เมื่อต้องเข้าสอนแทนแล้วมีเ;ลามากพอ ควรเก็บสิ่งควรรู้เอาไปฝากผู้เรียน เพื่อเพิ่มสรรพรส
ครูเนาว์ “สวัสดีจ้ะ วันนี้ครูมาสอนแทนคุณครูอรทัย ท่านไปราชการจ้ะ คุณครูฝากให้ช่วยต่องานร้อยมาลัย วันนี้จะร้อยมาลัยกลมใช่ไหม แต่เอ๊! ใครเอาสับปะรดมากองไว้ข้างโต๊ะครูจ๊ะ”
นักเรียน “ สวัสดีค่ะคุณครู หนูไปปราณบุรีมาค่ะ ซื้อสับปะรดมาฝากคุณครูอรทัย มีหลายลูก หนูแบ่งให้คุณครูด้วย”
ครุเนาว์ “ หนูจ๋านามของสับปะรดเป็นลูกหรือว่าผล! ไม่เป็นไร ไปหาคำตอบเอาเองนะ อือ...เธอเก่งจังหิ้วมาตั้งหลายผลแน่ะ”
นักเรียน “ครูขาทำไมสับปะรดมีหลายชนิด รูปร่างก็แปลก ๆ”
ครุเนาว์ “ได้..ได้ .. ก่อนร้อยมาลัย มารู้จักสับปะรดกันดีกว่า
สับปะรด (Pineapple)
สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกก็สามารถปลูกได้ง่ายโดยการใช้หน่อหรือที่เป็นส่วนยอดของผลที่เรียก ว่า จุก มาฝังกลบดินไว้ และออกเป็นผล เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล แต่ละท้องถิ่นเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไปเช่น
ภาคกลาง เรียกว่า "สับปะรด"
ภาคอิสาน เรียกว่า "บักนัด"
ภาคเหนือ เรียกว่า "มะนัด, มะขะนัด, บ่อนัด"
ภาคใต้ เรียกว่า "ย่านัด, ย่านนัด, ขนุนทอง"
นักเรียน “ โอหลายชื่อจัง แล้วเป็นของไทยหรือเอามาจากไหนคะ”
ครุเนาว์ “ครุพอรู้อยู่บ้างนะ”................
ประวัติความเป็นมาของสับปะรด
ครูดูรายการชีวิตชีวาช่วงสมุนไพรใกล้ตัวกับโรงพยาบาลอภัยภูเบศร วันที่20 ธ.ค.52 เวลา 05.45 น. ทางช่อง 3 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอภัยภูเบศร ให้ความรู้เรื่องสับปะรดว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาได้ ที่บราซิล พบโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวสเปนและรายงานของชาวตะวันตกอ้างว่า พบสับปะรดในไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้รับสับปะรดมา ก็ให้มหาดเล็กชิม มหาดเล็กร้องออกมาว่า มีสรรพรสมาก (มีรส 7 รส) เพี้ยนมาจนเป็น “สับปะรด”ลองเข้าไปดูทีวีย้อนหลังที่ https://tvonline.happymass.com/# เลือกเวลา05.00 - 05.59 น. นะ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย ครูเล่าจะเสียเวลาและอาจไม่ครบถ้วนจ้ะ
นักเรียน “ทำไมสับปะรดจึงใช้ชื่อว่า Pineappleคะ”
ครูเนาว์ “ ต้องไปหาคำตอบแล้วมาเล่าให้ครูฟังนะ” เว็บไซต์จะบอกให้ตอนท้ายชั่วโมงจ้ะ
ลักษณะของสับปะรด
สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่งในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้น จะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และ สับปะรดสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือ เรียกว่าไม้ดิน พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับและพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน
ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้
รูปลักษณะ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90 - 100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลาย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9-29.4℃ ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่ต้องตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูง
สับปะรดชอบขึ้นในดินร่วน,ดินร่วนปนทราย,ดินปนลูกรัง,ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือตั้งแต่ 4.5-5.5 แต่ไม่เกิน 6.0
ฤดูกาลของสับปะรด
ช่วงเก็บเกี่ยวในฤดู ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มกราคม และกลางเดือนเมษายน - กรกฎาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตมาก ในตลาดมีราคาถูก
ช่วงเก็บเกี่ยวนอกฤดู ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ต้นเดือนเมษายน และเดือนสิงหาคม - ตุลาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตน้อย ราคาแพง
