ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ


909 ผู้ชม


นักเรียนชั้น ป.6 กระโดดอาคารเรียนจากชั้น 6 เสียชีวิต เหตุเพราะพ่อห้ามไม่ให้เล่นเกม โรงเรียนยินดีรับผิดชอบ ผู้ปกครองและครูควรเรียนรู้วิธีดูแล   

ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
             เมื่อวันที่  21  พ.ค. 2552 เวลา  07.30 น. มีนักเรียนกระโดดลงมาจากอาคารเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ  เป็นนักเรียนชั้น ป.6  อายุ  12  ปี  ท่ามกลางสาตตาและเสียงหวีดร้องของเพื่อน ๆ  คณะครูรีบนำส่งโรงพยาบาลก่อนที่จะทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในเวลาต่อมา  จากการสอบถามเพื่อนในชั้นทราบว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เสียชีวิตได้ทะเลาะกับบิดา เพราะบิดาห้ามไม่ให้เล่นเกม  และได้เดินทางมาโรงเรียนตามปกติ เมื่อมาถึงโรงเรียนได้นำกระเป๋าหนังสือเข้าไปเก็บในห้องเรียน หลังจากนั้นได้เดินออกมาจากห้องเรียนด้วยสีหน้าเคร่งเครียด ก่อนที่จะปีนระเบียงแล้วกระโดดลงมาจากชั้น 6 ของอาคารเรียนดังกล่าว  ดิ่งลงมากระแทกพื้นด้านหน้าอาคารอย่างแรง ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของเพื่อนนักเรียนที่กำลังวิ่งเล่นกันอยู่ที่หน้าอาคาร   ก่อนเกิดเหตุได้ส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือลาเพื่อน ๆ
               ทางด้านโรงเรียนได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า  เป็นเด็กเรียบร้อย   ผลการเรียนในระดับปานกลาง แต่ชอบเล่มเกม        
               
 พ่อของผู้ตายยอมรับว่า การที่ตนได้ดุลูกเรื่องเล่นเกมก็มีบ้างลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจเพราะเป็นธรรมดาของพ่อแม่ที่ต้องดุลูกเล่นเกมบ้าง และไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาที่ลูกคิดสั้น เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีวี่แววว่าจะคิดสั้น ก่อนหน้านี้ยังพาลูกไปเที่ยวกันมา ทั้งนี้ตนไม่คิดว่าลูกจะมีปัญหาที่โรงเรียนหรือเปล่า ลูกอาจจะไม่ได้กระโดดลงมาเองแต่พลัดตกลงมาก็ได้ เพราะตอนเกิดเหตุไม่มีใครเห็นเหตุการณ์   
            ผอ.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม(ศูนย์คุณธรรม) กล่าวว่า  “อาจอาจเกิดจากพ่อ แม่ ไม่เข้าใจจิตวิทยาของเด็ก เพราะเด็กที่กำลังโตเป็นวัยรุ่นจะมองว่าการที่พ่อแม่เตือนไม่อยากให้เล่นเกมกลายเป็นการด่าทอ  ถูกบีบคั้น จนเกิดความน้อยใจ ซึ่งผู้ปกครองจะต้องมีวิธีการพูดคุยกับเด็ก เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าถูกดุด่า ทั้งนี้ศูนย์คุณธรรม กำลังดำเนินโครงการครอบครัวอบอุ่น เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองให้รู้จักการใช้จิตวิทยาเด็ก รวมทั้งสร้างกิจกรรมให้เด็กได้อยู่ร่วมกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข”
 
ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ

           นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต จิตแพทย์ ชี้ว่า  “ขณะนี้พ่อแม่ของเด็กนักเรียนคนนี้น่าเห็นใจที่สุด เพราะไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้เรื่องจบลงแบบนี้ ซึ่งเวลานี้สื่อควรระมัดระวังการเสนอข่าวที่อาจจะกระทบกระเทือนจิตใจของพ่อแม่เด็ก ส่วนการเล่นเกมมาตั้งแต่เด็กจะทำให้ติดได้ง่าย พ่อแม่ควรเรียนรู้ถึงวิธีดูแลลูกที่ชอบเล่นเกมอย่างถูกต้อง 
            สิ่งที่สังคมควรเรียนรู้จากกรณีนี้ คือ  การที่เด็กให้ความสำคัญกับการเล่นเกมมากแสดงว่าเด็กอาจจะติดเกมตั้งแต่อายุยังน้อยจึงทำให้เกิดความรู้สึกรุนแรงมาก หรือไม่เด็กอาจจะมีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพกับพ่อแม่ที่ไม่ดีระดับหนึ่ง อย่างเรื้อรังมาก่อน จนเกิดความรู้สึกซึมเศร้าสะสมจนเกิดความรู้สึกว่าไม่อยากอยู่ในโลกนี้ สำหรับสังคมไทยแล้วที่น่าเป็นห่วงมากขณะนี้คือพ่อแม่อนุญาตให้ลูกเล่นเกม ตั้งแต่เล็กๆ มากขึ้น และไม่รู้วิธีป้องกันไม่ให้ติดหรือจัดการเมื่อลูกติดเกมแล้วไม่ได้ 
 ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
             พ่อแม่ควรเรียนรู้ถึงวิธีดูแลลูกที่ชอบเล่นเกมอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการฝึกวินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ลูกยังเล็ก การให้ลูกเล่นเกม พ่อแม่ควรให้ลูกเริ่มเล่นให้ช้าและค่อยเป็นค่อยไปให้มากที่สุดต้องมีการเจรจาต่อรองตั้งกติกาการเล่นเกมของลูกร่วมกันให้ชัดเจนว่าเล่นได้วันละ กี่ชั่วโมง เวลาใดถึงเวลาใด ต้องทำหน้าที่ให้เสร็จก่อน ควรใช้การพูดจาสื่อสารทางบวกกับลูกที่ชอบเล่นเกมซึ่งมักจะเริ่ม หรือเข้าสู่ ช่วงวัยรุ่นแล้ว
            เด็กเองควรทราบว่าไม่ควรสนใจเล่นเกมเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้ติดได้ ควรหาความสุขและความสำเร็จจากกิจกรรมที่หลากหลาย และควรเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เช่น การขอเล่นเกมอย่างสุภาพ ขอเล่นแบบพอประมาณพร้อมรักษาคำพูดที่ให้ไว้ การมีพฤติกรรมทั่วๆไปที่ดี เช่น การเรียนหรือการช่วยงานบ้าน เพื่อให้พ่อแม่ไว้วางใจที่จะให้เล่นเกม ตลอดจนการปรึกษาผู้ใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาความคับข้องใจ
 ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
        ด้าน พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผอ.สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “กรณีดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนของทักษะการแก้ปัญหาระหว่างพ่อแม่ และลูกที่ติดเกมที่ล้มเหลว ปัจจุบันพ่อแม่จึงต้องมีทักษะแก้ปัญหาเรื่องเด็กติดสื่อเทคโนโลยี ซึ่งเกมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ปัญหาดังกล่าวทำให้ภายในครอบครัวเกิดความขัดแย้ง พ่อแม่ขาดการสื่อสารกับลูก การเพิกเฉยต่อปัญหา เมื่อลูกติดมากๆ วิธีแก้ของพ่อแม่คือ ให้ลูกหยุดทันที มันจึงกลายเป็นความขัดแย้ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทางแก้คือการปล่อยให้ติดเกม แต่การให้เด็กหยุดเล่นเกมทันทีทันใด เป็นหนทางไปสู่การบีบคั้นและตัดสินใจคิดสั้น
 
          "หมอคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องไม่ให้เล่นเกมแล้วตัดสินใจโดดตึก เพราะในทางจิตวิทยาธรรมชาติของเด็กอายุน้อย เรียนอยู่แค่ชั้นป.6 แล้วคิดทำร้ายตัวเองได้ถึงขนาดนี้ อาจจะมีปัจจัยอื่นที่ไม่เข้าใจระหว่างพ่อแม่ลูกมาก่อน แต่การถูกด่าเรื่องเล่มเกมคอมพิวเตอร์  อลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจาจเป็นฟางเส้นสุดท้าย ให้ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวแบบนี้ ทางออกของปัญหานี้หมอพูดหลายครั้งแล้วว่า ปัจจุบันเด็กติดเกมอายุน้อยลงไประดับประถมศึกษา พ่อแม่ต้องดูพฤติกรรมด้วย เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ พ่อแม่ต้องตั้งกติกาเรื่องการเล่นเกมกับลูกตั้งแต่แรก ให้เล่นได้แต่ต้องมีการจำกัดเช่น เล่นช่วงปิดเทอมวันละกี่ชั่วโมง เสาร์อาทิตย์กี่ชั่วโมง ชวนไปทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ใช่ปล่อยให้เล่นยังไงก็ได้ สุดท้ายปล่อยให้ติดเกมแล้วมานั่งด่าทีเดียว จึงเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้น" 
 
