มวลบุบผชาติเข้าพรรษากับเยาวชนไทย(F1)


627 ผู้ชม


ในช่วงแห่งพรรษาปีนี้ที่ละเลยมิได้คือดอกไม้ทั้งตกแต่งต้นเทียน และถวายพระ เราจะเห็นการเตรียมตัวเตรียมใจในการเหล่านี้ จะเป็นเฉพาะผู้ใหญ่ แต่เยาวชนเราก็สามารถกระทำได้ โดยเฉพาะในส่วนของการจัดตกแต่งดอกไม้ วันนี้ครูเนาว์จึงมีสาระความรู้เกี่ยวกับดอกไม้มาฝาก   

     มวลบุบผชาติเข้าพรรษากับเยาวชนไทย(F1)   วันเข้าพรรษาปีนี้ ตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม 2552  นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน11 ของทุกปี (8 ก.ค.-4 ต.ค.)  พุทธศานิกชนจะได้เข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนา เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลโดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง ขณะเดียวกันก็มีพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งนิยม ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นที่จะอธิฐานจิตลด ละ ความชั่วทั้งหลาย และทำความดีเพิ่มขึ้น สำหรับประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันนี้คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝนและการแห่/ถวายเทียนพรรษา และในพิธีกรรมนี้ที่ละเลยมิได้คือดอกไม้ทั้งตกแต่งต้นเทียน และถวายพระ เราจะเห็นการเตรียมตัวเตรีมใจในการเหล่านี้ จะเป็นเฉพาะผู้ใหญ่  เยาวชนเราก็สามารถกระทำได้ โดยเฉพาะในส่วนของการจัดตกแต่งดอกไม้ วันนี้ครูเนาว์จึงมีสาระความรู้เกี่ยวกับดอกไม้มาฝาก

มวลบุบผชาติเข้าพรรษากับเยาวชนไทย(F1)ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดดอกไม้
          การจัดดอกไม้เป็นศิลปะอย่างหนึ่งคู่กับคนไทยและของชาติไทย  ซึ่งมีมาแต่โบราณใน สมัยสุโขทัยตามหลักฐานปรากฏใน
  เรื่องนางนพมาศ กล่าวถึงพระราชพิธีจองเปรียงใน วันเพ็ญเดือน 12 ท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศได้ประดิษฐ์โคมลอยน้ำ โดยนำดอกไม้มาประดิษฐ์ตกแต่งเป็นรูปดอกบัว   ที่สวยงามกว่าโคมทั้งปวง   และเป็นต้นแบบการทำโคม รูปดอกบัวลอยน้ำมาจนถึงทุกวันนี้จากหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวมา น่าเชื่อถือได้ว่า  นางนพมาศ หรือ  ท้าวศรีจุฬาลักษณ์   เป็นสตรีไทยท่านแรก ที่ริเริ่มนำเอาดอกไม้สดมาใช้ในพิธีการ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นครั้งแรก  และได้สืบทอดมาจนทุกวันนี้
        

         ในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มแต่ต้นรัชกาลสืบมา งานฝีมือด้านประดิษฐ์ดอกไม้ โดยเฉพาะดอกไม้สด เป็นที่ยอมรับ และมีชื่อเสียงมาก นิยมประดิษฐ์จัดดอกไม้สดในงานต่างๆ ทั่วไป โดยเฉพาะในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชนิยมทำดอกไม้ไทยเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าเป็นงานพระราชพิธีใดๆ   เจ้านายฝ่ายในต้องประกวดกันจัดดอกไม้มากมายจัดถวายให้ทรงใช้ในงานนั้นเสมอ   พระมเหสีเทวีทุกตำหนักใฝ่พระทัยในการจัดดอกไม้   สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ (พระพันปีหลวง)ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงโปรดเกล้าให้ฝึกหัดอบรมข้าหลวงและครูโรงเรียนราชินี   ให้รู้จักทำดอกไม้แห้งแทนดอกไม้สดด้วยทรงส่งเสริมฟื้นฟูการทำดอกไม้เป็นอันมาก   พระองค์เองก็ใช้เวลาว่างประดิษฐ์ดัดแปลงการทำดอกไม้แบบเก่า ๆ   ให้แปลกพิสดารไปอีก  มีพระนามเลื่องลือในการร้อยมาลัยมะลิเป็นมาลัยสีขาวกลม   ซึ่งเป็นมาลัยธรรมดาไม่มีลวดลาย และต่อมาได้พลิกแพลงมาเป็นมาลัยสลับสี   เป็นมาลัยเกลียว   ซึ่งมีความสวยงามและเป็นลวดลายสีสันขึ้นหนังสือชุดมรดกไทย   สัญลักษณ์วันแม่ “   ชื่อมะลิ (มณีรัตน์ จันทนะผะลิน 2526 )ได้เขียนประวัติ  และที่มาได้นำมาเป็นข้ออ้างอิงโดยได้กล่าาวถึง 

