รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)


743 ผู้ชม


ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๙๐๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง   

ใครต้องการทราบรถเมล์สายต่าง ๆ และเส้นทางเดินรถในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดูได้จากราชกิจจานุเบกษา ต่อไปนี้ค่ะ

                                   โหลดดูที่นี่ค่ะ

     จริงแล้ว ครูเนาว์ตั้งใจนำเกร็ดความรู้เรื่องรถเมล์ไปลง blog เก็บมาเล่า แต่เปลี่ยนใจ นำมาใช้สอนในรายวิชา กินอยุ่อย่างไทย ตอน วิถีชีวิตคนกรุงกับรถเมล์ ที่นักเรียนโหลดไปดูข้างต้นนั้น เป็นรถเมล์คันแรก แต่ที่เราจะคุยกันต่อไปนี้เป็นรถเมล์ของคนกรุงปัจจุบัน

     ครูเป็นคนใกล้จังหวัดนนทบุรี เคยสัมผัสกับรถเมล์ที่จะกล่าวต่อไปนี้พอสมควร และได้เก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจาก pantip.com มาสู่กันฟัง

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)จุดมุ่งหมายของการเรียน

     1. เพื่อให้ทราบวิถีชีวิตคนกรุงกับรถเมล์และปฏิบัติตนและป้องกันภัยต่าง ๆบนรถเมล์ได้

  รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)สาระความรู้ (เกร็ดความรู้)

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)สุดของรถเมล์ไทยรถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)

 อ่านพอขำ ๆ นะคะ
อย่าคิดมาก
เพราะรถเมล์ไม่ได้เหมือนกันทุกคันหรอกค่ะ
คนขับดี ๆ ก็มีมากค่ะ

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date) ปอ. 4

เป็นรถที่แน่นสุดในประเทศไทย 
ผู้โดยสารจะกลายเป้น
นักห้อยโหนกายกรรม
น่าหวาดเสียวว่าจะเกิดอันตราย
กระเป๋ารถเมล์ทุกคนทุกคัน
พูดเหมือนกันตลอดทางว่า

"ขึ้นบนมาหน่อยสิคะ" 
"เดินหน้าชิดในหน่อย" 
"คนหน้าคนหลังช่วยเดินหน่อยสิคะ"

ไม่เคยดูเลยว่า
ผู้โดยสารชิดกัน
จนเกือบจะเป็นผัวเมียกันอยู่แล้ว 
ประมาณว่า
โดนตั้งโปรแกรมให้พูดยังไง
ก็พูดไปเรื่อย ๆ
ถ้าขึ้นรถสายนี้
เมื่อถึงที่หมาย
จะยับเยิน

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)ปอ. 6 (พระประแดง-ปากเกร็ด)

รถเมล์สายที่วิ่งยาวที่สุด 
เริ่มต้นสายที่จังหวัดสมุทรปราการ 
พาเที่ยวชมรอบเมืองกรุงเทพฯ 
อาทิ 
พระปรางค์วัดอรุณฯ สะพานพุทธฯ 
วัดโพธิ์ ท่าเตียน ท่าช้าง ท่าพระจันทร์ 
สนามหลวง วัดพระแก้ว ฯลฯ 
ไปจนสุดสายที่จังหวัดนนทบุรี 
ด้วยแพ็คเกจราคาสุดประหยัด 
(สมุทรปราการ-กรุงเทพฯ-นนทบุรี) 
เพียง 18 บาท ตลอดการเดินทาง 
เหมาะกับการพาคนแก่และเด็ก
เดินทางเล่น 
เพราะจำกัดความเร็ว
เพียง 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง 
ปลอดภัยแน่ ๆ 
สนใจติดต่อ ขสมก. 
เริ่มทัวร์ได้ 5.30 ถึง 21.00 น. 
ใช้แอร์ระบบ Hottest First 
ป้องกันผู้โดยสารหนาวจนแข็งตาย 
ไม่จำเป็นต้องเตรียมเสื้อหนาวมา
แต่ประการใด