          และเมื่อบ่ายวันที่  22 พ.ค. 2552  ที่กระทรวงวัฒนธรรม ตัวแทนเครือข่ายเด็ก เยาวชน และครอบครัว 12 องค์กร เข้ายื่นหนังสือต่อนายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  เพื่อคัดค้านการแก้ พ.ร.บ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2552  ที่จะพิจารณากำหนดจำนวนชั่วโมงการเล่นเกมของเด็กและเยาวชน ให้มากกว่า  3  ชั่วโมง  ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า  พฤติกรรมของเด็กเล่นเกมนั้นแบ่งออกเป็น 3  ประเภท คือ 
ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ1.เด็กที่ชอบเล่นเกมจะมีชั่วโมงการใช้ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน 
2. เด็กที่คลั่งไคล้ เริ่มหมกมุ่น แต่ยังไม่เสียหน้าที่ จะเล่นเกมวันละ 2-3 ชั่วโมง  
3. กลุ่มติดเกมและทำให้เสียหน้าที่ เช่น ไม่อ่านหนังสือ ไม่เรียน จะเล่นเกมนานเกิน 3 ชั่วโมงต่อวัน 
          ดังนั้นหากปล่อยให้มีการตัดเนื้อหาในพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2552ในประเด็นนี้ เท่ากับว่าสนับสนุนให้เด็กเล่นเกม และอาจจะทำให้ตัวเลขเด็กที่ติดเกมสูงขึ้น  
 
          ทางด้านครูหยุย (นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์) เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก วอนอย่าโยนบาปผู้ปกครองทำเด็ก โดดตึก  แนะจัดเรตติ้งเกมเหมือนต่างประเทศ ทำให้ความรุนแรงลดลง วอนพ่อแม่ต้องใกล้ชิดลูก ฝึกให้มีจิตสงสัยในการดูแล ไม่ใช่การกักขัง เชื่อแก้ปัญหาเด็กติดเกมได้...โดยได้กล่าวว่า “ไม่อยากให้โยนบาปว่าเด็กถูกผู้ปกครองดุจนไปกระโดดตึกตาย ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจเพราะเท่านี้ผู้ปกครองก็เจ็บช้ำมากแล้ว การที่เด็กตัดสินใจโดดตึกถือเป็นฟางเส้นสุดท้ายแล้ว น่าจะเกิดจากการสะสมปัญหามาหลายอย่าง ทั้งจากเพื่อน โรงเรียนและครอบครัว เก็บสะสมไว้ การถูกดุว่าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของทั้งหมด แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายที่เป็นแรงผลักดันให้เด็กทำต้องสะสมมาหลายเรื่อง ยกเว้นเด็กไปเล่นหรือเลียนแบบแล้วเกิดพลาดพลั้งไป 
          พฤติกรรมเด็กที่จะคิดฆ่าตัวตายสามารถจับสังเกตสิ่งที่เป็นสัญญาณบอกเหตุ ได้ 3 ลักษณะ คือ คำพูดเช่นว่าอยากตายไม่อยากมีชีวิตอยู่ พฤติกรรมที่ผิดไปจากเดิม เช่น ซึมเศร้าจนน่าตกใจเพราะคิดคับแค้นถึงแต่เรื่องตัวเองจนสุดท้ายระเบิดออกมา และคนที่เคยมีประวัติทำสิ่งที่ไม่ยั้งคิด เช่น การเอาหมาโยนเข้ากองไฟ ทำสิ่งที่ผิดจากมนุษย์ทั่วไปทำกัน จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ทำอะไรแบบใช้อารมณ์ชั่ววูบได้ง่าย ซึ่งคนใกล้ชิดเท่านั้นที่จะรู้และจับสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ได้ดี”
  
