คมความคิด เกาะติดสถานการณ์
มุสลิมไทย
โพสต์
หน้าแรก
ข่าวเด่น
ข่าวโลกมุสลิม
ข่าวเจาะประเด็นโลก
ข่าวโลกอาหรับ
ข่าวกรรมการกลางฯ
ข่าวมุสลิมไทย
คอลัมนิสต์
ผู้หญิง
ปัตตานีดารุสลาม
ประเด็นร้อน
รูปภาพ
คลิป
เวลาละหมาด
คลังความรู้
อิสลามศึกษา
คลังความรู้
คลังสุขภาพ
ร้านอาหาร
แหล่งท่องเที่ยว
แฟชั่นมุสลิม
กูรูมุสลิมไทย
อัลกุรอาน
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อสำนักข่าว
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลัก
อาชีพและเทคโนโลยี
ใครอ้างอิงข้อมูลจากวิกีพีเดียเข้าอ่านซักนิด
672
ผู้ชม
นายเชน ฟิตซ์เจอรัล วัย 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ด้านสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย" คอลเลจ ดับลิน" เขาได้เจตนาเข้าไปป้อนข้อมูลผิดๆในเว๊ปไซต์เอนไซโครปิเดียออนไลน์ "วิกิพีเดีย" ซึ่งมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับได้นำไปอ้างอิง
หนังสือพิมพ์"เดอะ ไอริช ไทมส์" รายงานเมื่อวันตามเวลาท้องถิ่น โดยอ้างการเปิดเผยของนายเชน ฟิตซ์เจอรัล วัย 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ด้านสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย" คอลเลจ ดับลิน" ที่ว่า เขาได้เจตนาเข้าไปป้อนข้อมูลผิดๆในเว๊ปไซต์เอนไซโครปิเดียออนไลน์ "วิกิพีเดีย" โดยเป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง ระหว่างที่เขากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับ"โลกาภิวัฒน์" และรู้สึกช็อคกับผลการทดลอง เพราะพบว่าถ้อยคำอ้างอิงที่เขาแต่งขึ้นเอง แต่ระบุว่าเป็นคำพูดของนายมอริส จาร์ นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส เจ้าของรางวัลออสการ์ ผู้เสียชีวิตเมื่อเดือนมีนาคม ได้ถูกนำไปใช้อ้างอิงในข่าวมรณะกรรมของนายจาร์ ตามหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ในอังกฤษ อินเดีย และออสเตรเลีย
นายฟิตซ์เจอรัลกล่าวว่า เขาได้เลือกโพสต์ข้อความที่เขาแต่งขึ้นเองในเว๊ปไซต์"วิกิพีเดีย" เพราะเห็นว่าเป็นเว๊ปไซต์ที่ได้รับความนิยมจากผู้สื่อข่าว และเป็นเว๊ปไซต์ที่ใครๆก็สามารถเข้าไปแก้ไขหรือโพสต์ข้อความเพิ่มเติมได้ โดยเขาได้เข้าไปโพสต์ในช่วงไม่นานหลังจากนายจาร์เสียชีวิตอ้างว่านายจาร์เคยพูดไว้ว่า " อาจพูดได้ว่าชีวิตของผมเหมือนกับแผ่นซาวแทร็คขนาดยาวแผ่นหนึ่ง ดนตรีคือชีวิตของผม ดนตรีทำให้ผมมีชีวิต เพราะดนตรีจะช่วยให้ผมเป็นที่จดจำไปอีกนานหลังจากเสียชีวิต เมื่อผมเสียชีวิต ในหัวผมจะมีเพลงวอลซ์ที่มีเพียงผมคนเดียวที่ได้ยิน บรรเลงเป็นครั้งสุดท้าย"
นายฟิจซ์เจอรัลยอมรับว่าได้ใช้คงวามระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะตะหนักดีเรื่องจริยธรรมที่จะใช้การเสียชีวิตของคนอื่นในการทดลองทางสังคมของตนเอง โดยเขาได้เลือกแต่งคำพูดของจาร์อย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้บิดเบือนหรือสร้างความเสื่อมเสียให้นายจาร์ เขาคาดว่าคงมีแต่บล๊อคกับเซ๊ปไซต์ต่างๆนำไปอ้างอิง แต่ต้องแปลกใจที่มันถูกใช้โดยหนังสือพิมพ์คุณภาพกระแสหลัก และหลายสัปดาห์หลังจากนั้น ก็ยังไม่มึใครรู้ความจริง ทำให้เขาส่งอีเมล์ถึงหนังสือพิมพ์ที่นำไปใช้ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้ตีพิมพ์ข้อความที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง พร้อมลบข้อความที่ใส่ไว้ออกจาก"วิกิพีเดีย"
"เดอะ ไอริช ไทมส์" รายงานว่า แม้หนังสือพิมพ์บางฉบับจะถอนคำอ้างอิงผิดๆออกจากเว๊ปไซต์ หรือแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ก็ยังมีบล็อก เว๊ปไซต์และหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับที่ยังไม่ได้แก้ไข [
ข่าวด่วน Breaking new 7 พค. 2552 07:07 น.