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date) สาย 8 (แยกคลองตลาด-แฮปปี้แลนด์)

รถเมล์สายที่ซิ่งที่สุดในประเทศไทย 
คาดว่าคนขับส่วนใหญ่
จะเป็นพวกนักแข่งรถมือสมัครเล่น
ที่ตกงาน 
หรือสอบตกจากการเทิร์นโปร 
หันเหชีวิตมาขับรถเมล์แทน

คำแนะนำ
สำหรับผู้โดยสารหน้าใหม่
ไม่ควรนั่งเบาะหน้า 
หัวอาจพุ่งชนกระจกหน้ารถได้ 
จับราวให้มั่น 
ก้าวขึ้น-ลงให้ไว 
เวลาคนโบกให้จอด 
ไม่ค่อยจอดตรงที่คนยืนคอย 
จะวิ่งเลยไปให้คนวิ่งตาม 
พอคนที่วิ่งเร็วที่สุดตามไปถึง
แล้วก้าวขาจะขึ้นไป 
จะกระตุกรถทีนึง 
บังเอิญว่ากระโดดขึ้นไปได้ 
จะกระชากรถอีกที
ให้หน้าคะมำไปข้างหน้า 
คนขับจะหันมามองอย่างสะใจ 
แล้วกระตุกรถไปเรื่อย ๆ 
ให้คนโดยสารคนต่อไป
รู้รสชาติอย่างทั่วถึง..... 
ตอนขาลง 
ผู้โดยสารกดกริ่งครั้งแรก 
คนขับยังวิ่งตะบึงอย่างเมามัน 
ผู้โดยสารกดกริ่งอีกจะตะคอกว่า

"กดครั้งเดียว...รู้แล้ว..
เดี๋ยวไม่จอดซะนี่!"

แล้วก็เบรคอย่างแรง 
ผู้โดยสารทั้งคัน
ต่างพากันหาหลักจับยึดบ้าง 
ที่จับไม่ทันก็หน้าคะมำ คว่ำเค้เก้ 
รถยังไม่จอดสนิทดี 
ผู้โดยสารคนต่อไปเพิ่งก้าวขาซ้ายลงไป 
คนขับมันจะกระชากรถไปเรื่อย ๆ 
ใครลงทันก็โชคดีไป 
ใครไม่ทันก็หน้าจ๋อย 
ยอมรับสภาพไปลงป้ายหน้าเอา

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date) ปอ. 10 (พระประแดง-รังสิต)

รถเมล์สายที่ "หยิ่ง" ที่สุดในประเทศไทย 
คาดว่าคนขับเป็นคนรวย
แต่แอบมาขับรถเล่นแก้เซ็ง
หรือแกล้งจนเพื่อแสวงหารักแท้
ไม่ง้อ ไม่จอดรับผู้โดยสาร 
ต่อให้โบกจนมือหัก 
ยิ่งรถตัวเองโล่งเท่าไรยิ่งชอบ 
และมีวิธีป้องกันผู้โดยสารจะขึ้น 
โดยการไปจอดป้ายไกล ๆ 
ให้ผู้โดยสารลง 
แล้วซิ่งทันที 
ต่อให้คนที่จะขึ้น
วิ่งไปถึงประตูแล้วก็ตาม
แถมเป็นรถหายาก 
นาน ๆ มาสักคันนึง 
ถ้าพลาดแล้วละก็ 
ไปสั่งก๋วยเตี๋ยวกิน
รอคันต่อไปได้เลย

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date) สาย 33 (ปทุมธานี-สนามหลวง)

ที่จริงน่าจะเปลี่ยนเป็น 
สาย นรก-อเวจี ดีกว่า
เร็วสุดๆ เคยนั่งช่วง 6 โมง 
จากปากเกร็ดถีงสนามหลวง 25 นาที 
ไม่เคยนั่งหลับบนรถสายนี้เลย 
เคยมีคนนั่งหลับ
แล้วรถเข้าโค้งหน้าวัดสร้อยทอง 
ไม่รู้เจ้าที่แรงหรือเหตุอันใด 
ชายผู้นั้นได้กระเด็นตกจากเบาะ
มาอยู่ที่พื้นรถโดยไม่รู้ตัว 
แต่สามารถกลับขึ้นไปนั่งหลับต่อ
เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น 
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ขอแนะนำ

