ธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช(สูตรที่ 1)


703 ผู้ชม


พืชธรรมชาติ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม มีคุณสมบัติในการกำจัดหนอน เพลี้ยและแมลงได้เป็นอย่างดี   

        จากการที่เกษตรกรของประเทศไทยส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและจำกัดศัตรูพืช เหตุเพราะสามารถใช้ได้ง่ายสะดวกและเห็นผลอย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้สารเคมีเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางลบสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆ  การนำสารเคมีที่ได้จากการสกัดจากพืชมาใช้ในการไล่ หรือควบคุม หนอน เพลี้ยและแมลงนั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นการช่วยลดปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผักและสภาพแวดล้อม เนื่องจากสารเคมีที่สกัดจากพืชจะสามารถสลายตัวได้เร็วไม่ตกค้าง

กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ช่วงฃั้นที่ 2

สะเดา

ธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช(สูตรที่ 1)
ภาพจาก  www.the-arokaya.com

ใบสะเดา 
        สารสกัดที่พบในสะเดาและมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ สารอะซาดิแรคติน 
A(Azadirachtin A) โดยสารอะซาดิแรคตินจะมีผลในการยับยั้งการลอกคราบของแมลง 
ยับยั้งการวางไข่ และเป็นสารไล่แมลง ใช้ได้ผลดีกับหนอนชนิดต่าง ๆ เช่น หนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนเจาะดอกมะลิ 
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยไก่แจ้ สำหรับเพลี้ยไฟ และไรแดง ใช้ได้ผลปานกลาง

ตะไคร้หอม

ธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช(สูตรที่ 1)
ภาพจาก www.rakbankerd.com

ตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus L.) Rendle 
         ตะไคร้หอมมีชื่อเรียกอื่นว่า ตะไคร้แด งตะไคร้มะขูด จะไคมะขูด เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่เกิดจากหัวหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน เจริญแตกออกมาเป็นกอเหมือนกับตะไคร้ที่ปลูกเป็นพืชสวนครัวแต่ลำต้นมีขนาดใหญ่กว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยมีการระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดมาก 
         สารที่ออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในตะไคร้หอม ได้แก่ geraniol, citronellal, linalool, neral, limonene ปัจจัยที่ทำให้สารออกฤทธิ์มีค่าแตกต่างกัน ได้แก่ พันธุ์ของตะไคร้หอมที่พบมีอยู่หลายสายพันธุ์ ได้แก่ ตะไคร้หอมไทย พันธุ์ศรีลังกา พันธุ์ชวา รวมถึงองค์ประกอบทางด้านอายุในการเก็บเกี่ยว แหล่งที่ปลูก และวิธีการสกัดเอาสารมาใช้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า ในใบตะไคร้หอมจะมีสารออกฤทธิ์มากกว่าในส่วนของลำต้น อายุในการเก็บเกี่ยวควรอยู่ในช่วง 7-11 เดือน ตะไคร้หอมใช้ได้ผลในการไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก ด้วงถั่วเขียวและ
เพลี้ยจั๊กจั่น

การผลิตสารกำจัดหนอนเพลี้ยและแมลงจากใบสะเดา
วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ
        1.  ใบสะเดา                 2  กิโลกรัม
        2.   
หัวข่าแก่                 2  กิโลกรัม
        3.  ตะไคร้หอม             1   กิโลกรัม
        4.  น้ำ                           20 ลิตร
        5.  ผงซักฟอก              1  ซองเล็ก
        6.  เหล้าขาว                1  แก้ว
        7.   มุ้งไนลอน
        8.   ถังน้ำพลาสติก
        9.   เครื่องปั่นหรือมีด
        10.  ถุงมือ


ขั้นตอนการทำ
        1.   ตะไคร้หอมหั่นฝอยหรือสับละเอียดหรือปั้นกับเครื่องปั่น
        2.   หัวข่า สับหรือหั่นเป้นชิ้นเล็กๆ
        3.   นำส่วนผสม คือ  ใบสะเดา หั่วข่าสับละเอียด ตะไคร้หอมสับละเอียด  เหล้าขาว 
ผงซักฟอก  น้ำผสมรวมกันใส่ภาชนะพลาสติก หมักทิ้งไว้ 1  คืน
        4.   ใช้ไม้คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันแล้วกรองด้วยมุ้งไนลอนเพื่อกรองเอากากออกทิ้ง
        5.   นำส่วนที่เป็นสารละลายที่ได้ใส่ในเครื่องฉีดพ่นหรือบัวรดน้ำ เพื่อนำไปรดผักในแปลง

ข้อควรระวัง  
        ขณะปฏิบัติงานควรปิดจมูกและสวมถุงมือให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันอันตรายสำหรับผู้ผลิต


ข้อเสนอแนะ
        1. สารป้องกันหนอนเพลี้ยและแมลงที่ได้ ควรนำไปใช้ทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน
ทำให้สารออกฤทธิ์เสื่อม
        2.  ตะไตร้หอมถ้าต้องเก็บไว้ใช้นานๆควรหั่นฝอยและตากให้แห้ง
จะไม่ทำให้ตะไคร้หอมไม่อับชื้น/ขึ้นรา

บูรณาการ
      
  1. กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่องการชั่ง ตวง
        2. กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  เรื่อง พืช และสัตว์  สารเคมีในชีวิตประจำวัน

 

 เอกสารอ้างอิง
        สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรม เขตการศึกษา 3  
ชุดการเรียนการผลิตยาป้องกันกำจัดหนอน เพลี้ยและแมลง          
        
 www.organicthailand.com/
         www.rakbankerd.com       
        www.the-arokaya.com/web/index.php?option=com
         www.trgreen.co.th
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1241

อัพเดทล่าสุด