]
จากข่าวข้างต้นอ่านแล้วก็ตกใจเหมือนกัน เพราะผู้เขียนชอบใช้บริการของวิกิพีเดียทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จึงยิ่งทำให้มองเห็นว่าการนำเสนอข่าวและความรู้ในทุกวันนี้ต้องใช้วิจารณญาญในการนำข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมาใช้ คงต้องยึด
หลักพระพุทธศาสนาแล้วว่า จงอย่าเชื่อ ใน 10 อย่างต่อไปนี้ 1.อย่าเชื่อ 1.อย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา 2.อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา 3.อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินอย่างนี้ๆ 4.อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา 5.อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา
6.อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน 7.อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ 8. อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันลัทธิของตน 9.อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ 10.อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา [พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 338 ๕.กาลามสูตร (เกสปุตตสูตร) อ้างอิง https://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=12148
)
อารัมภบทมาตั้งนานกลับมาสู่เนื้อหากันก่อนน่ะ (นอกเรื่องทีไรนักเรียนให้ความสนใจมากกว่าเนื้อหาที่ครูจะสอนอีก จริงไหมา!)
2. ประเด็นจากข่าว
2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
2.2 ประเภทของข้อมูล
2.3 วิธีการประมวลผลข้อมูล
2.4 การจัดการสารสนเทศ
3. เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
4. เนื้อเรื่อง
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล
คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นข้อความ ตัวเลข หรือภาพก็ได้ ข้อมูลควรจะเป็นสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นความจริง
สารสนเทศ
คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
สารสนเทศที่ดีจะต้องได้จากข้อมูลที่ดี คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี มีดังนี้
1. ความถูกต้อง
หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิง
หรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้าง ข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ ส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตี ความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้
3. ความสมบูรณ์
ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำ
สารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
4. ความชัดเจนและกะทัดรัด
การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิว
เตอร์
5. ความสอดคล้อง
ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์
การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ
เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก เช่น การสอบถามอายุของเพื่อน ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ
เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้อง ไปสำรวจเอง เช่น ข้อมูลสถิติต่าง ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิตจำนวนประชากร สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้นำไปใช้งาน ได้ต่อไป
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ที่เรียกว่า "สารสนเทศ "
วิธีการประมวลผล จำแนกได้ 3 วิธี
1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เช่น ใช้ลูกคิด , เครื่องคิดเลข การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร (Mechanical Data Processing) เช่น เครื่องทำบัญชีด้วยบัตรเจาะรู การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง ที่มีข้อมูปริมาณปานกลาง และต้องการความเร็วในการทำงานปานกลาง
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) ซึ่งหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ งานที่มีปริมาณมากๆ ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำๆ กัน และมีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล หรือขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล (Input) : การลงรหัส , การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล , การแยกประเภทข้อมูล , การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นการประมวลผล (Processing) : การคำนวณ , การเรียงลำดับข้อมูล , การดึงข้อมูลมาใช้ , การรวมข้อมูล
3. ขั้นการแสดงผลลัพธ์ (Output) : ผลสรุปรายงาน
วิธีการประมวลผล
วิธีการประมวลผล แบ่งตามระยะเวลาออกได้เป็น 2 วิธี
1. การประมวลผลแบบแบทซ์ หรือแบบกลุ่ม (Batch Processing)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงจะประมวลผลได้ เช่น การคิดเกรด ต้องเก็บรวบรวมคะแนนตั้งแต่ต้นเทอม จนถึงปลายเทอม แล้วจึงทำการรวบรวมประมวลผลได้เป็นเกรดตอนปลายเทอม
2. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online Processing)
เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด ไม่ต้องรอระยะเวลา เช่น การถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม ไม่ต้องรอนาน เครื่องจะทำการจ่ายเงินออกมาทันที [อ้างอิงจาก https://www.ds.ru.ac.th/Test1/Aj_palida/E-learning/Unit2/computer_ITunit2.htm]
ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ
เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก เช่น การสอบถามอายุของเพื่อน ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ
เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้อง ไปสำรวจเอง เช่น ข้อมูลสถิติต่าง ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิตจำนวนประชากร สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้นำไปใช้งาน ได้ต่อไป
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ที่เรียกว่า "สารสนเทศ "
วิธีการประมวลผล จำแนกได้ 3 วิธี
