รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10


671 ผู้ชม


ชื่อหน่วย การจัดและออกแบบบรรจุภัณฑ์งานดอกไม้ประดิษฐ์ เรื่อง การจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยม บูรณาการกับรายวิชาการจัดดอกไม้   

 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี                                 รายวิชา งานดอกไม้ประดิษฐ์สาระเพิ่มเติม  ช่วงชั้นที่ 4 ( มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 )     
หน่วยที่ 5      ชื่อหน่วย   การจัดและออกแบบบรรจุภัณฑ์งานดอกไม้ประดิษฐ์             หน่วยย่อยที่  5.3
เรื่อง   การจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยม                                                                                 เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางเนาวรัตน์  ตั้งยะฤทธิ์
 

    รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10

 รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 1.  สาระสำคัญ 
                      การจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า   สามารถจัดให้เกิดความสมดุลย์   ซึ่งในปัจจุบันนิยมจัดกันมาก   สะดวกต่อการเตรียมวัสดุอุปกรณ์   นอกจากนี้ยังสามารถดัดแปลงรูปแบบการจัดได้อีกมากมายหลายแบบ   เป็นทรงที่นิยมมาแต่โบราณ   และในปัจจุบันทรงนี้ยังขายดีมาตลอด

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 102.    มาตรฐานการเรียนรู้

       มาตรฐาน ง  1.1
                    ข้อ 1  เข้าใจความหมาย  ความสำคัญ  ประโยชน์  วิธีการ  ขั้นตอน  กระบวนการทำงาน 
          การจัดการ    ประเมินและปรับปรุงพัฒนางาน
                     ข้อ 2  เลือกใช้  ซ่อมแซม  ดัดแปลง  เก็บ  บำรุงรักษา  เครื่องใช้
                     ข้อ 3  สร้างแนวคิดใหม่ในการทำงาน
                     ข้อ 4  ทำงานด้วยความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา  ขยัน  ซื่อสัตย์  อดออม  มุ่งมั่น
                     ข้อ 5  ใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี

       มาตรฐาน  ง  1.2
                    ข้อ 1  สามารถวิเคราะห์งาน  วางแผนการทำงาน  ปฏิบัติตามแผน  ปรับปรุงและ
          พัฒนางาน      
                     ข้อ 2  ทำงานในกระบวนการกลุ่ม  สร้างสัมพันธภาพและความเข้มแข็งของกลุ่ม
                     ข้อ 3  วิเคราะห์  สังเคราะห์  เลือกใช้ข้อมูลการทำงานจากแหล่งความรู้ต่างๆ
                     ข้อ 4  วิเคราะห์และแก้ปัญหา  การตัดสินใจเลือกที่เหมาะสม
                     ข้อ 5  มีความมุ่งมั่นทำงานจนสำเร็จ  มีจิตสำนึกที่ดีต่องาน  ทำงานอย่างมีความสุข

         มาตรฐาน ง   2.1
                     ข้อ 2  ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์งานอาชีพสุจริต

          มาตรฐาน ง  4.1
                     ข้อ 11   ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของงาน

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 103.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
  นักเรียนสามารถจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าได้
                     1. อธิบายการจัดดอกไม้  ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าได้
                     2.  จัดดอกไม้  ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าได้

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 104.  สาระการเรียนรู้
                    1. องค์ประกอบและขั้นตอนในการจัดดอกไม้
                    2. ข้อควรระวังในการจัด
                    3. การจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า
                    4. ปฏิบัติการจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าได้

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 105.  กระบวนการเรียนรู้
                   1. ครูนำแจกันดอกไม้   ที่จัดเป็นทรงสามเหลี่ยมด้านเท่านักเรียนดู แล้วให้นักเรียนสังเกตรูปทรงหรือเส้นรอบรูป      และตั้งคำถามว่าการจัดดอกไม้รูปทรง             ที่นักเรียนเห็นอยู่นี้  เป็นรูปทรงอะไร( สามเหลี่ยม ) และมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
                   2. ครูแจ้งเรื่องที่จะเรียนและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                   3. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มหยิบอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดดอกไม้  และซักถามถึงอุปกรณ์ที่ควรเพิ่มเติม
                   4. สาธิตการจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า
                   5.  นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาวิธีการจัดดอกไม้ ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า  ซักถามและลงมือปฏิบัติ
                   6.   ครูสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติและบันทึกลงในแบบปฏิบัติ
                   7. เมื่อนักเรียนส่งผลงานที่ปฏิบัติ ครูตรวจผลงาน ติ ชม และเสนอแนะ 
                   8.  ทบทวนเรื่องการจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า  

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 106. สื่อการเรียนรู้/อุปกรณ์
                   1. แจกันดอกไม้สรงสามเหลี่ยมด้าน
                   2.  ดอกไม้ประดิษฐ์หรือดอกไม้สด
                   3. บทเรียนคอมพิวเตอร์เสริมความรู้สาธิตการจัดดอกไม้สำหรับยืมเรียน
                   4.   ใบความรู้ เรื่องการจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า               
  
รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 107. การวัดผลประเมินผล
                  1. วัดตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
  นักเรียนสามารถจัดดอกไม้สดทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า 
                  2. วิธีวัด 
                                 2.1  ตรวจผลงาน
                                 2.2  สังเกตพฤติกรรม
                  3. เครื่องมือที่ใช้ในการวัด 
                                 3.1  แบบตรวจผลงาน
                                 3.2  แบบสังเกตพฤติกรรม
                   4.เกณฑ์การวัดและประเมินผล
                                4.1  ผ่านเกณฑ์การตรวจผลงาน โดยต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 70 %
                                4.2  ผ่านเกณฑ์การสังเกตพฤติกรรม

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 108.   แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
                  1.  ร้านดอกไม้     
                  2.  ตำรา  หรือ   เอกสารที่มีความรู้เรื่องการจัดดอกไม้

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 109.   บูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้/วิชา

                    9.1  รายวิชาการจัดดอกไม้ของครูเนาว์ ที่  

                               https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1107

                   และมีสื่อให้ดูด้วยค่ะ

                   รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10

                    9.2  สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา  ในเรื่องเทคนิคการออกแบบ

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1010.  กิจกรรมเสนอแนะ
        ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหนังสือวารสารต่าง ๆ   เช่น   หนังสือประดิษฐ์ประดอย  หนังสือขวัญเรือน หนังสือสกุลไทย  ฯลฯ  ฝึกทักษะการออกแบบและ        การจัดแจกันหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ

รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1011.  บันทึกหลังการสอน
                  1.   ผลการสอน ผลการประเมินผลงานผ่านเกณฑ์การประเมินและมาตรฐานการเรียนรู้ 
(ตารางผลการจัดการเรียนรู้และผลงานผู้เรียนแนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้) 
                  2.   ปัญหาและอุปสรรค     -
                  3.   ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข       -

 ลงชื่อ……………………………….ผู้สอน    ลงชื่อ……………………………….ผู้ตรวจ
          (นางเนาวรัตน์    ตั้งยะฤทธิ์)                    (.........................................)

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1973

อัพเดทล่าสุด