เล่าความหลังครั้งคุณย่าพาใส่บาตรตอนเช้า
ครูเนาว์ "สวัสดีนักเรียนพบกันอีกแล้วนะคะ วันนี้ครูจะสอนให้ทำโบว์สำหรับผูกมาลัยถวายพระ"
นักเรียน " คุณครูขา สอนแทน....หรือคะ ครูมีอะไรมาเล่าให้พวกหนูฟังก่อนสอนได้ไหมคะ โบว์ผูกมาลัยพวกหนูทำมาจากบ้านแล้วค่ะ คุณครูเขาสั่งไว้ และคงไม่สวย เดี๋ยวคุณครูเล่าจบ พวกหนูค่อยทำใหม่ก็ได้"
ครูเนาว์ " ได้ ได้ เป็นเรื่องสมัยครูเป็นเด็กนะ ครูเขียนและเล่าไว้เป็นตอน ๆ นำขึ้นเว็บไซต์ของsahavicha.com ในส่วนที่เป็น เล่าสู่กันฟัง(blog) ถ้ามีโอกาสก็ลองแวะเข้าไปอ่านได้นะ สำหรับตอนที่ 1 ครูเล่าถึง การใส่บาตร ความคิดของเด็กตัวเล็ก ๆกับการใส่บาตรนั้นเป็นอย่างไร และที่ถูกต้องควรทำอย่างไร วิถีชาวบ้านชนบทต่างกับในเมืองอย่างไร วันนี้ครูจะเล่าตอนที่ 1 ให้ฟังนะ"
นักเรียน ทุกคนเงียบ นั่งฟังอย่างตั้งใจ ถึงเรื่องราวต่อไปนี้ "ฟังซิฟัง เชิญมาฟัง นิทานครูเนาว์ พวกเราอยากฟัง"
ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3
อรุโณทัยวันนี้ช่างสวยเกินคำบบรยาย แสงสีทองทาบพาดผ่านทุ่งหญ้าสีเขียวที่มีหยดน้ำเกาะอยู่ สีตัดกัน และยิ่งสวยมากขึ้นเมื่อมองเห็นพระภิกษุเกิดบิณฑบาตรมาเป็นแถวประมาญ6-7รูป เด็กหญิงผมจุกคนหนึ่งกับคุณย่าถือข้นข้าวและอาหารยืนรอใส่บาตร เมื่อพระเดินมาถึง
คุณย่าพูดขึ้นว่า "ถอดรองเท้าซะ แล้วนั่งลง ยกมือไหว้พระ หนูน้อยทำตาม แล้วย่าหลานก็ยืนขึ้น ตักอาหารใส่บาตรพระ เสียงดังก๊อก...ทับพี เคาะบาตรพระ หลวงพ่อยิ้ม บอกว่าไม่ต้องเคาะก็ได้อีหนู"
"คุณย่าขา ทำไมเคาะบาตรพระไม่ได้ค่ะ"
คุณย่า" เข้าไปข้างในบ้าน เราจะกรวดน้ำกัน" 2 คนย่าหลานเดินตามกันไป กรวดน้ำเสร็จคุณย่าให้หนูน้อยนำน้ำนันไปเทลงบนต้นสะแกใหญ่ข้างบ้าน "
เมื่ออาหารเช้าของสมาชิกในบ้านเรียบร้อยแล้ว คุณพ่อถามลูกสาวว่า เมื่อเช้าใส่บาตร แล้วกรวดน้ำให้ใครบ้าง"
หนูน้อย "นี่ละค่ะหนูมีเรื่องต้องถามมากมายเชียวแหละ ใครจะตอบหนูได้บ้างค่ะ"
คุณย่า" ย่ายกให้พ่อเจ้าตอบ เพราะย่าสอนพ่อเจ้าไว้หมดแล้ว ถามได้เลย"
หนูน้อย "คุณพ่อค่ะ
1. ทำไมต้องตักบาตรพระ
2. ทำไมพระต้องมาขอข้าวเรา
3. เราจะเป็นหนี้บุณคุณพระไหมค่ะ
4. เราจะเอาอะไรใส่บาตรได้บ้าง
5. ทำไมต้องใส่บาตรตอนเช้า หนูง่วงนอน
คุณพ่อ " ถามเยอะจริง เอ้า ตอบรวมเลยนะ
"ทำไมต้องตักบาตรพระ การตักบาตร คือประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล พระภิกษุจะถือบาตรออกบิณฑบาตเพื่อรับอาหารหรือทานอื่นๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่างๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ
ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน"
"ทำไมพระต้องมาขอข้าวเรา นั้น เป็นกฎของพระภิกษุเกี่ยวกับการตักบาตร
พระภิกษุนั้นจะออกบิณฑบาตทุกวัน อันเนื่องมาจากกฎของพระภิกษุมีอยู่ว่า พระภิกษุไม่สามารถที่จะเก็บอาหารข้ามคืนได้
เวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาต พระภิกษุจะใช้ 2 มือประคองบาตรเอาไว้แล้วเดินในกิริยาสำรวม พระภิกษุจะไม่เอ่ยปากขออาหารจากผู้คน หรือแสดงกิริยาในการขอ โดยส่วนมากแล้วเวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาตคือ ตั่งแต่ช่วงเช้ามืด (ประมาณ 5 นาฬิกา อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้บ้างเล็กน้อยในแต่ละท้องที่) จนถึงก่อน 7 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุฉันอาหารมื้อเช้า
เมื่อเวลามีคนให้ทาน พระภิกษุต้องรับทานที่คนให้ทั้งหมด ไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะรับหรือไม่รับ หรือบอกกับผู้คนว่าตนต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่อย่างไรก็ดี มีทานบางชนิดที่พระภิกษุไม่สามารถรับได้ นั่นคือ
ทานที่ได้มาโดยวิธีการทุจริตทานแก่ตน เช่น ได้มาจากการขโมย และพระภิกษุรู้ว่าบุคคลคนนั้นได้ขโมยของนั้นเพื่อที่จะให้
เนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ (เช่น เนื้อคน, เนื้อช้าง เป็นต้น)
เนื้อสัตว์ที่ได้มาจากการที่บุคคลคนนั้นตั้งใจที่จะฆ่าสัตว์โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อที่จะเอาเนื้อมาถวายพระภิกษุโดยเฉพาะ และพระภิกษุรู้ว่าเนื้อนั้นมาจากการฆ่าเพื่อที่จะนำมาถวายตนโดยเฉพาะผลไม้ที่มีเมล็ด บุคคลที่ตักบาตรไม่สามารถถวายผลไม้ที่มีเมล็ดได้ เพราะถือว่าเมล็ดนั้นยังสามารถที่จะให้กำเนิดชีวิตได้อยู่ ถ้าจะถวายต้องเอาเมล็ดออกก่อน เช่นนี้พระก็ไม่เป็นหนี้บุณคุณที่ต้องมาใช้เรา คิดอะไร เราเนี่ย...น่าขำจริง"
"คุณพ่อ "อ้อ คุณย่าบอกว่าเจ้าเคาะบาตรพระรึ"
หนูน้อย "บอกตอนไหนค่ะ ไม่เห็นได้ยินเลย"
คุณพ่อ "การตักบาตรโดยทั่วไปผู้คนที่นำของที่เอามาตักบาตรจะยืนรออยู่ตรงทางที่พระภิกษุเดินผ่าน ส่วนมากของที่ผู้คนใช้นิยมตักบาตรเป็นหลักคือข้าว โดยก่อนที่พระภิกษุเดินทางมาถึงจะมีการนำถ้วยข้าวจบที่ศีรษะแล้วอธิษฐาน เมื่อพระภิกษุเดินทางมาถึงพระภิกษุจะหยุดยืนอยู่ตรงหน้าคนที่จะตักบาตรแล้วเปิดฝาบาตร ก่อนที่จะตักบาตรคนที่ตักบาตรจะต้องถอดรองเท้าก่อน จากนั้นคนที่ตักบาตรจะนำทานที่ตนมีถวายพระ เมื่อให้เสร็จแล้วพระจะให้พร คนที่ตักบาตรประนมมือรับพร (โดยปกติแล้วจะนิยมคุกเข่าหรือนั่งยองๆ ประนมมือ) ขณะที่ให้พรคนที่ตักบาตรอาจจะมีการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ (การกรวดน้ำนั้นอาจจะทำขณะที่พระให้พรหรือหลังจากการตักบาตรเสร็จสิ้นก็ได้) หลังจากที่พระภิกษุให้พรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