1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เช่น ใช้ลูกคิด , เครื่องคิดเลข การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร (Mechanical Data Processing) เช่น เครื่องทำบัญชีด้วยบัตรเจาะรู การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง ที่มีข้อมูปริมาณปานกลาง และต้องการความเร็วในการทำงานปานกลาง
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) ซึ่งหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ งานที่มีปริมาณมากๆ ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำๆ กัน และมีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล หรือขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล (Input) : การลงรหัส , การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล , การแยกประเภทข้อมูล , การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นการประมวลผล (Processing) : การคำนวณ , การเรียงลำดับข้อมูล , การดึงข้อมูลมาใช้ , การรวมข้อมูล
3. ขั้นการแสดงผลลัพธ์ (Output) : ผลสรุปรายงาน (อ้างอิง https://www.ds.ru.ac.th/Test1/Aj_palida/E-learning/Unit2/computer_ITunit2.htm]
สารสนเทศสามารถแบ่งแยกประเภทออกตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้นได้ ดังนี้
1. สารสนเทศที่ทำประจำ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน
2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย เช่น การทำบัญชีงบดุลของบริษัทที่ต้องยื่นต่อทางราชการ และเพื่อใช้ในการเสียภาษี
3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เช่น รายงานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ
1. บุคลากร
2. ขั้นตอนการปฏิบัติ
3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
4. ซอฟต์แวร์
5. ข้อมูล
5. ตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
5.1 เราจะทราบได้อย่างไรว่าข้อมูลที่นักเรียนสืบค้นจากอินเทอร์เน็ตสามารถนำไปใช้ได้เลย
5.2 นักเรียนมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการเลือกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
6. กิจกรรมเสนอแนะ
6.1 นักเรียนศึกษาข้อมูลตัวอย่างและรายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือแบบเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับช่วงชั้น 4-6
6.2 ดาวน์โหลดสื่อการเรียนการสอนมาศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์
7. การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
7.1 สาระการเรียนรุ้ภาษาไทย เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
7.2 สาระการเรียนรู้่วิทยาศาสตร์ การนำข้อมูลมาใช้อย่างมีเหตุและผล
8. อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
8.1 KT//breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=378994&lang=&cat=
8.2 https://www.ds.ru.ac.th/Test1/Aj_palida/E-learning/Unit2/computer_ITunit2.htm
ที่มา :
https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=360
มาแรงรอบสัปดาห์
อัพเดทล่าสุด
3 อาหารที่ไม่ควรอุ่นซ้ำ อาหารที่คุณทานประจำ อาจซ่อนอันตรายที่คุณคาดไม่ถึง!
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาอุ่นอาหารซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำไมถึงรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ 3 อาหารยอดนิยมที่ไม่ควรนำมาอุ่นซ้ำ
10 อันดับ สายพันธุ์แมวน่าเลี้ยงที่สุด รับรองทาสแมวหลงรักหัวปักหัวปำ
สายพันธุ์แมวที่น่าเลี้ยงมาให้ถึง 10 สายพันธุ์ รับรองว่าเข้ากับมนุษย์ได้ชัวร์ พร้อมทั้งบอกระดับนิสัย ไม่ว่าจะเป็นความซน ความขี้อ้อน การร้องเสียงดัง และความเลี้ยงง่าย
10 อันดับ ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ แพงที่สุดในประเทศไทย ปี 2024
โรงเรียนนานาชาติเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากล โดยใช้หลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
พีระมิดเบ็นเบ็น พีระมิดหินดำ ที่ทำนักวิทย์งงงวยมานาน
พีระมิดเบ็นเบ็น ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวยมานานหลายปี
เคล็ดลับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ความรู้ : เคล็ดลับบางส่วนสําหรับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้น
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้นแบบง่ายๆ
7 วิธีดื่มน้ำช่วยให้ผอมได้จริง
รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ สามารถช่วยสาว ๆ ลดน้ำหนักได้! แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธีนะ
เรื่องของแป้ง แป้งทำขนม แป้งทำอาหาร
แป้งที่ใช้ทำอาหารและแป้งทำขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์
10 สิ่ง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
10 ส่ิง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
วิธีเพิ่มเครื่องคิดเลขบน iPad แบบไม่ติดโฆษณา โหลดแล้วใช้ได้เลยฟรี!
แอปเครื่องคิดเลขบน iPad เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยมากที่สุด เพราะเวลาที่เราต้องการใช้เครื่องคิดเลข
พักโรงแรมไม่ควรมองข้าม “หลอนใต้เตียง” แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
ใต้เตียงโรงแรมที่ไม่ควรมองข้าม แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่ วิชาภาษาไทย
ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ฟรีบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
รวบรวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 สามารถดาวน์โหลดได้
รวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 โดยในแบบฝึกหัดนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ภาษาไทยต่อยอดจากเรื่องที่เรียนมา
ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder Theorem)
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ทฤษฎีบทเศษเหลือ ม.3 คณิตศาสตร์
อย่ากังวลไปเลย สำหรับคนที่ไม่มีคู่ เพราะคู่ของคุณ ก็ยังไม่มีใครเหมือนกัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์