คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อเนกประสงค์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจมีปริมาณมากหรือมีความซับซ้อนสูง เพื่อช่วยให้งานเหล่านั้นสำเร็จอย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้
ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP
1. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
1.1 คอมพิวเตอร์คืออะไร
คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อเนกประสงค์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานใน
ด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจมีปริมาณมากหรือมีความซับซ้อนสูง เพื่อช่วยให้งานเหล่านั้นสำเร็จอย่าง
รวดเร็วและเชื่อถือได้
1.2 การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน
คอมพิวเตอร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายด้าน เช่นงานด้านเอกสารต่างๆ การ
ออกแบบ การคำนวณทางสถิติ การจัดเก็บข้อมูล งานด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสาร เป็นต้น
1.3 ชนิดของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันการแบ่งชนิดของคอมพิวเตอร์สามารถทำได้หลายวิธี โดยจะอาศัยองค์ประกอบ
ที่แตกต่างกันไปเช่น ลักษณะการประมวลผล ขนาดและความเร็วของหน่วยประมวลผล เป็นต้น
ซึ่งถ้าใช้ความเร็วของการประมวลผล และขนาดความจำของหน่วยบันทึกข้อมูลเป็นเกณฑ์จะ
สามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ได้ 4 ชนิดดังต่อไปนี้
1.3.1 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็กพอจะวางบนโต๊ะทำงานได้
และมีสมรรถนะในการทำงานที่จำเป็นต่าง ๆ ด้วยตนเองดังแสดงตัวอย่างใน รูปที่ 1.1
รูปที่ 1.1 ไมโครคอมพิวเตอร์
1.3.2 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) มินิคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงและมักใช้ในระบบ
คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Centralized computing system) โดยสามารถนำไปเชื่อมต่อกับเครื่อง
ปลายทางได้หลายเครื่อง มินิคอมพิวเตอร์จะมีหน่วยประมวลผลกลางที่ประกอบด้วยชิป
ประมวลผลมากกว่าหนึ่งตัว นิยมใช้ในองค์กรขนาดกลาง และบริษัทที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น
ประมวลผลงานบัญชีเป็นต้น ดังแสดงตัวอย่างในรูปที่ 1.2
รูปที่ 1.2 มินิคอมพิวเตอร์
1.3.3 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์ สามารถ
เชื่อมโยงกับเครื่องปลายทางได้เป็นจำนวนมาก และสามารถตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ได้
พร้อม ๆ กัน นิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร ธุรกิจการบิน บริษัท และมหาวิทยาลัย
ต่าง ๆ เป็นต้น ดังแสดงตัวอย่างในรูปที่ 1.3
รูปที่ 1.3 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
1.3.4 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการประมวลผล
ที่สูงประมาณ 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที และมีขนาดหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก ต้องการห้องที่
สามารถปรับอุณหภูมิได้ และได้รับการออกแบบมาเพื่อการคำนวณที่ซับซ้อน นิยมใช้งานในด้าน
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เช่น การวิเคราะห์แบบจำลงที่ซับซ้อน อุตุนิยมวิทยา การวิเคราะห์
ภาพถ่ายดาวเทียม และการวิเคราะห์ด้านโมเลกุลของสสารต่าง ๆ เป็นต้น ดังแสดงตัวอย่างใน
รูปที่ 1.4
รูปที่ 1.4 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
1.4 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ส่วนการทำงานที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์ 4 ส่วนคือส่วน
ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล และคำสั่ง หรือเรียกว่าหน่วยรับข้อมูลเข้า ส่วนที่ทำหน้าที่นำข้อมูลที่นำเข้า หรือ
คำสั่งไปประมวลผล หรือเรียกกว่าหน่วยประมวลผลกลาง ส่วนที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการ