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)สาย 57 (ตลิ่งชัน - คลองสาน)

สายนี้ต้องผ่านสถานที่หลายแห่ง 
ซึ่งเป็นที่เก่ามีประวัติ
และเคยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 
เช่น 
เมื่อผ่านโพธิ์สามต้น
คนขับจะถูกผีมอเตอร์ไซค์วินเข้าสิง 
ซอกเล็กซอกน้อย
จะมุด เบียด ปาด 
แซงซ้ายขวาเป็นที่หวาดเสียว

ครั้นออกถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี 
จะถูกผีรถบรรทุกเมายาบ้าเข้าสิง 
แข่งกันไล่บี้ชนิดไม่กลัวอุบัติเหตุ 
จะจอด
ก็ตอนชนท้ายกับรถเก๋งหรือรถพัง 
และอาจมองเห็นล้อวิ่งอยู่
เพราะใต้ท้องรถมันทะลุ!

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date) สาย 113 (มีนบุรี-หัวลำโพง)

สภาพรถสุดโทรม
ประตูปิดไม่ได้ซักคัน 
ในชั่วโมงเร่งด่วน
คนอัดแน่นยังกะปลากระป๋อง 
แถมไม่ชอบจอดรับคนขึ้นด้วย 
ขากลับจากหัวลำโพง
แทนที่จะวิ่งเข้าพญาไท 
มันดันมุดเข้าซอย
ไปโผล่เอาบรรทัดทอง 
คนที่รอขึ้นตรงสามย่าน
ก็คอยไปเถอะ 
ชาตินึง
กว่าจะโผล่มาทางพญาไทซักคัน

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date) ปอ. 157 (ปอ.32 เดิม บางประกอก-หมอชิต)

เป็นรถเมล์สายอนามัย
เพราะผ่านหน้าโรงพยาบาลมากที่สุด
ทั้งศิริราช รามาฯ พระมงกุฎ 
ราชวิถี โรงพยาบาลเด็ก 
ศูนย์วิจัยมะเร็งโรคปอด เปาโล 
และอีกมากมาย

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)ปอ. 356 (ปากเกร็ด-รังสิต)

ถ้าคิดจะสร้างหนังย้อนยุคสัก 30 ปี 
แนะนำให้ใช้รถเมล์สายนี้
ไปประกอบฉากได้ (เก่ามาก) 
ความเร็วไม่เกิน 40 กม. 
ขับไม่เกินเกียร์ 3 
วิ่งจากปากเกร็ด-หลักสี่ 
ใช้เวลาเกือบชั่วโมง 
แม้ไม่ใช่ชั่วโมงเร่งด่วน 
เวลาเย็น
รับสาวโรงงานกลับบ้าน 
จะจอดรอกันหน้าโรงงาน 
ประหนึ่งเป็นอู่รถ 
แถมจอดซ้อนกัน 3 คันอีกต่างหาก 
จากสภาพรถ
ไม่น่าเชื่อว่า
จะไปถึง ม.ธรรมศาสตร์รังสิตได้ 
เคยเสียกลางทาง
คนขับบอกให้ผู้โดยสารช่วยเข็นก็มี

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)ปอ. 545 (นนทบุรี - สำโรง)

สายนี้สนับสนุนโดย The Mall 
เพราะวิ่งผ่าน The Mall ถึง 3 แห่ง 
คือ 
ตั้งแต่งามวงศ์วาน 
บางกะปิ 
แล้วก็รามคำแหง 
ส่วนสปอนเซอร์อีกราย
คาดว่าจะเป็นเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ 
ตอนนี้ผ่าน 2 เมเจอร์
คือ 
เมเจอร์รามฯ 
กะรัชโยธิน 
แล้วก็อีกนิดนึง
จะผ่านเมเจอร์เอกมัย 
โชคดีที่มาทะลุตรงพระโขนง