        ประวัติเริ่มต้นของคนไทย   ที่รู้จักนำดอกไม้มาร้อยเป็นพวงมาลัยไว้ตอนหนึ่ง   ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ดังนี้ “แต่โบราณสมัยก่อนกรุงสุโขทัยบรรพบุรุษไทยได้คิดประดิษฐ์ดอกไม้   ใบไม้   เป็นแบบ    ต่าง ๆ มากมายแต่   ไม่มีผู้ใดจดบันทึกไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ค้นคว้า   จนถึงสมัยพระร่วงเจ้า มีนางนพมาศซึ่งเป็น  พระสนมเอกในสมัยนั้น   ได้จดบันทึกเรื่องราวของตนไว้ นางเองเป็นหญิงนักปราชญ์   มีความรู้ในพิธีการต่าง ๆ งานประดิษฐ์ งานฝีมือ และอื่น ๆ ตลอดจน มีความรู้ทางหนังสือ ด้วยความ ปรีชาสามารถของนางนพมาศ “  เราจึงได้มีโอกาสทราบว่า การจัดดอกไม้ของไทย มีจุดเริ่มต้นแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา   และนอกเหนือขึ้นไปเราไม่สามารถค้นคว้าได้

มวลบุบผชาติเข้าพรรษากับเยาวชนไทย(F1)ประโยชน์และคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานดอกไม้
         ชีวิตแบบไทย ๆ แต่ดั้งเดิมเป็นชีวิตเรียบง่าย  มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสอดคล้องกับธรรมชาติมาก  การจัดดอกไม้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากอดีตกาล ซึ่งถือเป็นศิลปะที่เก่าแก่สวยงามวิจิตรบรรจงมาจนถึงปัจจุบัน มีความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์ประดอยสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มีความประณีตงดงามอ่อนช้อยสวยงาม   ปัจจุบันรัฐบาลและภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุน จึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการจัด ดอกไม้สดเป็นส่วนประกอบในงานพระราชพิธีต่าง ๆ งานจัดเลี้ยงรับรองแขกต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความหรูหรา และประทับใจ ในงานหรือสถานที่นั้น ๆ

มวลบุบผชาติเข้าพรรษากับเยาวชนไทย(F1)คุณค่าของการจัดดอกไม้
         ชาติไทยเป็นชาติเก่าแก่ ที่มีศิลปวัฒนธรรมรุ่งเรืองเป็นของตนมาช้านาน สิ่งที่แสดงเอกลักษณ์ของชาติคือความเป็นอยู่ที่รักสวยรักงาม ประณีต  มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อต่อกัน ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับด้วยอัธยาศัยน้ำใจอันดีต่อกัน เช่นการจัดสถานที่ประดับดอกไม้สดอย่างสวยงาม   การนำพวงมาลัยไปต้อนรับ ซึ่งจัดทำอย่างงดงาม และการกระทำดังกล่าวสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ การจัดดอกไม้สด เป็นสิ่งที่น่าฝึกหัด เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้รู้จักใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์ เป็นการฝึกสมาธิ และนิสัยให้เยือกเย็น สุขุม รักสวย รักงาม  และรักความประณีต การจัดดอกไม้ นิยมทำกันมาหลายร้อยปีแล้ว ในสมัยโบราณ ผู้หญิงไทยส่วนมากไม่ได้เรียนหนังสือนอกบ้าน ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน  เพื่อฝึกหัดทำอาหารทำดอกไม้  เย็บปักถักร้อย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิง การมีเวลาที่จะเรียนการจัดดอกไม้ ด้ต่อเนื่องกันจนมีความชำนาญ   สามารถสอนลูกหลานต่อ ๆ กัน จนเป็นวัฒนธรรมไทย  การจัดดอกไม้ ควรคำนึงถึงลักษณะของดอกไม้ รูปแบบในการประดิษฐ์หรือการจัดดอกไม้ให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะใช้ และประโยชน์ที่จะได้รับ การจัดดอกไม้ในบางโอกาสนำไปเป็น ช่อดอกไม้ กระเช้าดอกไม้สด พานดอกไม้สด ให้เป็นของขวัญ ไปอวยพรปีใหม่ วันเกิด หรืองานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ทางราชการและทางศาสนา เป็นต้น
       