          “การฆ่าตัวตายทุกกรณีจะมีสัญญาณบอกเหตุ รายนี้เด็กก็ส่งเอสเอ็มเอสบอกเพื่อนนักเรียน อย่าคิดว่าเป็นเรื่องตลกล้อเล่นต้องระวังหากเด็กพูดหรือส่งสัญญาณแบบนี้ ซึ่งต้องยอมรับว่าเด็กผ่านลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจกลไกการสั่งสมปัญหาจากสื่อ การเล่นเกม ผลวิจัยที่ผ่านมาชี้ชัดเจนว่าการเรียนรู้ความรุนแรงจากสื่อ มีผลให้เกิดความรุนแรง 2 กรณี คือ ความรุนแรงต่อตนเองจะทำสิ่งที่ตัวเองสะใจ เช่น ใช้มีดกรีดตัวเองว่าตัวเองเลวไม่มีใครรักจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย และความรุนแรงต่อผู้อื่นจะพบมากที่สุด เพราะสื่อและเกมที่เด็กซึมซับจนซึมลึกจะเป็นการใช้ความรุนแรงเพื่อเอาชนะ และเป็นธรรมชาติความรุนแรงที่จะรอจังหวะการใช้ความรุนแรง หากดูแต่เรื่องยิงเด็กจะสนใจการยิง หรือดูเรื่องอาวุธมีดเด็กจะสนใจความรุนแรงจากมีด ผมอยากเรียกร้องให้ช่วยกันทำให้ผู้ปกครองเชื่อว่าการอยู่กับเกม ความรุนแรงทำให้เด็กใช้ความรุนแรงมาก เพื่อหาแนวร่วมในการจัดเรตติ้งเกมเหมือนต่างประเทศหรือทำให้ความรุนแรงลดลง วิธีที่ดีที่สุด คือ พ่อแม่ต้องใกล้ชิดลูก ฝึกให้มีจิตสงสัยในการดูแลลูก ไม่ใช่การกักขังก็จะรู้และแก้ปัญหาเด็กได้”กรรมการคุ้มครองเด็กฯ กล่าว”
 
          ผอ.โรงเรียนที่ผู้เสียชีวิตกำลังศึกษาอยู่กล่าวว่า “บริเวณชั้น 6  เป็นชั้นที่เกิดเหตุดังกล่าว ทางโรงเรียนจะไม่ให้นักเรียนขึ้นไปเด็ดขาด  แต่จะให้ขึ้นไปเวลาไปเรียนเท่านั้น ละที่เกิดเหตุครั้งนี้มันเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะเด็กแอบขึ้นไปเอง เด็กนักเรียนส่วนใหญ่จะทราบระเบียบดี  ซึ่งทางโรงเรียนยินดีรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น”
         

