รถไฟ..รถอะไร..ปลอดภัย


762 ผู้ชม


ความรู้เกี่ยวกับการคมนาคมด้วยรถไฟ   

จนท.เร่งกู้ซากรถไฟ คาดใช้เวลาถึงเที่ยงพรุ่งนี้

          เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ได้สนธิกำลังนำรถเครนเข้ากู้ซากรถไฟที่ตกรางถึง 8 โบกี้ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยจนถึงเที่ยงวันพรุ่งนี้ และยังต้องทำงานกันตลอดทั้งคืน โดยเจ้าหน้าที่จะทำงานกันไม่หยุดเพื่อจะเปิดเส้นทางเดินรถไฟให้เร็วที่สุด ล่าสุด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อยู่ระหว่างเดินทางลงพื้นที่เกิดเหตุแล้ว ที่มา : [นสพ.คอม]

รถไฟ..รถอะไร..ปลอดภัย
ที่มา [นสพ.คอม]

ประวัติความเป็นมา

รถไฟ..รถอะไร..ปลอดภัย
ที่มา [โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]

     ในสมัยแรกๆเมื่อพวกกรีกยังรุ่งเรืองอยู่นั้น มนุษย์ได้ค้นพบว่าล้อเกวียนจะหมุนง่ายขึ้น ถ้าแล่นไปตามรางหรือร่องบนพื้นถนนที่ปูด้วยหิน ต่อมาในสมัยกลาง คนงานเหมืองแร่ในประเทศเยอรมันได้สร้างรางไม้อย่างง่าย สำหรับรากเข็นรถซึ่งบรรทุกหินไว้หนัก 
ในคริสตศตวรรษที่ 17 การขนถ่านหินจากเหมืองไปลงเรือบรรทุกเพื่อล่องไปนังโรงงาน ก็แพรหลายมาถึงอังกฤษ ต่อมาไม่นานก็ได้ปรับ ปรุงลักษณะรางและทำให้ทนทานโดยเสริมแผ่นเหล็ก ต่อมาได้คิดที่จะนำพาหนพอย่างอื่นมาแทนรถเข็น โดยเริ่มแรกได้นำเครื่องจักไอน้ำมาใช้แทน และ ในศตวรรษที่ 18 ได้มีการผลิตเครื่องจักรไอน้ำให้ใหญ่ขึ้นและได้พัฒนาเรื่อยๆมาเป็น "หัวรถจักรไอน้ำ" 
     ในปี ค.ศ. 1804 เทรวิธิกได้คิดค้นที่จะนำหัวรถจักรมาพ่วงเพื่อจะได้ขนได้มากขึ้น ( รถไฟสมัยนั้นวิ่งได้แค่ 5ไมล์/ชั่วโมง) แต่อย่างไรก็ตาม หัวรถจักรไอน้ำก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับอยู่ดี 
     วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1825 ทางรถไฟสายสต็อคตัน แอนด์ ดาร์ลิงตันในประเทศอังกฤษ ได้เปิดกิจการ หัวรถจักร "โลโคโมชัน" สามารถ รากรถไฟจำนวน 34 ตู้ให้แล่นไปตามรางวิ่งยาวกว่า 38 ไมล์ โดยเฉลี่ยอัตราความเร็วอยู่ที่ 8 ไมล์/ชั่วโมง จากนั้นก็ได้มีนักประดิษฐูต่างๆได้คิดค้น ดัดแปลงรถไฟมาจนเป็นรถไฟที่วิ่งกันอยู่ในปัจจุบัน