         การจัดดอกไม้ เป็นศิลปะที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวไทย คนไทยรู้จักนำวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประกอบการจัดดอกไม้ให้งดงามและมีประโยชน์ใช้สอย การจัดดอกไม้ในปัจจุบันทำเป็นอาชีพอย่างแพร่หลาย การจัดดอกไม้ มิใช่เรื่องยาก เพียงแต่ มีใจรักในการทำ มีมีด กรรไกรเล่มเดียวก็สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ถ้าผู้ฝึกมีความสนใจและหมั่นเพียรฝึกทำบ่อยๆก็จะเกิดความชำนาญ และได้ผลงานออกมาอย่างสวยงาม  ทำให้ผู้ฝึกหัดมีกำลังใจที่จะทำต่อไป รวมทั้งทำให้มีความคิดดัดแปลงแก้ไขตลอดจนคิดทำสิ่ง แปลก ๆ ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
       

        ในปัจจุบันการจัดดอกไม้สดยังเป็นที่นิยมของคนไทยทั่วไป นอกจากจะมุ่งใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังเป็นทางหารายได้ด้วย เช่น  รับจัดงานมงคล รับจัดงานบำเพ็ญกุศลศพ งานเทศกาล   ปีใหม่ งานวันเกิด เป็นต้น การจัดอกไม้สดเป็นการช่วยเพิ่มพูนรายได้ ให้กับคนไทยโดยยึดเป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่ง  ปัจจุบันจะมีดอกไม้ที่นำมาจากต่างประเทศหรือทดลองปลูกในประเทศไทยมากมาย ทำให้นักจัดดอกไม้   มีดอกไม้หลากหลายชนิด  เพื่อใช้สร้างสรรค์ผลงานในโอกาสต่าง ๆ
        

        มาถึงตอนท้ายแล้วนะคะ "ดอกไม้ช่วยให้เกิดความสวยงามกับสรรพสิ่งฉันใด ธรรมมะก็ก่อให้เกิดความสวยงามในใจผู้ใฝ่ธรรม ปฏิบัติธรรมฉันนั้น" หวังว่าทุกคนคงนำสองสิ่งมาผูกมัก เชื่อมโยง นำพาการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เป็นบุคคลอันพึงประสงค์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป                                                                                                                                                            

                            สวสดีค่ะ

                                              ครูเนาว์                   


มวลบุบผชาติเข้าพรรษากับเยาวชนไทย(F1)ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
     1. ดอกไม้นั้นสามารถสร้างสรรค์ผลงานในโอกาสต่าง ๆ    อะไรบ้าง ตอบมาอย่างน้อย 15 งาน
     2. ให้บอกชื่อดอกไม้ที่รู้จัก มาคนละ 100 ชื่อ 
     3. บอกชื่อเว็บไซ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดดอกไม้(ยกเว้นที่ครูหามาให้)คนละ 5 เว็บ พร้อมบอกว่าแต่ละเว็บให้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง

เขียนตอบแล้วส่ง mail ให้ครู ที่ [email protected]    และสามารถแสดงความคิดเห็น หรือสอบถามในประเด็นนี้ได้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้


มวลบุบผชาติเข้าพรรษากับเยาวชนไทย(F1)อิงอิง : 
วินัย  ตาระเวช. การจัดดอกไม้.  กรุงเทพ : คณะคหกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี. 2549

เนาวรัตน์  ตั้งยะฤทธิ์.  เอกสารประกอบการสอนการจัดดอกไม้.  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

           โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี. 2549.                                                                   

 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%   

                   
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1050

อัพเดทล่าสุด