           นับวันปัญหาเรื่องเด็กติดเกมยิ่งทวีความรุนแรง และมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสภาพร้านเกมบางแห่งเป็นคล้ายกับแหล่งมั่วสุม ซึ่งจากคำบอกเล่าของวัยรุ่นที่ติดเกมงอมแงม หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ร้านเกมเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง หรือไม่ก็ยกให้เป็นที่ทำงาน ที่ต้องขยันเข้ามาทำงานทุกวันลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
          ขณะที่ฝ่ายบ้านเมืองมีการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยออกมาควบคุมเข้มงวดขึ้น โดยได้ห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ในวันจันทร์-ศุกร์(ยกเว้นวันหยุดราชการ) ไปเข้าใช้บริการในช่วงเวลาก่อน 14.00 น. ห้ามใช้บริการหลังเวลา 22.00 น. ของทุกวัน, ห้ามเล่นเกมคอมพิวเตอร์เกินกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน, ห้ามสูบบุหรี่ สารเสพติดทุกชนิด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่ให้บริการ, ห้ามให้เล่นการพนัน ทว่าข้อห้ามต่างๆ เหล่านี้แทบไม่มีความหมาย เนื่องจากร้านเกมบางร้านตั้งใจฝ่าฝืนกฎระเบียบ  
          นักศึกษาของมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง ผู้ซึ่งคลั่งไคล้เกมออนไลน์ และคลุกคลีอยู่ในแวดวงเกมมานาน เปิดเผยถึงสภาพปัญหาของร้านเกมทุกวันนี้ ว่า  “ร้านเกมปัจจุบันบางร้านแทบไมต่างจากแหล่งมั่วสุมขนาดย่อมของวัยรุ่น ข้อกฎหมายที่ถูกนำมาบังคับใช้ ร้านเกมไม่สามารถปฏิบัติได้จริง อย่างเช่น  ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าใช้บริการก่อนลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจช่วงเวลา 14.00 น. ของวันจันทร์ถึงศุกร์ แต่ที่ตนเห็นแทบจะทุกร้าน มักจะมีเด็กนักเรียนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เข้ามาเล่นเกม และยิ่งไปกว่านั้นการห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ใช้บริการหลังเวลา 22.00 น. ของทุกวัน ก็มีการฝ่าฝืน โดยเจ้าของร้านจะปิดหน้าร้านอย่างมิดชิด แต่ภายในร้านเกมก็ยังคับคั่งไปด้วยเด็กติดเกม”
          เจ้าของร้านจะทำทีเป็นปิดหน้าร้าน เพื่อพรางตำรวจ แล้วปล่อยให้เด็กเล่นเกมอยู่ข้างในร้านอย่างปกติต่อไป เด็กที่เล่นเกมภายในร้าน บางคนหนีเรียนมาเล่นตั้งแต่เช้า บางคนมาตอนสาย ดังนั้นที่ห้ามไม่ให้เล่นเกิน 3 ชม. เอาเข้าจริงถ้าเด็กยังไม่เลิก ก็ไม่มีการห้ามอย่างเอาจริงเอาจัง เด็กบางคนถึงกับใส่ชุดนักเรียนเล่น แต่บางร้านก็จะบอกให้เด็กเปลี่ยนชุดก่อน แล้วค่อยเข้ามาเล่นเกม”
          “ความสัมพันธ์ภายในร้านของเด็กติดเกมในปัจจุบัน  ส่วนมากจะรู้จักกันง่าย เพราะการเล่นเกมบางเกมจะมีการท้าแข่งกันในรูปแบบของทีม ภายในร้านเกมจึงแทบจะรู้จักกันหมด และเจ้าของร้านก็มักจะให้บริการกับลูกค้าอย่างดี ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น จึงมองร้านเกมเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง และถ้าเด็กติดเล่นเกมร้านไหน เด็กก็จะไปเล่นแต่ร้านนั้น ตรงนี้จึงทำให้การแหกกฎเป็นไปตามความต้องการของทั้งคนเล่นและเจ้าของร้าน”
           ส่วนสาเหตุหลักๆ ของการติดเกม นั้นเขาเล่าว่า  “ในโลกของไซเบอร์มันแตกต่างจากโลกของความจริง คือใครอยากเป็นอะไร มีหน้าตาแบบไหน ร่ำรวยเท่าไหร่ เก่งกาจแค่ไหน ฯลฯ ก็สามารถทำได้ ซึ่งมันต่างจากโลกแห่งความจริง เนื่องจากความจริงเราไม่สามารถทำแบบนั้นได้ แค่จะไปเรียนหนังสือให้รอดในแต่ละวันยังทำไม่ได้เลย แล้วใครจะมายอมรับเรา “ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
          “การติดเกมไม่ต้องมีสาเหตุในการเริ่มต้นมาก ทีแรกแค่เล่นเกม เล่นแล้วเพลิน เล่นแล้วสนุก หลังจากนั้นเมื่อเล่นแพ้ ก็จะคิดว่าทำไมเราทำไม่ได้ .......ต้องพยายามหนักขึ้นไปอีก  เรียกว่านั่งเล่นเกมเกือบ 24 ชม. แบบไม่กินไม่นอน ทีนี้ก็จะเริ่มเสพติด ยิ่งเมื่อการพยายามเป็นผลทำให้เราเล่นเก่งขึ้น เกิดการยอมรับ มันจะทำให้เกิดความภูมิใจ คือโลกไซเบอร์มันก็เป็นอีกสังคมหนึ่ง เราสามารถเป็นดาราเป็นคนเก่งมีความสามารถ ไปไหนมาไหนใน sever ได้อย่างภาคภูมิใจ.. มีแต่คนรู้จัก…มีแต่คนชื่นชม….. แต่ในชีวิตจริง........มันทำไม่ได้
