ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านและป้องกันเชื้อไข้หวัดได้
ครั้งที่แล้วได้นำเสนอแกงส้มปักษ์ใต้ซึ่งเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพร มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อ
ไข้หวัดได้ คราวนี้เป็นการนำเสนอการทำต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ต่อต้านและ
ป้องกันเชื้อไข้หวัดได้เช่นเดียวกัน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงฃั้นที่ 2
มารู้จักคุณสมบัติของเครื่องปรุงต้มยำกุ้งกันก่อน
กระเทียม
กระเทียม มีสาร"อัลลิซิน"(allicin) ซึ่งมีกลิ่นฉุนฆ่าเชื้อได้ ส่วนกระเทียมโทนมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ดีกว่า "เพนนิซิลลิน" และ "เตตร้าซัยคลิน" ที่เป็นยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) ที่ใช้โดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของท้องเสีย
แผลติดเชื้อ วัณโรค ไทฟอยด์ และกลากเกลื้อน
พริกขี้หนู
พริกขี้หนู มีวิตามินซีและสารที่ทำให้เกิดรสเผ็ดที่เรียกว่า "แคปไซซิน" (Capsaicin) ช่วยบรรเทาให้ระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้นและโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังลดลง
มะนาว
มะนาว ปลือกผล รสขม ช่วยขับลมได้ดี น้ำของผลมะนาวเปรี้ยวจัด เป็นยาขับเสมหะเมื่อเด็กหกล้มหัวโน ใช้มะนาวผสมกับดินสอพองพอกบริเวณที่ในจะทำให้เย็นและยุบเร็ว
ตะไคร้
ตะไคร้ ใบ รสปร่า ลดความดันโลหิต แก้ไข้ ต้น รสหอมปร่า ขับลม แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่ว ดับกลิ่นคาว เจริญอาหาร เหง้า รสปร่า แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กษัย ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะขัด แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว
ทั้งต้น รสหอมปร่า แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ข้อมูลจาก forum.khonkaenlink.info/index
ใบมะกรูด
ใบมะกรูด ผสมมะกรูดช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ลมวิงเวียน น้ำมะกรูดแก้เลือดออกตามไรฟัน ในมะกรูดประกอบด้วย เบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม และโปรตีนข้อมูลจากwww.wattano.ac.th/pantip/webarhan/baimakoot.htm
ข่า
ข่า มีสารออกฤทธิ์ ลดอักเสบ ช่วยขับน้ำดี จึงช่วยย่อยอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ได้ ข้อมูลจากwww.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth
ผักชี ใช้กินแกล้มกับอาหารเพื่อช่วยให้รสรื่นขึ้น และแต่งสีอาหารให้น่ารับประทาน ใช้แต่งกลิ่นเหล้ายิน
เป็นเครื่องเทศที่ใช้แพร่หลายในหลายประเทศ เช่น จีน, ไทย, ยุโรป ช่วยรักษาอาการปวดท้อง และช่วยย่อยอาหาร น้ำมันหอมระเหยในผักชีช่วยให้สบายท้อง ข้อมูลจากwww.pharm.chula.ac.th/physiopharm/2542
ต้มยำกุ้ง
ภาพจาก www4.yuwie.com/blog/entry.
เครื่องปรุง
1. กุ้ง 8-10 ตัว
2. เห็ด 400 กรัม
3. ตะไคร้ 2 ต้น
4. ใบมะกรูด 5-8 ใบ
5. ข่า 6 - 7 แว่น
6. ผักชี 2 ต้น
7. พริกขี้หนูสด 8 เม็ด
8. น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
9. น้ำพริกเผา 2 ช้อนโต๊ะ
10. น้ำมะนาว 5 ช้อนโต๊ะ
11. น้ำซุป 6 ถ้วย
วิธีทำ
1. นำกุ้งและเห็ดมาล้างให้สะอาด ปลอกเปลือกกุ้ง ผ่าหลังเอาเส้นดำออก
2. เห็ดนำมาผ่าเป็น 4 ส่วน
3. ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกสด และผักชีมาล้างน้ำให้สะอาด วางให้สะเด็ดน้ำแล้วหั่นตะไคร้เฉียงๆ ใบมะกรูดฉีกเอาเส้นกลางใบออก พริกทุบแล้วหั่นเป็นท่อน ผักชีนำมาหั่นหยาบๆ
4. นำน้ำซุปใส่หม้อตั้งไฟแรงปานกลาง รอจนน้ำชุปเดือด ใส่ตะไคร้และใบมะกรูดลงไป ประมาณ 5 นาที
5. ใส่เห็ดและกุ้งลงไป รอจนเดือดประมาณ 2-3 นาทีจึงปิดเตา
6. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำพริกเผา และพริกทุบ น้ำมะนาว ชิมรสตามชอบ ใส่ผักชีโรยหน้า คนให้เข้ากัน
คำถามอภิปราย
1. การปรุงอาหารรับประทานเองมีผลดีอย่างไร
2. หลักสำคัญในการปรุงอาหารคืออะไร
3. ในการทำต้มยำ ถ้าไม่มีกุ้งน่าจะใช้อะไรแทนได้
4. สมุนไพรที่นำมาปรุงต้มยำส่วนใหญ่หาได้จากที่ไหน
ข้อเสนอแนะ
น้ำมะนาวควรใส่หลังสุดเพื่อให้มีกลิ่นหอมของมะนาวและรสชาติดี
บูรณาการ
1. กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่องการชั่ง ตวง
2. กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชสมุนไพร
3. กลุ่มสุขศึกษา เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่
เอกสารอ้างอิง
WWW.palungjitrescuedisaster.com/
www.bloggang.com
www.yuwie.com/blog/entry.asp?id=748420&eid=456643
www.wattano.ac.th/pantip/webarhan/baimakoot.htm
www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth
www.forum.khonkaenlink.info/index
www.pharm.chula.ac.th/physiopharm/2542
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1368