     จากวิวัฒนาการของรถไฟในสมัยและยุคต่าง ๆ จะเห็นได้ว่ารถไฟถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกของมนุษย์ในด้านการขนส่ง ส่วนประวัติในประเทศไทยเราลองมาติดตามกันนะครับ
     กิจการรถไฟของไทยนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2429 ตรงกับรัตนโกสินทร์ศกที่ 105 ไทยได้ให้สัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กสร้างทางรถไฟสายแรกจาก กรุงเทพมหานครถึงสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น โดยสังกัดกระทรวงโยธาธิการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2139 พระองค์เสด็จประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรพไฟระหว่าง กรุงเทพฯถึงอยุธยา เป็นระยะทาง 71 กิโลเมตร ซึ่งทางการได้ถือเอาเป็นวันสถาปนากิจการรถไฟหลวง ปัจจุบันทางรถไฟที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นรวมสี่สาย คือ สายเหนือ ถึงจังหวัดเชียงใหม่ สายใต้ถึงจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดสงขลา สายตะวันออกถึงจังหวัดสระแก้ว และสายตะวันออกเฉียงเหนือถึงจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี รวมระยะทาง 3,855 กิโลเมตร ที่มา [ไทยเว็บวิสาร์จ]

เหตุการณ์ร้ายแรงของประเทศไทย

     เหตุการณ์รถไฟชนกันที่ตลิ่งชัน พ.ศ. 2522 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เมื่อขบวนรถไฟเที่ยวแรก ขบวนที่ 165 เส้นทาง ราชบุรี-ธนบุรี (ปัจจุบัน คือ รถธรรมดา ขบวน 352) ซึ่งมีผู้โดยสารแน่นทั้งขบวน เดินทางมาถึงทางแยกบริเวณสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ได้มีขบวนรถสินค้า เส้นทาง บางซื่อ-ปาดังเบซาร์ วิ่งฝ่าสัญญาณไฟเข้าไปชนรถไฟขบวน 165 กลางขบวน ทำให้รถไฟทั้งสองขบวนตกราง มีผู้เสียชีวิต 54 คน บาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 200 คน ผู้ประสบภัยส่วนมากเป็นนักเรียน และพ่อค้าที่นำสินค้ามาขายที่ตลาด ข้างสถานีรถไฟธนบุรี  จากการสอบสวนพบว่า อุบัติเหตุเกิดจากความผิดพลาดของพนักงานขับรถสินค้า เนื่องจากทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน และพนักงานผู้ควบคุมสัญญาณไฟ ที่สถานีรถไฟ  เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นอุบัติเหตุทางรถไฟที่ร้ายแรงที่สุดของไทย ที่มา [วิกิพีเดีย]

     เหตุการณ์หัวรถจักรผีสิงพุ่งชนสถานีหัวลำโพง พ.ศ. 2529 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 เวลาประมาณ 8.50 น. เมื่อขบวนรถไฟประกอบด้วยหัวรถจักรจำนวน 6 คันพ่วงติดกัน กำลังซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงเก็บหัวรถจักร ชุมทางบางซื่อ พนักงานขับรถไฟได้ติดเครื่องยนต์และลงจากรถโดยไม่ดับเครื่อง ทำให้หัวรถจักรเร่งเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ และวิ่งเข้าสู่รางรถไฟหลัก รถไฟวิ่งไปตามเส้นทาง ผ่านทางแยกตัดกับถนนพระราม 6 ถนนประดิพัทธ์ ผ่านสถานีรถไฟสามเสน ถนนนครไชยศรี ถนนราชวิถี ถนนศรีอยุธยา ถนนเพชรบุรี เป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ด้วยความเร็วประมาณ 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยไม่มีพนักงานขับรถ รถไฟพุ่งเข้าชนเหล็กกั้นรถไฟ ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง และทะลุเลยเข้าไปในชานชาลาสถานี ชนป้ายตารางเวลาเดินรถ ร้านค้า และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ขณะที่มีผู้โดยสารจำนวนมากอยู่ในสถานี ก่อนเกิดเหตุ ทางสถานีได้ออกประกาศเตือนผู้โดยสารแล้ว แต่เนื่องจากความบกพร่องของระบบกระจายเสียง ทำให้เสียงก้องและผู้โดยสารจำนวนมากไม่ทราบการแจ้งเตือนล่วงหน้าเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 5 คน บาดเจ็บ 7 คน ค่าเสียหายประมาณ 2 ล้านบาท  เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการเรียกขานจากสื่อมวลชนว่าเป็น หัวรถจักรผีสิง เนื่องจากหัวรถจักรตัวเปล่า โดยไม่มีคนขับเกิดวิ่งได้เองจนชนชานชาลาสถานีกรุงเทพ นับเป็นความผิดปกติอย่างมาก บางกระแสก็กล่าวเกินเลยไปถึงขนาดตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการวินาศกรรมหรือไม่ เป็นต้น  เมื่อผลการสอบสวนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกมา พบว่าเกิดจากการที่พนักงานสะเพร่าไม่ได้ดับเครื่องก่อนลงจากหัวรถจักร ก็ได้มีคำสั่งให้ นายสมจิตร พิลึก นายตรวจกล และนายเตรียม พิศพานต์ เจ้าหน้าที่ประจำหอสัญญาณ ออกจากงาน และระหว่างสอบสวนอยู่นั้น ก็ปรากฏข่าวการทุจริตและเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ ในการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกมาเป็นระยะ ๆ เช่นการทุจริตในการจัดซื้อ หรือการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพของผู้บริหาร เป็นต้น ที่มา [วิกิพีเดีย]