คุณพ่อ "การที่เราจะตักบาตรหรือใส่บาตร คำว่าตักบาตรนั้น สามารถที่จะเรียกว่าใส่บาตรก็ได้ ในบางที่มีคนสงสัยว่าตกลงแล้วเรียกว่าตักบาตรหรือใส่บาตรกันแน่ - ก็ว่ากันว่าคำว่าตักบาตรนั้นมาจากกิริยาอาการที่ใช้ทัพพีตักข้าวใส่บาตรพระ แต่ในปัจจุบันนี้เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น ผู้คนจึงนำข้าวสารหรือของอื่นๆ ใส่ถุงหรือกล่อง เมื่อถึงเวลาตักบาตรจะได้สะดวกที่จะหยิบของใส่ได้ทันที คำว่าใส่บาตรจึงถือว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษาเพื่อสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน - สรุปว่าใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง
ตามปกติผู้คนจะถือว่า ของที่นำมาถวายพระจะต้องเป็นของที่ดีที่สุดเสมอ ดังนั้นผู้คนจะจัดเตรียมทานที่ดีที่สุดตามกำลังที่หาได้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อพิเศษเล็กน้อยเกี่ยวกับทานที่ให้ (ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) เช่น ข้าวที่ถวายพระนั้นควรจะเป็นข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ ร้อนๆ ยิ่งข้าวร้อนเท่าไหร่บุญกุศลจะยิ่งแรงมากขึ้นเท่านั้น, ถวายน้ำตาลแก่พระเพื่อที่จะส่งผลให้ชีวิตคู่มีความหวานสดชื่นดั่งน้ำตาล เป็นต้น
หนูน้อย"อ๋อรูแล้วค่ะ ตักบาตรใช้กับงานบุญทั้งที่บ้านและที่วัด เช่นวันพระหฯุไปวัดกับคุณย่าหนูต้องตักบาตรใช่ไหม่คะ แต่ตอนเช้า หนูใส่บาตรพระที่มาบ้านเราใช่ไหมค่ะ(ฮะๆๆๆมาบิณฑบาตรน่ะคะ)"
คุณพ่อ "ก็เป็นความคิดที่ดี ที่ถูกเหมือนกันนะเรา" แล้วกรวดน้ำล่ะ ทำอย่างไร ทำทำไม"
หนูน้อย " โธ่คุณพ่อ...หนูรู้มาตั้งนานแล้วละ...แต่คุณพ่อน่ะรู้หรือเปล่าลองตอบให้คุณย่าฟังซิคะว่าเหมือนของหนูหรือเปล่า"
คุณย่า " ฉลาดจริง ๆ แกมโกงด้วย เอ้าเจ้าพ่อตอบมานะ ไม่ถูกเป็นโดนตีแน่"
คุณพ่อ "อ้าว ไหงลงที่พ่อล่ะ ไม่เป็นไร พ่อตอบได้....