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)คำถามชวนคิด

     ให้บอกพฤติกรรมหรือประโยคชวนคิดชวนขำที่นักเรียนเคยพบ บนรถเมล์ / รถโดยสาร / รถไฟ /รถไฟฟ้า  สำหรับครูมีให้เหมือนกับเคยอ่านพบ เก็บมาเล่า

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)ความจริงเกี่ยวกับรถโดยสารในเมืองไทย '


1. รถเมล์ = ก. รถประจำทาง พาหนะสำหรับผู้ที่รักการผจญภัย 
                   ข. พาหนะที่มักจะไม่มาเมื่อคุณรอ และวิ่งให้ว่อนเมื่อคุณไม่ต้องการ 
2. พขร.    = พนักงานแข่งรถ 
3. พกส.   = พนักงานเก็บเงินผู้ที่ใหญ่ที่สุด มีอำนาจสั่งการให้ผู้โดยสารไปไหนก็ได้และ เป็นคนเดียวที่คุยกับ พขร. รู้เรื่อง 
4. ผู้โดยสาร = บุคคลผู้เจียมเนื้อเจียมตัว บางครั้งถูกเปรียบให้เป็นปลา ( กระป๋อง) 
5. นายตรวจ = คนเดียวที่ พกส. กลัว 
6. ค่าโดยสาร = จำนวนเงินที่ต้องจ่าย กรุณาจ่ายเป็นเศษสตางค์ไม่รับเหรียญสลึงและแบงค์ใหญ่กว่า 100 บาท 
ฝ่าฝืนอาจถูก สรรเสริญจาก พกส.และอาจลามปามไปถึงบุพการีที่นอนอยู่กับบ้านได้ 
7. ป้าย = ไป้ (สันนิษฐานว่า เลยไปเลย สังเกตจาก พสก.จะพูดคำนี้ทุกครั้งที่ ถึงป้าย) 
8. ที่นั่งสำหรับ ภิกษุ สามเณร = ที่นั่งสำหรับป้าหรือตาบอดสีโดยเฉพาะสีเหลือง 
9. ที่นั่งสำหรับ คนพิการ = ดูข้อ 8 ( คล้ายๆ กัน) 
10. เด็ก สตรี และคนชรา = ประชาชนส่วนใหญ่ที่ประชาชนส่วนน้อยต้องเอื้อเฟื้อจึงมักจะ (ดูต่อข้อ 11) 
11. แกล้งหลับ = วิธีหลีกเลี่ยงจากข้อ 10 
12. คนดีมีน้ำใจ = คนประหลาดในสายตาข้อ 11 
13. กริ่ง = กดสองที ฟรีสองป้าย 
14. รถไฟฟ้า = เครื่องช่วยหายใจคนกรุงฯ สามารถไปได้ทุกๆ ที่ ยกเว้นบ้านคุณ 
15. เรือด่วน = เครื่องช่วยหายใจอีกอย่างหนึ่งเหมาะสำหรับคนว่ายนำเป็นและน้ำหนักตัวน้อย 
16. แท็กซี่ = พาหนะที่พาคุณอ้อมไปจากเส้นทางจริง

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)สรุป   1.ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรถเมล์ เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนกรุงอย่างไร
       2. แนะนำผู้นำ /ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรถเมล์คนกรุง ว่าควรทำอย่างไร ให้การบริการ สร้างความ
ปลอดภัย ประทับใจ และพึงพอใจแก่ผู้ดดยสาร / ผู้รับบริการ (ตัวเราด้วย)
       3. ส่งคำตอบที่ [email protected]

รถเมล์บริการคนกรุง และคนเข้ากรุง(up date)อ้างอิง : https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sodnaisoi&month=12-  2007&date=07&group=16&gblog=141

             https://dek-d.com/board/view.php?id=1000656

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=780

อัพเดทล่าสุด