          นักศึกษาที่ติดเกมอีกรายหนึ่ง กล่าวว่า  “เปรียบร้านเกมเป็นเหมือนออฟฟิตที่ต้องเข้ามาทำงานทุกวัน  สาเหตุของการติดเกมโดยส่วนใหญ่ หลักๆ ก็คือต้องการทำให้คนที่เรารู้จัก  ยอมรับว่าเราเก่ง เรามีความสามารถ  จึงทำให้ต้องขยันเล่น ขยันฝึก เด็กติดเกมส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยไปเรียน     เรียกว่าถ้ามีโอกาสหนีเรียนได้ ก็จะหนีเลย และในการเล่นเกมจะมีการแข่งขัน บางครั้งแข่งกันเป็นทีม โดยจะตั้งทีมขึ้นมาแล้วไปท้าแข่งกับทีมอื่นๆ
ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ          “การแข่งเกมออนไลน์แบบเป็นทีม นี่แหละตัวสำคัญ เด็กบางคนเครียดยิ่งกว่าการสอบปลายภาคเสียอีก ทั้งๆ ที่สามารถท้าแข่งได้ตลอด และก่อนแข่งอาจมีการติดปลายเมาส์   คือมีเดิมพันเกิดขึ้น ซึ่งเวลาแข่งบางคนถึงกับใช้อารมณ์ร้องด่าแบบเยาะเย้ย สะใจเวลาทำลายทีมคู่แข่งได้ ที่ผมเคยเห็นบางคนถึงกับลุกขึ้นต่อยตีกันก็มี ผมยังเคยคิดว่าจะเดินไปตบหัวเด็กข้างๆ เลย เพราะเขาเป็นรุ่นน้อง ”
          “เด็กติดเกมส่วนใหญ่จะสูบบุหรี่จัด เพราะการเล่นเกมมันทำให้เครียด บางร้านเจ้าของไม่เข้มงวด แบบว่าเอาใจลูกค้าเต็มที่ ก็สามารถสูบบุหรี่ข้างในได้เลย แต่ถ้าบางร้านเขาห้ามก็จะออกมาสูบกันที่หน้าร้าน 
           เจ้าของร้านเกมแห่งหนึ่ง เล่าว่า “ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นเด็กนักเรียน นักศึกษาทั้งนั้น และตนจะมีความสนิทสนมกับลูกค้าเป็นอย่างดี บางทีก็ยอมรับว่า ปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้ามาเล่น ขอเพียงแค่เปลี่ยนชุดนักเรียนก็พอ เนื่องจากตำรวจไม่ค่อยจะกวดขันเท่าใด หรือการเปิดร้านหลัง 4 ทุ่ม ตนก็เพียงปิดประตูหน้าร้านให้มิดชิด ส่วนภายในร้านก็ยังปล่อยให้เล่นตามปกติ”
           “บางทีเราก็อยากจะปฏิบัติตามกฎที่ออกมา แต่เด็กก็ยังไม่อยากเลิกเล่น ถ้าปิดไปเขาก็ไปเล่นร้านอื่นต่อเหมือนเดิม ก็เลยเอาเป็นว่าปล่อยเลยตามเลย ”  ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
          ผู้ปกครองของเด็กติดเกมอีกรายหนึ่ง   เล่าให้ฟังถึงลูกชายที่ติดเกมหนักถึงขั้นหนีเรียนไปอยู่ร้านเกมว่า   “อาจารย์เคยรายงานความประพฤติมาว่า  ลูกเราไม่เข้าเรียน กำลังจะหมดสิทธิ์สอบ…..ฟังแล้วก็ตกใจและเสียใจมาก ทั้งที่เขาแต่งตัวไปโรงเรียนทุกวัน พอสืบไปเรื่อยๆ จึงรู้ว่าเขามักจะหนีเรียนมานั่งเล่นเกม”
          “ช่วงแรก ๆ จะลงโทษยังไง ลูกก็ไม่ดีขึ้น ถึงขนาดขังไว้ในห้องก็แล้ว ไม่ให้เงินใช้ก็แล้ว เขาก็ยังปีนหนีออกจากบ้าน มิหนำซ้ำยังแอบขโมยนาฬิกาของแม่ไปขาย เพื่อเอาเงินไปเล่นเกม วันนั้นโกรธมาก แต่พอเขากลับมา ผมกลับมีความคิดชั่วขณะขึ้นมาว่า ดีแล้วที่ลูกยังกลับมา และยังมีชีวิตรอด ตอนนั้นร้องไห้เลย ลูกเห็นคงตกใจมาก เข้ามาถามว่าพ่อเป็นอะไร เลยคุยกับลูกทั้งน้ำตาของความเป็นพ่อ พูดดีๆ ด้วยเหตุผล ต่อรองกันไปมาได้ข้อสรุปว่า จะให้เล่นเกมส์เฉพาะที่บ้านได้แต่ต้องเป็นเวลา……… หลังจากนั้น รู้สึกว่าเขาจะทำตัวดีขึ้น และที่สำคัญคือไปเรียนจริงๆ ทุกวัน”
 ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ         อาจารย์ศันสนีย์ สุดประเสริฐ นักวิชการศึกษาพิเศษ 8 สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนคริทร์ ได้บอกถึงแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องนี้ว่า “ส่วนที่สำคัญคือ   ครอบครัว โดยพ่อแม่ต้องเข้าใจลูก ห้ามโมโห อันดับแรกต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้กับบรรยากาศในครอบครัวก่อน เนื่องจากหากเราดุด่า ทำโทษลูกมาก ลูกจะกลัวเรา บางคนจะรู้สึกเบื่อหน้าพ่อแม่ไปเลย ที่สำคัญต้องคิดตลอดว่า เวลาเข้าบ้านต้องจัดการกับอารมณ์ตนเองให้ได้ก่อน แล้วค่อยจัดการกับลูก”