ประมวลผลกลางไปแสดง หรือเรียกกว่าหน่วยแสดงผล และส่วนที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อที่จะ
นำมาใช้ในภายภาคหน้าหรือเรียกว่าว่าหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
รูปที่ 1.5 เป็นจำลองลักษณะการทำงานที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์ (องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์)
รูปที่ 1.5 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1.4.1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูลเข้า เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้
คอมพิวเตอร์นำข้อมูล หรือคำสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่
ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่
แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เมาส์ (Mouse)
ไมโครโฟน (Microphone)
แสกนเนอร์ (Scanner)
กล้องดิจิตอล
ตัวอย่างของหน่วยรับข้อมูลเข้าแสดงในรูปที่ 1.6
รูปที่ 1.6 ตัวอย่างของหน่วยรับข้อมูล
1.4.2 หน่วยประมวลผล (Central Process Unit)
หน่วยประมวลผลกลาง เป็นหน่วยที่สำคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มี
หน้าที่ประมวลผลของมูล หรือคำสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้
ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
หน่วยความจำ (Memory Unit)
รีจิสเตอร์ (Register) คือ หน่วยความจำที่อยู่ภายใน CPU ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่
ส่งมาจากหน่วยความจำหลัก และจะนำข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล
รอม (Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจำหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์
ทำหน้าที่เก็บคำสั่งต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บ
ความรู้ต่าง ๆ เอาไว้
แรม (Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจำหลักชนิดหนึ่งของ
คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไข
ข้อมูลในแรมได้ และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับกระดาษทด
หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic and Login Unit: ALU) เป็นหน่วยที่ทำ
หน้าที่คำนวณทางด้านคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือคำนวณทางตรรกะ
ศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบข้อเท็จ เป็นต้น
หน่วยควบคุม (Control Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุก ๆ หน่วยใน
CPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทำงานได้อย่างสัมพันธ์กัน
1.4.3 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่
จอภาพ
เครื่องพิมพ์
ลำโพง
ตัวอย่างของหน่วยแสดงผลดังแสดงในรูปที่ 1.7
รูปที่ 1.7 หน่วยแสดงผล
1.4.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง คือ สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น Hard disk, CD-ROM,
Tape, Floppy disk เป็นต้น
รูปที่ 1.8 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
1.5 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ คือ องค์ประกอบซึ่งมีความจำเป็นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์
ทำงานได้ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนดังต่อไปนี้
1.5.1 Hardware
Hardware หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น เคส (CASE)
เคส (CASE) คือ กล่องห่อหุ้มอุปกรณ์แผงวงจร และชิ้นส่วนภายใน
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่จัดหาพลังงานให้กับ
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ในระบบคอมพิวเตอร์นั้นพาวเวอร์ซัพพลายจะทำการ
แปลงกระแสไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน
มาร์เธอร์บอร์ด (Motherboard) คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่สามารถติดตั้งหน่วย
ประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM) และมีช่องสำหรับ
เสียบการ์ด (Slot) ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับคอมพิวเตอร
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เป็นหน่วยที่สำคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของ
คอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูล หรือคำสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบ
ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องกัน
แรม (RAM) คือ หน่วยความจำหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เก็บ
ข้อมูล หรือคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้
และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล มีลักษณะเป็นจาน
แม่เหล็กหลายแผ่นซ้อนกันบนแกนเดียวกันติดตรึงอยู่ในกล่องโลหะมิดชิด
สามารถบันทึกข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
ซีดีรอม (CD-ROM) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดอ่านอย่างเดียวมีลักษณะ
เหมือนกับ ซีดีเพลงหรือภาพยนตร์ทั่วไป มีขนาดความจุประมาณ 600 MB นิยมใช้
เก็บข้อมูลซอฟต์แวร์สำหรับติดตั้งต่างๆ รูปภาพ ภาพยนตร์ เพลง
จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลให้เห็นลักษณะคล้าย
จอโทรทัศน์ มีทั้งชนิดจอสี และจอขาวดำ มีหลายรูปแบบ และหลายขนาด
เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์สำหรับพิมพ์ข้อมูลต่าง ๆ ลงในวัสดุที่ต้องการ
เครื่องพิมพ์ในปัจจุบันมีหลายชนิดเช่น เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot-matrix)
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser)
1.5.2 Software
Software หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตาม
วัตถุประสงค์ที่ต้องการ สามารถแบ่งชนิดของซอฟต์แวร์ดังแสดงในรูปที่ 1.9
รูปที่ 1.9 การแบ่งชนิดของซอฟต์แวร์
1.5.3 People ware
People ware คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของ People
ware ได้แก่
นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
นักวิเคราะห์ระบบ (System Annalist)
วิศวกรระบบ (System Engineer)
ผู้ใช้งาน (User)
1.5.4 Information
Information คือ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบ (Data) เพื่อจัดให้อยู่ในรูปแบบที่
เหมาะสม และสามารถสื่อถึงความหมายบางอย่างได้
1.6 การใช้งาน แป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP มีลักษณะ
คล้ายแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด และอาจแบ่งแป้นพิมพ์เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. แป้นตัวอักษร เช่น แป้นตัวอักษร A, B, C, ..., Z
2. แป้นฟังก์ชัน (Function Key) แป้นพิมพ์สำหรับทำหน้าที่พิเศษ เช่น F1-F12
3. แป้นตัวเลข (Numeric Key) เช่น 0..9, +, -, *, /
4. แป้นควบคุม เช่น ลูกศรต่าง ๆ, Ctrl, Alt, Shift, Enter, Tab, Caps Lock, Insert,
Delete, Hone, End, Page Up, Page Down เป็นต้น
1.7 การใช้งาน เมาส์ (Mouse)
เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ MS Windows 98
มีลักษณะดังรูป โดยทั่วไปจะมี 2 ปุ่ม และเมื่อเราลากเมาส์ ตัวชี้เมาส์ (Mouse Pointer) ที่ปรากฏอยู่บน
หน้าจอก็จะเคลื่อนที่ตามไปด้วย
การใช้งานเมาส์อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะดังนี้
1. การชี้เมาส์ คือการเคลื่อนที่เมาส์ไปยังตำแหน่งที่เราต้องการ
2. การคลิกเมาส์ คือการกดและปล่อยปุ่มเมาส์ด้านซ้าย 1 ครั้ง
3. การดับเบิ้ลคลิกเมาส์ คือการกดและปล่อยปุ่มเมาส์ด้านซ้าย
2 ครั้ง ติดกัน
4. การลากเมาส์ คือการกดปุ่มเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้และลากเมาส์ถึงตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้น
ให้ปล่อยปุ่มเมาส์
5. การคลิกเมาส์ขวา คือการกดและปล่อยปุ่มเมาส์ด้านขวา 1 ครั้ง
