รักใดไหนเล่าฤาจะเท่ารักของแม่
ที่สิบสองสิงหา เป็นวัน
สมเด็จแม่ทรงอนันต์ ค่าล้น
สละสุขเพื่อปวงชน ผองแม่
หวังแต่เพียงเห็นให้ ร่มแล้วแดนสยาม
ที่สิบสองสิงหามาบรรจบ
ราชสมภพพระแม่เจ้าเราทั้งผอง
บุญญาแม่แผ่คุ้มถิ่นแผ่นดินทอง
รุ่งเรืองรองทั่วหล้าบารมี
ขอน้อมก้มประนมกรกราบวรไหว้
เทพไท้องค์เทวะคุณพระศรี
จงปกปักรักษาราชินี
เกษมทวีขอพะองค์ทรงพระเจริญ
หอมกลิ่นอ่อนอ่อนเมื่อตอนเช้า
สายแล้วเล่าเจ้าไฉนใยหอมอยู่
บ่ายคล้อยตะวันรอนกลิ่นยังเคล้าเจ้าโฉมตรู
ทุกคนรู้ มะลิกรองของครูเนาว์
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ครอบครัวตั้งยะฤทธิ์
ภาพจาก https://ecard.kapook.com/viewecard.php?id=47073#
ครูเนาว์ "สวัสดีจ้ะ วันนี้มีโอกาสมาสอนแทนอีกครั้ง คุณครูให้ปฏิบัติงานไว นำมาส่งครูเนาว์วันนี้ใช่ไหม"
นักเรียน " ใช่ค่ะ ครูให้ออกแบบประดิษฐ์ดอกมะลิจากวัสดุอะไรก็ได้ ของหนูทำจากผ้าใยบัว"
ครูเนาว์ " แล้วของเพื่อนมีอะไรบ้าง อ้อ นี่ จากกระดาษย่น กระกดาษทิชชู ผ้าก็มี ผ้าอะไรเนี่ย ผ้าไหม สวยดีนะ"
นักเรียน " ยังมีอีกค่ะ ดอกนี้จากต้นโสน ส่วนของอีกคน จากปั้นดิน แล้วที่หอมๆนั่นจากแกะสบู่ค่ะ"
ครูเนาว์ " ดีมาก ก่อนที่จะส่งครูเรามาทบทวนกันก่อนดีไหม" หลังส่งงานแล้วครูจะสอนให้ทำดอกมะลิง่าย ๆ ง่ายมาก(คลิกดูที่นี่ค่ะ)
1. จุดประสงค์ของงานในครั้งนี้ ใช้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่1-2 ตามมาตรฐาน ง 1.1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
1. ออกแบบประดิษฐ์ดอกมะลิจากวัสดุในท้องถิ่นได้
2. เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานที่เหมาะสมได้
3. บอกวิธีการและขั้นตอนการประดิษฐ์ดอกมะลิได้
4. ประดิษฐ์ดอกมะลิและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ได้
5. ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานได้
6. จัดการผลงานที่ผลิตได้
2. สาระสำคัญ
วันแม่เป็นวันสำคัญของคนไทย นิยมนำดอกมะลิหรือผลิตภัณฑ์จากดอกมะลิมอบแด่แม่
ดอกมะลิประดิษฐ์จึงเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้
3. การวิเคราะห์พฤติกรรม
ด้านความรู้
- มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการประดิษฐ์ดอกมะลิ
ด้านเจตคติ
- เห็นคุณค่าและความสำคัญของการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ด้านทักษะ/กระบวนการ
- ปฏิบัติงานประดิษฐ์ดอกมะลิได้ตามขั้นตอน
4. สาระการเรียนรู้
1. การออกแบบและการเลือกวัสดุในการประดิษฐ์ดอกมะลิ
2. วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ดอกมะลิ
3. วิธีการและขั้นตอนการประดิษฐ์ดอกมะลิ
4. การประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางาน
5. การจัดการผลงาน
5. กระบวนการเรียนรู้
1. ศึกษาลักษณะดอกมะลิจากตัวอย่างดอกจริงและดอกประดิษฐ์จากวัสดุต่างๆ
2. วาดแบบ ออกแบบกลีบดอกมะลิและส่วนประกอบ
3. สำรวจและเลือกวัสดุในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ดอกมะลิ
4. ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการประดิษฐ์ดอกมะลิจากใบความรู้และวิทยากร
5.ลงมือปฏิบัติงานประดิษฐ์ดอกมะลิและจัดตกแต่งผลงาน
6. ร่วมกันประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางาน
7. ทำบรรจุภัณฑ์สินค้า กำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดอกมะลิ
8. สรุปผลการทำงาน ผู้สอนแนะนำเพิ่มเติม
6. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างดอกมะลิของจริง/ดอกมะลิประดิษฐ์
2.วั สดุอุปกรณ์งานดอกไม้ประดิษฐ์
3. ใบความรู้
7. การวัดผล ประเมินผล
วิธีการวัด
- ประเมินการปฏิบัติงาน
- ประเมินผลงาน
- ทดสอบ
เครื่องมือวัด
- แบบประเมินการปฏิบัติงาน
- แบบประเมินผลงาน
- แบบทดสอบ
เกณฑ์การประเมิน
- แบบประเมินการปฏิบัติงาน ได้ระดับคะแนน ร้อยละ 80
- แบบประเมินผลงาน ได้ระดับคะแนน ร้อยละ 80
- แบบทดสอบ ได้ระดับคะแนน ร้อยละ 80
8. คำถามชวนคิด
- เราจะมีวิธีอย่างไรบ้างในการทำให้ดอกมะลิคงสภาพอยู่ได้นาน (อบแห้ง)
- ดอกมะลิ นอกจากอะนำมาร้อยมาลัยแล้วยังทำอะไรได้อีก (ตากแห้งทำเครื่องหอม )
9. กิจกรรมเสนอแนะ
ผู้เรียนสำรวจผลิตภัณฑ์ดอกมะลิที่จำหน่ายในท้องตลาด สังเกตลักษณะที่ดีและไม่ดีของสินค้า แล้วนำมาเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงาน
10. แผนการจัดการเรียนรู้(คลิกที่นี่ค่ะ)
คำนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้” พระคุณของแม่อันประกอบไปด้วยความรักที่มีต่อลูกอย่างสุดหัวใจเช่นนี้ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รัก” ให้แม่ได้ชื่นใจบ้าง เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม่ผ่านภาพและเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า “ลูกรักแม่”
ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม.จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้านหรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
มะลิ
ชื่อสามัญ (Common name) Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Jasminum tuberosa spp.
ชื่อวงศ์ (Family) Oleaceae
ถิ่นกำเนิด (Native) เขตร้อนหรือเขตกึ่งร้อนชื้น
มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
Jusminum adenophyllum.
ภาพจาก https://www.doae.go.th/Library/html/detail/jasmine/dd0.htm
มะลิเป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกมะลิเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ มะลิออกดอกตลอดปี
มะลิเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด กลางแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ต้องการน้ำปานกลาง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์มะลิโดยการปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...
อ้างอิง :
นิตยสารขวัญเรือน สิงหาคม 2541
นิตยสารคุณหญิง สิงหาคม 2544
ปลูกต้นไม้แก้จน ประยูร จรรยาวงษ์
https://www.doae.go.th/Library/html/detail/jasmine/dd0.htm (เว็บความรู้ดอกมะลิ)
https://www.panmai.com/card/aug1-1208827594.shtml (URL บัตรอวยพร)
https://ecard.kapook.com/viewecard.php?id=47073# (เว็บ e-cardอวยพรวันแม่)
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1475