แหล่งที่ปลูกสับปะรดในไทย
แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทย อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลได้แก่
• จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
• จังหวัดเพชรบุรี
• จังหวัดชลบุรี
• จังหวัดระยอง
• จังหวัดฉะเชิงเทรา
• จังหวัดจันทบุรี
• จังหวัดตราด
• และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร
พันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกในไทย
• พันธุ์ปัตตาเวีย หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา
• พันธุ์อินทรชิต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมือง
• พันธุ์ขาว
• พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี
• พันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง
สรรพคุณทางสารเคมี
มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อบรอมีลิน (Bromelin) ช่วยย่อยโปรตีนไม่ให้ตกค้างในลำไส้ และ มีเกลือแร่ วิตามินซีจำนวนมาก
สรรพคุณทางสมุนไพร
• ช่วยบรรเทาอาการแผลเป็นหนอง
• ช่วยขับปัสสาวะ
• แก้ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ
• แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก
• บรรเทาอาการโรคบิด
• ช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน
• แก้ท้องผูก
• เป็นยาแก้โรคนิ่ว
• แก้ส้นเท้าแตก
การให้ปุ๋ยหลังจากสับปะรดออกหัว
ระยะที่สับปะรดเป็นหัวห้ามใช้ปุ๋ย 21-0-0 หรือปุ๋ยไนเตรทอื่นๆ เพราะจะทำให้มีสารตกค้างอันตรายต่อผู้บริโภคให้ใช้ปุ๋ยพ่น ทางใบ เช่นปุ๋ยส้ม 0-0-60 หรือปุ๋ยหวานอื่นๆ
ธาตุอาหารที่สัปปะรดต้องการ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แม็กนีเซียม แมงกานิส
การให้น้ำ สับปะรดเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ก็ต้องการน้ำไปช่วยการเจริญเติบโตเป็นระยะ สามารถวางแผนให้สับปะรดออกลูกได้ด้วยตนเอง ช่วงที่สับปะรดต้องการน้ำอยู่ในช่วง เริ่มปลูกใหม่ ช่วงออกลูก ระยะการให้น้ำ 10 วันต่อ 1 ครั้ง
อาหารจากสับปะรด
ครูเนาว์ “สับปะรดสามารถทำอาหารได้ทั้งอาหารหวานและอาหารคาว ที่ครูเคยทำก็มี
อาหารหวาน ได้แก่ สับปะรดลอยแก้ว สับปะรดแช่อิ่ม สับปะรดกวน น้ำสับปะรด
อาหารคาว ได้แก่ ผัดเปรี้ยวหวานสับปะรดใส่ได้ทั้งกุ้ง หมูไก่ ต้มส้มสับปะรด ข้าวผัดสับปะรด เป็นต้น
นักเรียน “ หิวแล้วค่ะ ครั้งหน้าครูสอนทำข้าวผัดสับปะรดนะ”
ครูเนาว์ “ วันนี้เรามาร้อยลาลัยกลมกันดีกว่า เดี๋ยวจะไม่เป็นสับปะรด“ อย่างง เป็นสำนวนไทยจ้ะ วันหลังค่อยรู้นะ หรืออยากรู้จริง ๆ หาเพิ่มเติมได้ และครูยังมีสำนวนเพิ่มให้อีก เช่น
1. " บอกเล่าเก้าสิบ " ที่ถูกต้องเป็น " บอกเก้าเล่าสิบ " หมายถึงพูดเกินหรือพูดมากกว่าที่ได้ยินมา
2. " ผีซ้ำด้ามพลอย " ที่ถูกต้องคือ " ผีซ้ำด้ำพลอย " สำนวน ผีซ้ำนั้นหมายถึงว่าทำอะไรพลาดไปแล้ว ยังมีผลไม่ดีแถมมาอีก ส่วน ด้ำ เป้นภาษาเหนือ แปลว่า ผีเรือน สำนวน " ผีซ้ำด้ำพลอย " ก็คือ ถูกซ้ำเติมเมื่อทำอะไรพลาดพลั้ง
นักเรียน "ครั้งต่อไปคุณครูมาสอนแทนมาเล่าอะไรที่ใสรรพรสอีกนะคะ"
ครูเนาว์ "พวกเราก็ต้องสนจสิ่งที่เป็นความรู้รอบตัวหมั่นดูทีวีอ่านหนังสือพิมพ์และค้นคว้าในอินเทอร์เน็ตมีโอกาสจะสอนให้นะ พบกับคราวหน้าจ้ะ สวัสดี"
ข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และขอบคุณเจ้าของLinkน่ารู้
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%94
https://www.boontham.com/index.php?mo=3&art=377380
ถ้าต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้สามารถดูได้ที่ https://www.fwdder.com/topic/98505/hl=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0
https://gotoknow.org/blog/paktay/156640
https://www.duseevdoclip.com/vdo/%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1868