มอก.หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สิ่งใกล้ตัวที่ผู้บริโภคไม่ใส่ใจในความสำคัญ
การบูรณาการหลักการมาตรฐานกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
มาตรฐานเป็นสิ่งที่มนุษย์เราใช้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มาตรฐานเป็นสิ่งที่แฝงมาในสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ ในรูปของความต้องการ ที่จะจัดสิ่งที่สับสนวุ่นวายให้เป็นระเบียบ และทำสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนให้เป็นสิ่งที่ง่าย แต่มาตรฐานในรูปแบบที่เป็นระบบค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่ และเพิ่งจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในยุคของการปฏิว้ติอุตสาหกรรม ในศตวรรษที่ 18 นี้เอง
การบูรณาการ การมาตรฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างมีขั้นตอน โดยเน้นนำหลักการของการมาตรฐาน มาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ควบคู่กับการเน้นทักษะกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน เพื่อปลูกฝังทักษะของการทำงานอย่างมีหลักการของการมาตรฐาน
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ : กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับ : ทุกช่วงชั้น
เนื้อเรื่อง
ความหมายของมาตรฐาน : องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ได้ให้คำนิยามของมาตรฐานไว้ดังนี้
การมาตรฐาน : คือ กรรมวิธีในการกำหนดและใช้กฏต่างๆ เพื่อการพิจารณากิจกรรมเฉพาะอย่างมีระเบียบ เพื่อประโยชน์และด้วยความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านเศรษฐกิจส่วนรวม สภาพในทางปฏิบัติและความต้องการในด้านความปลอดภัย
มาตรฐาน : คือผลที่ได้จากการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งทางการมาตรฐาน ที่ได้รับความเห็นชอบจากองค์การ ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกัน
หลักการของการมาตรฐาน
หลักการที่ 1 การลดแบบและขนาด
หลักการที่ 2 การเห็นพ้องต้องกัน
หลักการที่ 3 การนำมาตรฐานไปใช้ประโยชน์
หลักการที่ 4 มาตรฐานต้องทันสมัยอยู่เสมอ
หลักการที่ 5 มาตรฐานต้องมีข้อกำหนดที่จำเป็น
หลักการที่ 6 มาตรฐานควรมีการนำไปใช้โดยเสรี
การวิเคราะห์หลักการมาตรฐานเพื่อบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
หลักการที่ 1 การลดแบบและขนาด : การวางแผน การออกแบบ ผลิต ประดิษฐ์ชิ้นงานโดยใช้หลักประหบัด ขจัดความฟุ่มเฟือยของแบบและขนาดที่ไม่จำเป็น
หลักการที่ 2 การเห็นพ้องต้องกัน : เน้นการทำงานโดยใช้การทำงานเป็นกลุ่ม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมมือกันทำงาน โดยการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีการลงข้อสรุปที่เห็นตรงกัน
หลักการที่ 3 การนำมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ : การนำข้อสรุปหลักการมาตรฐานไปประดิษฐ์เป็นชิ้นงาน
หลักการที่ 4 มาตรฐานต้องทันสมัยอยู่เสมอ : มีการทดสอบประเมินผลชิ้นงาน เพื่อพัฒนาปรับปรุงชิ้นงานให้มีคุณภาพ
หลักการที่ 5 มาตรฐานต้องมีข้อกำหนดที่จำเป็น : เขียนรายการระบุข้อกำหนดของมาตรฐาน สิ่งประดิษฐ์ ชิ้นงานที่ผลิตให้ชัดเจน เกี่ยวกับคุณลักษณะที่สำคัญของสิ่งประดิษฐ์ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัสดุ(วัตถุดิบ) ที่นำมาใช้ และการทดสอบสิ่งประดิษฐ์
หลักการที่ 6 มาตรฐานควรมีการนำไปใช้โดยเสรี : การนำเสนอผลงาน การนำสิ่งประดิษฐ์ ชิ้นงานไปใช้ประโยชน์ ด้วยความภูมิใจ และพึงพอใจในผลงานที่ทำ
ประเด็นคำถาม
จะสามารถบูรณาการกับสาระอื่นได้หรือไม่
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ควรมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอน
2.สามารถบูรณาการได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
อ้างอิง
https://www.tisi.go.th
https://school.obec.go.th/suplopburi/TST/p7.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=539