด้วยตนเอง
2. ให้นักเรียนนำเสนอและแสดงผลงาน
3.บูรณาการการเรียนรู้สู่กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
2.การดูแลตนเอง บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
แหล่งอ้างอิง
https://play.kapook.com/
https://student.mahidol.ac.th/
https://www.vachiraphuket.go.th/
https://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=318