      เหตุการณ์รถไฟตกเหวที่จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2532 เป็นอุบัติเหตุทางรถไฟที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 เวลาประมาณ 20.30 น. ขบวนรถเร็วที่ 38 เชียงใหม่ – กรุงเทพ ตกรางช่วง กม.ที่ 585 – 586 ระหว่างสถานีรถไฟปางป๋วย อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง กับสถานีรถไฟผาคัน อ.ลอง จ.แพร่ หัวรถจักรชนกับหน้าผาข้างทางอย่างรุนแรง ทำให้ พขร.เสียชีวิตคาที่ ส่วนช่างเครื่อง และ พรร.ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ขบวนรถไฟได้ตกลงไปในเหวจำนวน 8 โบกี้ มีผู้โดยสารเสียชีวิต 8 คน ได้รับบาดเจ็บสาหัส 32 คน และบาดเจ็บเล็กน้อย 107 คน   จากการสอบสวน พบว่าก่อนหน้านี้ ระบบห้ามล้อของหัวรถจักรมีปัญหาติดขัด และมีการตรวจซ่อมแก้ไขที่สถานีรถไฟลำปางจนใช้การได้ แต่เกิดอาการขัดข้องอีก ช่วงผ่านสถานีรถไฟแม่เมาะ เมื่อขบวนรถวิ่งผ่านสถานีรถไฟปางป๋วย เจ้าหน้าที่สังเกตว่าขบวนรถมีอาการสะบัด โคลงตัว และได้แจ้งพนักงานขับรถทราบ และพยายามดึงเบรกฉุกเฉิน ในช่วงนั้นเป็นทางลงเขามีความลาดชัน จากเทปบันทึกการเดินรถในหัวรถจักรระบุว่า ขบวนรถวิ่งด้วยความเร็วถึง 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยความเร็วปลอดภัยที่กำหนดไว้เพียง 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขบวนรถจึงหลุดจากราง และพุ่งเข้าชนหน้าผาอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นข่าวใหญ่ เพราะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเสียชีวิตในที่เกิดเหตุด้วย ที่มา [วิกิพีเดีย]

      จากเหตุการณ์ทั้ง 3 ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดของประเทศไทย จนกระทั้งเหตุการณ์ล่าสุด นักเรียนจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีการคมนาคมด้วยรถไฟ ถือว่าเป็นการคมนาคมที่มีอุบัติเหตุน้อยที่สุดจากการสำรวจครั้งร้ายแรงของประเทศไทย ทั้งนี้ไม่รวมถึงเหตุการ์อื่นที่เกิดขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ

ประเด็นชวนคิด

     1.รถไฟปลอดภัยกว่ารถประเภทอื่น ๆ หรือไม่
     2.หากต้องเดินทางนักเรียนจะเลือกการเดินทางในลักษณะใด
     3.ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยในระหว่างเดินทาง
     4.เมื่อประสบอุบัติเหตุจะปฏิบัติตนอย่างไร

     ช่วงนี้มีข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟบ่อย ๆ นักเรียนลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ ถามเล่น ๆ นะครับ
"อะไรเอ่ย รดไฟ" ตอบ...น้ำ ครับ ฮ่า ๆๆๆๆ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1653

อัพเดทล่าสุด