เว็บไซต์สำหรับฝึกการใช้เมาส์https://www.ckls.org/~crippel/computerlab/tutorials/mouse/page1.html
2. การใช้งานระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP
2.1 การเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP
เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP ไว้แล้ว เครื่องจะเข้าสู้
ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP อัตโนมัติ
2.2 การออกจากระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP
เมื่อต้องการออกจากระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP ควรปิดโปรแกรมที่ใช้งานทั้งหมด ให้
เรียบร้อยก่อน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Start
โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. Log Off คือ การออกจากระบบเพื่อเปลี่ยนผู้ใช้ โดยกลับไปรอเข้าระบบใหม่อีกครั้ง
2. Turn Off หรือ Shut Down คือ การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มีให้เลือก ดังนี้
Hibernate คือ การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยระบบจะเก็บสภาพแวดล้อมการทำงานไว้ และเมื่อเปิด
เครื่องคอมพิวเตอร์ครั้งต่อไป ระบบจะทำงานตามสภาพแวดล้อมเดิมก่อนปิดเครื่อง
Turn Off คือ การปิดโปรแกรมทั้งหมดและปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
Restart คือ การปิดโปรแกรมทั้งหมดและเริ่มต้นกระบวนการทำงานของเครื่องใหม่
เมื่อปรากฏคำว่า It’s now safe to turn off your computer. จึงกดปุ่ม Power ปิดเครื่องและปิด
จอคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะทำการปิดตัวเองโดยที่ไม่ต้องกดปุ่ม Power
2.3 ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP
2.3.1 เดสก์ทอป (Desktop)
เดสก์ทอป (Desktop) คือบริเวณพื้นที่หรือฉากของระบบปฏิบัติการ Windows เปรียบเสมือน
ส่วนบนของโต๊ะทำงาน ซึ่งบริเวณนี้เป็นส่วนแสดง Icon หรือ Windows ที่เปิดทำงาน และเป็นส่วนที่
ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง ซึ่งแสดงผลให้สามารถรับรู้ได้ และผู้ใช้สามารถโต้ตอบการทำงานได้ ดังแสดงในรูป
2.3.2 แถบงาน (Taskbar)
Taskbar เป็นแถบแสดง Start Menu และหากมีโปรแกรมเปิดใช้งานอยู่ จะแสดงแถบชื่อ
โปรแกรมให้เห็นที่ Taskbar ดังรูป หากต้องการใช้งานโปรแกรมใด ให้คลิกที่แถบชื่อโปรแกรมนั้น และถ้า
มีการปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ แถบของโปรแกรมนั้นจะหายไปจาก Taskbar
2.3.3 เมนู Start (Start Menu)
ปุ่ม Start เป็นปุ่มสำหรับเรียก เมนูหลักของระบบปฏิบัติการ Windows XP ซึ่งจะประกอบด้วย
เมนู (Menu) สำหรับเปิดเมนูย่อยหรือเรียกใช้โปรแกรมของระบบ Windows XP
เมนูย่อย (Submenu) สำหรับเปิดเมนูย่อยหรือเรียกใช้โปแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้
2.3.4 การใช้งานโปรแกรม
การเรียกใช้งานต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วเลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs จะปรากฏ
โปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องดังภาพข้างล่าง
2.4 หน้าต่าง (Windows)
1. ไตเติลบาร์ (Title bar) แสดงชื่อของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่
2. เมนูบาร์ (Menu Bar) แสดงเมนูของโปรแกรมใช้ในการเลือกคำสั่ง
3. แถบเครื่องมือ (Toolbar) เป็นรูปภาพเล็ก ๆ แทนคำสั่งใช้งานต่าง ๆ
4. แถบตำแหน่ง (Addressbar) แสดงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น
5. มินิไมซ์ (minimize) ปุ่มลดขนาดหน้าต่างหรือปิดหน้าต่าง
6. แมกซิไมซ์ (Maximize) ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ
7. ปุ่มปิดโปแกรม (Close) ใช้ในการปิดโปรแกรม
8. ไอคอน (Icon) คือ รูปสัญลักษณ์ที่ใช้เรียกโปรแกรม
9. แถบเลื่อน (Scroll Bar) ใช้ในการเลื่อนหน้าจอไปซ้าย ขวา ขึ้นลงตามทิศทางลูกศร
10. แถบสถานะ (Status Bar) แสดงสถานะการทำงาน
