การวางแผนและการเขียนโครงงาน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 6)
รายวิชา ง 3221 โครงงานประดิษฐ์ เวลา 2 ชั่วโมง
หน่วยที่3 เรื่อง การวางแผนและการเขียนโครงงาน นางเนาวรัตน์ ตั้งยะฤทธิ์ ผู้สอน
1. สาระสำคัญ
เมื่อเลือกหัวข้อโครงงานได้แล้ว ก่อนที่จะปฏิบัติโครงงานจะต้องมีการวางแผนเตรียมความพร้อม ขั้นตอนดำเนินโครงงาน และการเขียนโครงงาน ตลอดจนวางแผนกำหนดงานที่จะปฏิบัติ เพื่อจะได้ทำโครงงานตามความถนัด ความสนใจ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตหรือชิ้นงานมีคุณภาพ และนำไปใช้ประโยชน์ได้
2. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ง.1.1 ข้อ 1
มาตรฐานที่ ง.1.2 ข้อ 1,3,5
มาตรฐานที่ ง.3.1 ข้อ 3,5,6
มาตรฐานที่ ง.4.1 ข้อ 1
มาตรฐานที่ 5.1 ข้อ 1
3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วางแผนและเขียนโครงงานได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและความสำคัญของการวางแผนโครงงานได้
2. บอกขั้นตอนการวางแผนได้
3. จัดทำแผนปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
4. เขียนโครงงานได้
4. สาระการเรียนรู้
1. การวางแผนโครงงาน
- ความหมายของการวางแผน
- ความสำคัญของการวางแผน
- ขั้นตอนการวางแผน
- แผนปฏิบัติงาน
2. การเขียนโครงงาน
5. กระบวนการเรียนรู้
1. แจ้งจุดประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ
2. ทำการทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบ
3. ทบทวนหัวข้อเรื่องโครงงานแต่ละกลุ่ม
4. ศึกษาตัวอย่างโครงงานประกอบใบความรู้เรื่องการวางแผน อภิปรายแสดงความคิดเห็น
5. ศึกษาวิธีการวางแผนตามใบงาน เรื่อง การเขียนแผนปฏิบัติงาน และปฏิบัติตามกิจกรรมในใบงาน
6. ศึกษาใบความรู้เรื่อง การเขียนโครงงาน อภิปรายเกี่ยวกับองค์ประกอบ การเขียนโครงงาน และรูปแบบการเขียนโครงงานจากตัวอย่างโครงงานที่แจกให้
7. กลุ่มเขียนโครงงานตามหัวข้อที่เลือกลงในแบบเขียนโครงงาน
8. สรุปโดยกลุ่มนำเสนอโครงงานที่เขียนในชั้นเรียน ผู้สอนให้ข้อคิด ข้อเสนอแนะแต่ละกลุ่มจนเข้าใจ แล้วผู้เรียนทำแบบประเมินความร่วมมือในกลุ่ม
6. สื่อการเรียนรู้
1. ใบความรู้เรื่องการวางแผน และการเขียนโครงงาน
2. แบบฟอร์มการปฏิบัติงาน
3. ตัวอย่างแผนปฏิบัติงาน
4. ตัวอย่างโครงงาน และตัวอย่างการเขียนโครงงาน
5. แบบฟอร์มการเขียนโครงงาน
6. ใบงานเรื่องการวางแผนและการเขียนโครงงาน
7. การวัดผลประเมินผล
7.1 วิธีการวัด
- สังเกตความสนใจ
- ทดสอบก่อนเรียน และประเมินผลจากใบงาน
- ประเมินความร่วมมือของกลุ่ม/พฤติกรรมกลุ่ม
7.2 เครื่องมือวัด
- แบบสังเกตความสนใจ
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- ใบงานการวางแผนและการเขียนโครงงาน
- แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม
7.3 เกณฑ์การวัดผล
ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 75 ของแบบประเมินแต่ละประเภท
ด้านความรู้
- การวางแผนโครงงาน
- ขั้นตอนการทำโครงงาน
- การออกแบบโครงงาน
- การเลือกแนวทางการออกแบบและเทคโนโลยี
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
- ประเมินด้วยแบบสังเกตการณ์ปฏิบัติกิจกรรม เน้นความรับผิดชอบ ประณีต รอบคอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดออม
- กระบวนการกลุ่ม การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านทักษะกระบวนการ
- ทักษะกระบวนการกลุ่ม
- การเขียนโครงงาน
- กระบวนการในการดำเนินโครงงาน
- การออกแบบผลิตภัณฑ์
8. แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
1. หนังสือโครงงานต่างๆ
2. แหล่งเรียนรู้ทางเว็ปไซต์ หนึ่งคนหนึ่งผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ
สรุปการวางแผนโครงงาน
( Conclusion )
การวางแผน ( Planning ) คือการเตรียมความพร้อมในการหาข้อมูลเพื่อยุติหรือกำจัดปัญหาก่อนดำเนินการ กำหนดกระบวนการและการสร้างงานอย่างมีระบบเพื่อคุณภาพของผลงาน
การวางแผน หมายถึงกระบวนการเตรียมการ ศึกษาค้นคว้า สภาพปัญหา วิเคราะห์ทางเลือกกำหนดรูปแบบวิธีการปฏิบัติงานจนสิ้นสุดโครงงานให้บรรลุผล ตามเป้าหมาย
การพิจารณาแผน ( Consideration ) คือหลักการหรือข้อตกลงพื้นฐานประกอบการวางแผน การตรวจสอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจน ตรงกัน ในการดำเนินการจัดสร้างงาน
การวิเคราะห์งาน( Job Analysis ) คือกระบวนการตรวจสอบ เปรียบเทียบความสมเหตุสมผลของข้อมูล ความเป็นไปได้ ปัจจัยเสี่ยงประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิต ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค
ปัจจัยการวางแผน( Function of Project ) คือองค์ประกอบหลักที่ส่งผลสนับสนุนหรือกระทบต่อความสำเร็จของกระบวนการและผลผลิต ประกอบด้วยบุคลากร งบประมาณ เครื่องจักรและการบริหารการจัดการ
ประเภทโครงงาน( Classification of Project ) หมายถึงการจัดรูปแบบหรือขอบเขตเพื่อการจัดสร้างแผน การเตรียมการและการจัดสร้างเครื่องมือ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ โครงงานสำรวจ โครงงานทดลอง โครงงานประดิษฐ์และโครงงานอาชีพ เป็นต้น
ขอบเขตโครงงาน( Details of Project ) คือข้อตกลง กรอบหรือหลักการเขียนหรือยกร่างโครงงานที่เกี่ยวกับหัวข้อย่อย รูปแบบที่ต้องการศึกษาและพิสูจน์ความจริงแท้
เอกสารความรัเพิ่มเติมคลิกที่นี่ค่ะ
ย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1785