              “อย่างเช่น พ่อแม่บางคนเจอหน้าลูกก็จะด่าจนเป็นปกติวิสัย ลองเปลี่ยนใหม่เวลาลูกทำผิด อย่าเพิ่งด่า ให้พูดดีด้วย เมื่อพ่อแม่เปลี่ยนตัวเองได้แล้วลูกก็จะตกใจ ทำให้อย่างน้อยเขาก็จะหยุดคิด หลังจากนั้นจึงคุยกัน และอย่าเพิ่งให้ลูกหยุดเล่นเกม แต่ให้เล่นได้โดยมีข้อตกลงร่วมกัน”  
พฤติกรรมของผู้ที่ติดเกม
          1.ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายๆ ชั่วโมง หรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน 
          2. หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่น จะต่อต้านหรือมีปฏิกิริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้นก้าวร้าว 
          3. การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทำการบ้าน หนีเรียน หรือแอบหนีออกจากบ้าน เพื่อจะไปเล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคมหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว 
          4.บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย(เพื่อนำเงินไปเล่นเกม) ดื้อ ต่อต้าน แยกตัว เก็บตัว ฯลฯ
ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ          มันเป็นค่านิยม แบบลัทธิเอาอย่าง.... เด็กเล่นเกม ติดเกมเพื่อที่จะอ้างกับเพื่อนๆได้ว่า เป็นคนทันสมัย  เมื่อเล่นชนะบ่อย ๆ เขาก็จะเบื่อ  เด็กๆจึงต้องสรรหาเกมใหม่ๆ มาเล่นกันตลอด ทำให้เกิดความหมกมุ่น จนกลายเป็น "ติดเกม"
ผู้ปกครองต้องดูแลการเล่นเกมของเด็กๆ โดยให้เด็กเล่นเกมเป็นเวลา  เมื่อเด็กติดเกมแล้ว ส่วนมากจะไม่ค่อยคำนึงถึงเวลา เล่นกันไปเรื่อยๆจนลืมเรื่องกิน ลืมทำการบ้าน   บางเกมดูแล้วมันโหดมากๆ ไม่สมควรที่จะให้เด็กเล่น อย่างเกมการต่อสู้   ไล่ฆ่ากัน ไล่ยิงกัน ไล่ฟันกันจนเลือดกระฉูด...........เมื่อผู้ปกครองเห็นต้องอธิบายกับเด็กๆ ให้เข้าใจถึงผลเสียในการเล่นเกมประเภทนี้
          เด็กๆในประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปก็มีอาการ"ติดเกม"เหมือนๆ กันหมด   หากผู้ปกครองก็ปล่อยให้เด็กๆเล่นกันจนเลยเถิด  และถ้าหากคิดกันอยู่แต่เพียงว่า ให้เด็กๆเล่นกันอยู่ที่บ้านดีกว่าที่จะปล่อยให้ไปเกเรนอกบ้าน นั้น   เด็กๆที่ชอบเล่นเกมคนเดียวนานๆ จะเริ่มชอบความสันโดษ ไม่ค่อยอยากจะสุงสิงกับใคร......... ผู้ปกครองต้องหากิจกรรมอย่างอื่นให้เด็กทำเสียบ้าง เช่นให้ไปเล่นดนตรี กีฬา หรือ กิจกรรมอื่นๆที่มีส่วนร่วมกันแบบครอบครัวจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้.........
          และหากปัญหายังไม่ดีขึ้น  สามารถโทรเข้ามาปรึกษาได้ที่ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนคริทร์ โทรศัพท์ 02-3548300 เพื่อรับคำปรึกษา
          การดูทีวี  ก็มีอันตรายเช่นกัน   คุณหมอปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า "จากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐ พบว่าเด็กที่ดูทีวีวันละ 1 ชั่วโมง จะมีผลต่อการแสดงออกด้านความก้าวร้าวเมื่อโตขึ้นได้ 6% หากดูวันละ 2 ชั่วโมง จะมีความก้าวร้าวเพิ่ม เป็น 11% หากดูวันละ 3 ชั่วโมงจะเพิ่มเป็น 21% ซึ่งความก้าวร้าวที่ติดอยู่ในใจและแสดงออกมาภายหลังคือภาวะของอีคิวที่ไม่ดี ของเด็ก"
         เกม 10  อย่างที่ทางสหรัฐ ได้มีการประกาศเตือนผู้ปกครองให้หลีกเลี่ยงการซื้อหาให้กับลูกเล่น  ระบุว่าเกมอันตราย  ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพจิตใจในทางที่ไม่ดีของเด็กและทำให้ผู้เล่นมีจิตใจที่ดุดัน  เกมที่ว่า  มีดังต่อไปนี
1.แกรนด์ เทฟต์ ออโต้ (GTA-Grand Theft Auto) ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
2.แมนฮันต์ (Manhunt) ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
3.สการ์เฟซ (Scarface) ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
4.ห้าสิบเซ็นต์ : บุลเลตพรูฟ (50 Cent : Bulletproofลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
5.สามร้อย : เดอะวิดีโอ เกม (300 : The Video Game) ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ


6. เดอะ ก็อดฟาเธอร์ (The Godfather)ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ  
7.คิลเลอร์ 7 (Killer 7) ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
8.เรสซิเดนต์ อีวิล 4 (Resident Evil 4)ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
9.ก็อด ออฟ วอร์ (God of War) ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ
10.ฮิตแมน : บลัด มันนี่ (Hitman : Blood Money) ลสดใจ..นร.ป.6 กระโดดตึกดับอนาจ

ที่มาของข่าว
            จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์  และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  ฉบับวันที่  22  พฤษภาคม  2552
             https://www.dailynews.co.th    
          https://www.thairath.co.th
          https://www.thairath.co.th
          https://www.thairath.co.th
          https://campus.sanook.com
          https://www.bloggang.com

       

เนื้อหาสาระ   
         
เหมาะหลักสูตรช่วงชั้นที่ 2 , 3 และ 4   และช่วยเสริมความรู้คุณครูทุกช่วงชั้น

ข้อเสนอแนะสำหรับครูผู้สอน
          1. แบ่งกลุ่มนักเรียนให้ช่วยกันคิดว่าในชุมชนเรามีร้านเกมหรือไม่?  นักเรียนชอบเกมใดมากที่สุด? เกมใดที่นักเรียนคิดว่ามีประโยชน์กับเรามากที่สุด  เกมใดมีประโยชน์กับเราน้อยที่สุด   เกมใดน่าจะมีโทษกับเรา เพื่อนคนไหนชอบเล่นเกมมากที่สุด 
          2. คุณครูต้องเฝ้าสังเกตนักเรียนคนใดมีพฤติกรรมที่ติดเกม และพยายามหาทางช่วยเหลือและแจ้งผู้ปกครอง
          3. ให้นักเรียนพิจาณาตัวเองว่าตัวเรากำลังติดเกมหรือไม่ โดยอาจทำแบบสำรวจในเว็บไซท์

แหล่งที่มาของรูปภาพ
https://www.pattayadailynews.com

https://www.itaholic.com/

https://www.internetcafethai.com

https://www.thaionlinemarket.com

https://www.thaiselling.com

https://www.pattayadailynews.com

https://www.thaionlinemarket.com

https://www.thaionlinemarket.com
https://www.pattayadailynews.com
https://news.mcot.net

เว็บไซท์ที่เกี่ยวข้อง
1. เล่นเกมอย่างเพียงพอ ไม่ติดเกม
2. หัวอกแม่มีลูกติดเกม  
3. ลองทดสอบดูซิว่าเรา “ติดเกม” แค่ไหน
ความรู้เพิ่มเติม
https://women.sanook.com
https://learners.in.th
https://www.elib-online.com

 รวบรวมโดย............................ศน.แดง

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=462

อัพเดทล่าสุด