2.5 การเปิด-ปิด การย่อ-ขยาย และการย้ายหน้าต่าง
2.5.1 การปรับขนาดหน้าต่าง
เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังขอบของหน้าต่าง ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนรูปจาก เป็น หรือรูปอื่น ๆ
ดังต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ชี้เมาส์ คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลาก หน้าต่างจะเปลี่ยนขนาดไป
เมื่อได้ขนาดตามต้องการแล้วให้ ปล่อยเมาส์
2.5.2 ย่อหน้าต่างที่เปิดอยู่ให้เล็กสุด
คลิกที่ปุ่ม บนด้าน ขวา มือของ Titlebar
2.5.3 การขยายหน้าต่างให้ใหญ่ที่สุด
คลิกที่ปุ่ม บนด้าน ขวา มือของ Titlebar ถ้าหน้าต่างมีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่แล้วบนด้าน ขวา
มือของ Titlebar จะแสดงปุ่ม แทนปุ่ม
2.5.4 การคืนรูปหน้าต่าง
คลิกที่ปุ่ม บนด้าน ขวา มือของ Titlebar ถ้าขนาดหน้าต่างไม่ได้มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่แล้วบน
ด้าน ขวา มือของ Titlebar จะแสดงปุ่ม แทนปุ่ม
2.5.5 การย้ายหน้าต่าง
ชี้เมาส์ ไปที่ Titlebar คลิกเมาส์ ค้าง ไว้ แล้ว ลาก เมาส์ไปยังตำแหน่งของหน้าจอที่ต้องการ
เคลื่อนย้าย หลังจากนั้น ปล่อย เมาส์ในตำแหน่งที่ต้องการ
2.5.6 การสลับระหว่างหน้าต่างที่กำลังเรียกใช้
คลิกปุ่มของโปรแกรมบน Taskbar ถ้าไม่สามารถมองเห็น Taskbar ให้ชี้ไปที่พื้นที่ของหน้าจอ
บริเวณตำแหน่งของTaskbar ตัวอย่างเช่น ถ้า Taskbar อยู่ที่ตำแหน่งล่างสุดของหน้าจอ ให้คลิกไปที่
โปรแกรมนั้น หรือจะใช้วิธีลัดโดยกดคีย์บอร์ด Alt+Tab และเลือกโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน
2.6 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
2.6.1 ไฟล์ (File)
ไฟล์คือสิ่งที่ใช้สำหรับอ้างอิงข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บบันทึกลงดิสก์ ปกติการอ้างอิงไฟล์จะทำ
โดยผ่านชื่อไฟล์และตามด้วยจุดนามสกุลของโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้น จำนวนของไฟล์จะขึ้นอยู่กับขนาด
ของไฟล์เองและดิสก์ ซึ่งปกติถ้าดิสก์มีขนาดใหญ่มากจะสามารถเก็บไฟล์จำนวนมากได้ ตัวอย่างของไฟล์
ที่ควรรู้จัก
ชื่อไฟล์ ชนิดของไฟล์
Readme.TXT ไฟล์ตัวอักษร
Calc.EXE ไฟล์โปรแกรม
Doc1.DOC ไฟล์ MS Word
Book1.XLS ไฟล์ MS Excel
2.6.2 การขนาดของไฟล์ (File Size)
การวัดขนาดของไฟล์นิยมใช้หน่วยที่เป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้กับ 1 ตัวอักษร และเพื่อ
ความสะดวกสำหรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก จะเทียบหน่วยของไฟล์ที่เป็นไบต์ให้เป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่
ขึ้นได้ดังตาราง
1 Byte (ไบต์) 1 ตัวอักษร
1KB (กิโลไบต์) 1,024 Byte
1MB (เมกกะไบต์) 1,024 KB
1GB (กิกะไบต์) 1,024 MB
ความจุของแผ่นดิสก์ (Diskette) ขนาด 3.5 นิ้วคือ 1.44 MB หรือประมาณ 1,440 KB
2.6.3 โฟลเดอร์ (Folder)
โฟลเดอร์เปรียบเสมือนแฟ้มเอกสารที่ใช้แบ่งไฟล์ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการ
ค้นหาไฟล์ ภายในโฟลเดอร์สามารถสร้างโฟลเดอร์ย่อยเพื่อแบ่งกลุ่มไฟล์ย่อยๆ ลงไปอีกได้
การตั้งชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์สามารถมีอักขระได้มากที่สุด 255 อักขระรวมถึงช่องว่างด้วย แต่ไม่
สามารถมีอักขระต่อไปนี้คือ / : * ? " < > |
2.6.4 Windows Explorer
Windows Explorer คือโปรแกรมที่ Microsoft Windows XP จัดหามาให้เพื่อใช้สำหรับการ
จัดการในเรื่องของดิสก์ ไฟล์ และโฟลเดอร์ เราสามารถเรียกใช้โปรแกรม Windows Explorer โดยการ
คลิกที่ปุ่ม Start All Program Accessories Windows Explorer
หรือนำเมาส์ไปชี้ที่ปุ่ม Start คลิกเมาส์ขวาจะปรากฏเมนูย่อย
ขึ้นมา แล้วคลิกคำสั่ง “Explore”
ส่วนประกอบของ Windows Explorer
A. Menu Bar ส่วนในการเลือกคำสั่งของโปรแกรม
B. Toolbar ส่วนไอคอนที่เป็นรูปภาพ ทำให้การเรียกงานใช้สะดวกขึ้น
C. ส่วนแสดงโครงสร้าง เป็นส่วนที่แสดงโครงสร้างของโฟลเดอร์ที่จัดไว้ในระบบ