ผู้คนที่นำของที่เอามาตักบาตรจะยืนรออยู่ตรงทางที่พระภิกษุเดินผ่าน ส่วนมากของที่ผู้คนใช้นิยมตักบาตรเป็นหลักคือข้าว โดยก่อนที่พระภิกษุเดินทางมาถึงจะมีการนำถ้วยข้าวจบที่ศีรษะแล้วอธิษฐาน เมื่อพระภิกษุเดินทางมาถึงพระภิกษุจะหยุดยืนอยู่ตรงหน้าคนที่จะตักบาตรแล้วเปิดฝาบาตร ก่อนที่จะตักบาตรคนที่ตักบาตรจะต้องถอดรองเท้าก่อน จากนั้นคนที่ตักบาตรจะนำทานที่ตนมีถวายพระ เมื่อให้เสร็จแล้วพระจะให้พร คนที่ตักบาตรประนมมือรับพร (โดยปกติแล้วจะนิยมคุกเข่าหรือนั่งยองๆ ประนมมือ) ขณะที่ให้พรคนที่ตักบาตรอาจจะมีการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ (การกรวดน้ำนั้นอาจจะทำขณะที่พระให้พรหรือหลังจากการตักบาตรเสร็จสิ้นก็ได้) หลังจากที่พระภิกษุให้พรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี"
หนูน้อย "มีอีก มีอีก คุณพ่อตอบไม่หมด คำกล่าวกรวดน้ำน่ะว่าอย่างไร คุณย่าสอยหนู มีทั้งบทสั้นและบทยาว ยาว...ย้าว..ยาว"
คุณพ่อ " ถ้าเราท่องบาลีไม่ได้เราก็กล่าวว่า บุญกุศลทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้ทำขออุทิศผลบุญนี้เเด่บิดา มารดา ผู้มีพระคุณทุกท่าน ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ ญาติโกโหติกา เพื่อนรักมิตรสหาย บริวาร เทพยดาทุกพระองค์ เจ้าจัตุโลกบาลทั้งสี่ เจ้ากรรมนายเวร สัตว์ทั้งหลาย ที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ สัตว์ทั้งหลายที่เป็นสุขขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป"
คุณย่า " ถ้าเป็นภาษาบาลี ที่ว่ายาวน่ะ พ่อเขาตอบหรือท่องให้ฟังตอนนี้ แม่เจ้าคงไปบ้านคุณยายไม่ทันเที่ยง เอาชื่อเว็บไซต์นี่ไปเปิดดู บอกต่อเพื่อน ๆด้วย"
https://www.mai95.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=109412&Ntype=1 กรวดน้ำทั้งตอนเย็นและเวลาอื่น ๆ"
หนูน้อย "อะ..คุณย่า ยุคเรานี้มีเว็บไซต์ด้วยรึ หนูเห็นแต่แมงแวบๆที่พ่อบอกว่าหิ่งห้อยน่ะ ..เว็บก็เว็บ คุณพ่อขาฝากกราบคุณยายด้วย บอกว่าวันพระหน้าหนูจะไปให้คุณยายท่องบทกรวดน้ำให้ฟัง และให้คุณยายทำข้าวกระยาคูไว้ด้วยนะ อร่อยเป็นที่สุด หนูจะไปถามวิธีทำไปบอกเพื่อน นะ นะ...นะ"
ไม่ทันที่ใครจะตอบอะไร เสียง .....ง้าว....หวาว หงาว ...ง่วงนอน ไปนอนเดี๋ยวนึงนะ แต่เอ๊ะ หนูหิวอีกแแล้วไม่นอนดีกว่า หนูเห็นข้าวหลามในตู้ ขอซักกระบอกนะ เอาไปเผื่อไอ้ข้าวโพดมันด้วย...(ลืมบอกว่าข้าวโพดคือแมวของหนู) ไปล่ะ"
...ทุกคนหัวเราอย่างมีความสุข ....
ครูเนาว์ " เอาละ พอสมควรแล้ว ส่าง ๆ ไปอ่านซ้ำที่เว็บไซต์ที่บอกนะ เรามาดูการร้อยมาลัยกันดีกว่า ไหนครูดูโบว์ที่ทำมาซิ อืม...ใช้ได้ เก่งมาก แคถ้าจะหาความรู้เพิ่มเติม ครูมี Link น่ารู้มาฝากนะ เข้าไปดู สวยมาก ๆ ลองโหลดดู ครูมีตัวอย่างให้ดูค่ะ
https://www.watchari.com/board/index.php?topic=1428.msg6266#msg6266 ขอบคุณ watchari.com
อ้างอิง : จากวิกิพีเดีย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1952