D. ส่วนแสดงรายชื่อไฟล์ เป็นส่วนที่แสดงรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ย่อย (ถ้ามี) ของโฟลเดอร์ที่
เลือกไว้ในส่วนแสดงโครงสร้างขณะนั้น
รูปแบบการอ้างอิงไฟล์และโฟลเดอร์
รูปแบบที่ใช้ในการอ้างอิงไฟล์และโฟลเดอร์เรียกว่า Path ซึ่งประกอบด้วย ไดร์ฟ โฟลเดอร์ และ
ไฟล์ ดังตัวอย่าง A:DocumentTest1.doc
2.6.5 การ Format
การฟอร์แมต คือ การจัดโครงสร้างของดิสก์ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ดังนั้นก่อน
การใช้งานดิสก์ทุกครั้งเราจะต้องฟอร์แมตดิสก์เสียก่อน
ในสมัยก่อนแผ่นดิสก์ที่ซื้อมาจากร้านจะยังไม่ถูกฟอร์แมต ดังนั้นผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ฟอร์แมต แต่
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ในปัจจุบันแผ่นดิสก์ที่ซื้อจากร้านจะถูกฟอร์แมตมาให้เรียบร้อย
แล้ว
เมื่อต้องการฟอร์แมต สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ คลิกเลือกไดร์ฟที่ต้องการฟอร์แมต เช่น
ต้องการ Format แผ่นดิสก์ (Floppy Disk) แล้วเลือกเมนู File เลือก หลังจากนั้นเลือก
คำสั่ง Format
หรือคลิกที่ปุ่มขวาของเมาส์ ณ บริเวณหน้าต่างโฟลเดอร์ที่
เขียนว่า 3.5 Floppy (A:) ดังรูป แล้วเลือกคำสั่ง Format ก็ได้
เช่นเดียวกัน
18
หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าต่างย่อยขึ้นดังรูปข้างล่าง
เลือกตัวเลือกต่างๆ ตามต้องการและคลิกที่ปุ่ม
Start จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างยืนยันการ
Format ให้กดปุ่ม Start
หมายเ หตุ การใช้คำ สั่งนี้ค ว ร ใ ช้อย่า ง
ระมัดระวัง เนื่องจากจะทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ในไดร์ฟถูกลบและไม่สามารถกู้คืนได้ ดังนั้นต้องคลิกเลือก
ไดร์ฟที่ต้องการฟอร์แมตให้ถูกต้อง
2.6.6 การจัดแบ่งพื้นที่ของ 2 ส่วน
1. เลือกตัวชี้ของเมาส์ไปที่เส้นแบ่งเขตและตัวชี้เป็นรูปลูกศร
2. ลากเส้นแบ่งเขตตามต้องการโดยการคลิกเมาส์ค้างและลากเมาส์ไปด้านซ้ายหรือขวา เมื่อได้
ขนาดของแต่ละส่วนตามต้องการแล้วให้ปล่อยเมาส์
เส้นแบ่งเขต
เลือกความจุตามชนิดของแผ่น
ปกติแผ่นที่นิยมใช้คือ 3.5”
ตั้งชื่อแผ่นได้ยาวถึง 11 ตัวอักษร
คลิก ที่ Quick Format
19
ส่วนแสดงโครงสร้าง
โฟลเดอร์ใดที่มี + หรือ - นำหน้าแสดงว่ามีโฟลเดอร์ย่อยอีก โดยที่
+ ยังไม่ได้แสดงโฟลเดอร์ย่อยในขณะนั้น
- แสดงโฟลเดอร์ย่อยอยู่
หากไม่มีเครื่องหมายใดๆ นำหน้าโฟลเดอร์แสดงว่าโฟลเดอร์นั้นไม่มีโฟลเดอร์ย่อย
ส่วนแสดงรายชื่อไฟล์
เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านขวาของส่วนแสดงโครงสร้าง เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของไฟล์และ
โฟลเดอร์ย่อย โดยสามารถเรียกดูข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้ หรือสามารถจัดเรียงไอคอนได้ โดยคลิกที่
เมนู View ดังรูป
การเรียกดูข้อมูลรูปแบบต่างๆ
• Thumbnails เป็นการกำหนดมุมมองของภาพให้มีตัวอย่างภาพเล็กๆ อยู่
• Tiles กำหนดมุมมองของภาพแสดงรายละเอียดไอคอนไฟล์ขนาดใหญ่
ไม่มีโฟลเดอร์ย่อย
มีโฟลเดอร์ย่อยแต่ยังไม่แสดงออกมา
มีโฟลเดอร์ย่อยและแสดงให้เห็นอยู่
การดูข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
การจัดเรียงไอคอน
• Icons กำหนดมุมมองของภาพแสดงเป็นไอคอนไฟล์ขนาดเล็ก
• List กำหนดมุมมองของภาพให้มีลักษณะเป็นแถบรายการ
• Details กำหนดมุมมองของภาพให้แสดงรายละเอียดของไฟล์และโฟลเดอร์
การจัดเรียงไฟล์และโฟลเดอร์สามารถจัดเรียงตาม
• ชื่อ (Name)
• ขนาด (Size)
• ชนิด (Type)
• วันที่มีการแก้ไข (Modified)
วิธีนี้การจัดเรียงไฟล์และโฟลเดอร์นอกจากจะใช้เมนู View แล้วผู้ใช้สามารถจัดเรียงโดยกดปุ่ม Tab
Name Size Type
ตัวอย่างหน้าจอของการจัดเรียง
ไฟล์และโฟลเดอร์ตามชื่อ
(Name) จะเห็นได้ว่ามีการ
จัดเรียงจากอักษร
A-Z ตามลำดับ
2.6.7 การดูรายละเอียดของดิสก์
• คลิกเมาส์ 1 ครั้งเพื่อเลือกไดร์ฟที่ต้องการ
• คลิกเมาส์ขวาจะปรากฏเมนูย่อย
• เลือกคำสั่ง Properties ในเมนูที่เกิดขึ้น
• หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าต่างแสดงรายละเอียดของดิสก์ขึ้น
2.6.8 การสร้างโฟลเดอร์
เมื่อต้องการสร้างโฟลเดอร์ภายในดิสก์ สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
คลิกที่ตัวอักษรแทน Drive ที่ต้องการสร้างดิสก์ (ในกรณีที่ต้องการสร้างโฟลเดอร์ย่อยใน
โฟลเดอร์อื่นๆ ให้คลิกที่ชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการสร้างโฟลเดอร์ย่อยภายใน)
คลิกที่เมนู File และเลื่อนเมาส์มาบริเวณคำสั่ง New จะปรากฏเมนูย่อยขึ้นทางด้านขวาให้คลิกที่
คำสั่ง Folder ดังรูป
ความจุของดิสก์
พื้นที่ที่ถูกใช้ไป
พื้นที่ว่างในดิสก์
ตั้งชื่อแผ่นดิสก์
จะปรากฏโฟลเดอร์ชื่อ New Folder ที่หน้าต่าง View ให้พิมพ์ชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการ และกดปุ่ม
Enter ดังรูป
บริเวณที่ต้องพิมพ์ชื่อโฟลเดอร์
2.6.9 การเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์
หลังจากที่ได้ตั้งชื่อโฟลเดอร์เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเปลี่ยนชื่อของโฟลเดอร์ในภายหลังได้ตาม
ขั้นตอนต่อไปนี้
คลิกที่ชื่อของโฟลเดอร์ที่ต้องการเปลี่ยน 1 ครั้ง สังเกตว่าจะปรากฏแถบสีน้ำเงินขึ้น
คลิกที่ชื่อของโฟลเดอร์ซ้ำอีก 1 ครั้ง
พิมพ์ชื่อที่ต้องการเปลี่ยน
กดปุ่ม Enter
2.6.10 การคัดลอกและการย้ายแฟ้มหรือโฟลเดอร์
1. ใน Windows Explorer ให้คลิกแฟ้มหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการคัดลอก
2. บนเมนู Edit ให้คลิก Copy สำหรับการคัดลอกหรือคลิก Cut สำหรับการย้าย
3. เปิดโฟลเดอร์หรือดิสก์ที่ต้องการวางแฟ้มหรือโฟลเดอร์ที่คัดลอกไว้
4. บนเมนู Edit ให้คลิก Paste
2.6.11 การส่งแฟ้มหรือโฟลเดอร์ไปที่ดิสก์
ถ้าต้องการคัดลอกแฟ้มหรือโฟลเดอร์ไปที่แผ่นดิสก์ (Floppy Disk) ให้ใส่ดิสก์ในดิสก์ไดรฟ์
ที่ My Computer หรือ Windows Explorer ให้คลิกแฟ้มหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการคัดลอก
บนเมนู File ให้ชี้ไปที่ Send To แล้วคลิกไดรฟ์ที่ต้องการคัดลอกแฟ้มหรือโฟลเดอร์ไปเก็บไว้
เมื่อต้องการเลือกโฟลเดอร์ในบานหน้าต่างซ้ายของ Windows Explorer ให้คลิกโฟลเดอร์นั้น
การส่งแฟ้มหรือโฟลเดอร์ไปที่ดิสก์เป็นการคัดลอกแฟ้มหรือโฟลเดอร์นั้น แฟ้มหรือโฟลเดอร์
ต้นฉบับยังคงอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิม
2.6.12 การลบแฟ้มหรือโฟลเดอร์
ใน My Computer หรือ Windows Explorer ให้คลิกแฟ้มหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการลบ
บนเมนู File ให้คลิก Delete
หากลบไฟล์ในไดร์ฟของวินโดวส์ วินโดวส์
จะให้เรายืนยันการลบหากเราเลือก
วินโดวส์จะนำไฟล์นั้นไปเก็บไว้ในส่วนของ
Recycle Bin เพื่อให้เรียกกลับคืนมาได้
หากลบไฟล์ในไดร์ฟอื่น วินโดวส์จะให้
เรายืนยันการลบ หากเราเลือก
ไฟล์นั้นจะถูกลบโดยไม่สามารถเรียก
คืนได้
2.6.13 การทำงานกับไฟล์แบบกลุ่ม
1. การเลือกไฟล์หลายๆ ไฟล์ที่ไม่อยู่ติดกัน สามารถทำได้โดยกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ และ คลิกที่ชื่อ
ไฟล์ที่ต้องการเลือกทีละไฟล์จนหมด
2. การเลือกไฟล์หลายๆ ไฟล์ที่อยู่ติดกัน ทำได้โดยคลิกที่ชื่อไฟล์แรกที่ต้องการเลือก หลังจาก
นั้นกดปุ่ม Shift ค้างไว้และคลิกที่ชื่อไฟล์สุดท้ายของกลุ่มไฟล์ที่จะเลือก
2.6.14 การ Copy Disk
ในบางครั้ง เราอาจต้องการ Copy ไฟล์ทั้งหมดในแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งไปยังอีกแผ่นหนึ่งโดย
ต้องการให้มีโครงสร้างทั้งหมดเหมือนกัน ในกรณีนั้น เราสามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง Copy Disk โดย
สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
คลิกขวาที่ Drive ที่ต้องการ Copy Disk ดังรูป
จะปรากฏเมนูลักษณะดังรูปต่อไปนี้
เลือก Drive ที่ต้องการ Copy และคลิกที่ปุ่ม Start
หลังจากนั้นโปรแกรมจะมี Dialog Box เพื่อให้ใส่ Source Disk ซึ่งหมายถึงแผ่นต้นฉบับ
หลังจากที่โปรแกรมอ่านต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมี Dialog Box อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ใส่แผ่น
Destination Disk โดยดึงแผ่นเดิมออก และใส่แผ่นดิสก์แผ่นใหม่ลงไป และกดปุ่ม OK โปรแกรมจะ Copy
ไฟล์ โฟลเดอร์ ทั้งหมดลงแผ่นใหม่
2.6.15 การค้นคืนไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ลบไป
• ดับเบิลคลิกที่ ไอคอน Recycle Bin
• จากหน้าต่าง Recycle Bin คลิกเลือกแฟ้มที่ต้องการให้
กลับคืนมา
บนเมนู File ให้คลิก Restore หรือ คลิกขวาที่ชื่อไฟล์จะปรากฏเมนูย่อยให้เลือกคำสั่ง Restore
2.6.16 การค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์
• คลิก Start ชี้ไปที่ Search แล้วคลิก For Files or Folders
• ใน All or part of the name ให้พิมพ์ชื่อแฟ้มทั้งหมดหรือบางส่วน
• ถ้าต้องการให้ค้นหาภายใน Folder ให้ระบุใน Look in:
• จากนั้นคลิกที่ Search
2.6.17 การยกเลิกคำสั่ง (Undo)
ในการใช้คำสั่งใดคำสั่งหนึ่งไปแล้ว หากเกิดเปลี่ยนใจ ผู้ใช้สามารถขอยกเลิกคำสั่งครั้งล่าสุดได้
เสมอ โดยคลิกที่เมนู Edit และเลือกคำสั่ง Undo เครื่องจะทำการยกเลิกคำสั่งครั้งล่าสุดที่ได้กระทำไป
เช่น ยกเลิกการ Delete ตัวอย่างดังรูป
2.7 การปรับเวลานาฬิกาบนเครื่องคอมพิวเตอร์
การปรับเปลี่ยนเวลาสามารถทำได้โดยการคลิกที่ Start จากนั้นคลิกเลือกที่ Control Panel เมื่อ
ปรากฏหน้าต่างของ Control Panel แล้ว ให้คลิกเลือกที่ Date time, Language, and Regional Option
จากนั้นให้เลือกที่ Date and Time จะปรากฏหน้าต่างเพื่อปรับเปลี่ยนเวลาดังรูป
การปรับเปลี่ยนชั่วโมง นาที หรือวินาที ทำได้ดังนี้
• นำเมาส์ไปป้ายตำแหน่งของตัวเลขที่ต้องการเปลี่ยนให้ขึ้นแถบสี
• พิมพ์ค่าตัวเลขที่ต้องการเปลี่ยน
2.8 การใช้โปรแกรม Task Manager
ในกรณีที่เราต้องการปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ซึ่งไม่สามารถปิดโดยใช้วิธีปกติได้ เราสามารถที่จะ
กด ปุ่ม Ctrl+Alt+Delete พร้อมกัน เพื่อเรียกโปรแกรม Task Manager เมื่อปรากฏ Windows Task
Manager ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกเมาส์ที่ Tab Application
2. คลิกเมาส์ที่ชื่อโปรแกรมที่ต้องการปิด
3. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม End Task
2.9 การตรวจสอบและกำจัดไวรัส
การเรียกโปรแกรม Trend OfficeScan Corporate Edition ขึ้นมาใช้งาน ทำได้โดย Click เมาส์
ขวาที่ไอคอน หรือ บน Taskbar หรือ เลือก Start Programs Trend OfficeScan
WinNT
การ Scan Virus
การใช้คำสั่ง Scan
1. check ลงในกล่องสี่เหลี่ยม หน้า
drive ที่ต้องการ scan virus
2. จากนั้น กด
ปุ่ม Scan Now
หน้าจอขณะที่โปรแกรมกำลัง scan
เมื่อโปรแกรม scan เสร็จสิ้นแล้วจะ popup dialog box รายงานผลการ scan
การกำจัด Virus
ในหน้าจอ Scan result จะรายงานผลการ scan พร้อมทั้งแสดงรายชื่อ virus ที่มีอยู่ในเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถกำจัดได้โดย เลือกที่รายชื่อไฟล์ที่ติด virus ที่แสดงอยู่ แล้วเลือกที่ clean
โปรแกรมก็จะกำจัด virus
แสดงชื่อไฟล์ที่มีการติด virus ปุ่ม Clean
แบบฝึกหัดที่ 1
1. จงสร้าง Folder ให้มีลักษณะดังต่อไปนี้
แบบฝึกหัดที่ 2
1. จง Copy ไฟล์ที่มีขนาดมากกว่า 10 KB มาใส่ใน 1-1 Folder เป็นจำนวน 5 ไฟล์ ดังรูป
แบบฝึกหัดที่ 3
1. จงย้ายไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน Folder 1-1 Folder ไปไว้ใน 1-2 Folder
แบบฝึกหัดที่ 4
1. จง Copy ไฟล์อะไรก็ได้ที่ชื่อไฟล์ขึ้นต้นด้วยตัว ”B” มาใส่ใน 2-Folder เป็นจำนวน 2 ไฟล์
แบบฝึกหัดที่ 5
1. จงย้ายไฟล์ใดก็ได้ จำนวน 1 ไฟล์ไปที่ 3-Folder
แบบฝึกหัดที่6
1. จงเข้าไปใน Folder My Documents และลบไฟล์ 1 ไฟล์ภายในนั้น หลังจากนั้นให้ไปที่ Recycled
Bin และ Restore ไฟล์นั้นกลับ
2. ลองลบไฟล์อะไรก็ได้ที่ Drive A: และดูที่ Recycled Bin ว่าเป็นอย่างไร
ที่มา ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=536