แนวการเขียนแผนการสอน


886 ผู้ชม


สิ่งที่ครูควรรู้ก่อนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้   

        การเขียนแผนการสอนเป็นภาระสำหรับครูผู้สอนทำให้ครูไม่อยากเขียนแผนการสอน   แต่สำหรับหลักสูตร 51  มีแนวทางให้ครูจัดทำหน่วยการเรียนเป็นหน่วยหลายๆคาบ  อนุโลมให้ครูทำแผนการสอนเป็นหน่วยได้     แต่สำหรับครูผู้สอนที่จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งหรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น  การทำแผนเป็นหน่วยใหญ่ๆนั้นคงไม่ได้  ดังนั้นครูลองมาศึกษาแนวการเขียนแผนการสอนหรือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนลงมือเขียนแผนจริง

แนวการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

1.   ความหมายและกระบวนการจัดการเรียนรู้
         1.1  แผนการจัดการเรียนรู้  หมายถึง   แผนการสอนนั่นเอง  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี  ควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงเหมาะสมกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบหรือการกระทำด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง  ส่งเสริมการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น โดยครูคอยให้คำแนะนำและดูแลนักเรียน
          1.2  กระบวนการจัดการเรียนรู้   ตามแนวทางปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  
                    1)   จัดเนื้อหาและกิจกรรมสอดคล้องกับความสามารถ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
                    2)   จัดการเรียนรู้ให้เกิดทุกเวลาทุกสถานที่ ประสานกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
                    3)    ฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
                    4)    จัดให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ปฏิบัติจริง คิดเป็น ทำเป็น รู้จักแก้ปัญหา ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง
                    5)   จัดการเรียนรู้ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆรวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน
                    6)    จัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้  รวมทั้งใช้การวิจัยให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

2.   สิ่งที่ต้องศึกษาก่อนลงมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
          2.1   ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          2.2   ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้  มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น
          2.3   วิเคราะห์หลักสูตร
          2.4   ศึกษาธรรมชาติของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
          2.5   ศึกษาการวัดผลและการประเมินผล
          2.6   ศึกษาแหล่งเรียนรู้และสื่อ
          2.7   ศึกษาองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
          2.8   ศึกษาเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย
          2.9   ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
          2.10  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

3.    หลักในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
         3.1   ควรรู้ว่าสอนเพื่ออะไร
         3.2   ใช้วิธีการสอนอย่างไร
         3.3    สอนแล้วผลเป็นอย่างไร
4.   องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
          4.1   สาระสำคัญ
          4.2   จุดประสงค์การเรียนรู้
          4.3   เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
         4.4   กิจกรรมการเรียนรู้
         4.5   การวัดและประเมินผล (มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน)
         4.6   สื่อและแหล่งเรียนรู้
         47    ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ผู้นิเทศ
         4.8   บันทึกผลหลังสอน

5.   ส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ 
        5.1   ปก
        5.2   ใบรองปก
        5.3    คำนำ
        5.4   สารบัญ
        5.5   มาตรฐานการเรียนรู้
        5.6   ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
        
5.7    ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้รายภาค/รายปี
        5.8    คำอธิบายรายวิชา
        5.9    หน่วยการเรียนรู้
        5.10   แผนการจัดการเรียนรู้
        5.11   สื่อ/นวัตกรรม
        5.12   บรรณานุกรม
6.   แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
        6.1   สาระสำคัญ
                     สาระสำคัญ   หมายถึง  ข้อความที่เป็นแก่นของเนื้อหาสาระ  หลักการ  ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆของเนื้อหาสาระของแผนการสอนนั้น
          วิธีเขียน
                    1)  เขียนอย่างสรุป กระชับ
                    2)  ใช้คำที่มีความหมายเจาะจง แน่นอน เช่น  “เป็น”  “ประกอบ”  “หมายถึง”  “คือ”
                    3)   เป็นการขยายชื่อเรื่อง
                    4)   เขียนเป็นความเรียงหรือเป็นข้อก็ได้  ส่วนใหญ่นิยมเป็นความเรียง
                    5)  เริ่มด้วยสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดของเนื้อหาก่อนแล้วตามด้วยรายละเอียดที่สำคัญ
เช่น  เขียนชื่อเรื่อง  ตามด้วย   เป็น /หมายถึง/คือ  แล้วตามด้วย  ข้อความขยายชื่อเรื่อง
        6.2  จุดประสงค์การเรียนรู้
                       การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นการบอกให้ทราบว่าเมื่อสิ้นสุดการสอนแล้วผู้เรียนจะทำอะไรได้บ้าง 
        วิธีเขียน
                  1)   เขียนให้สอดคล้องกับผลการเรียนที่คาดหวัง และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
                  2)   เขียนให้สังเกตได้ วัดได้
                  3)   การเขียนมีองค์ประกอบ  3  ส่วน
                           ส่วนที่ 1   เป็นพฤติกรรม (ใช้คำกริยา)
                           ส่วนที่ 2   เงื่อนไขหรือสถานการณ์
                           ส่วนที่ 3   เกณฑ์ (ความสามารถขั้นต่ำในการบรรลุจุดประสงค์ )
        6.3  เนื้อหาสาระ/สาระการเรียนรู้
                    1)   เขียนให้มีความถูกต้อง
                    2)   เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
                    3)   เขียนเนื้อหาใหญ่   เนื้อหาย่อยและมีรายละเอียดของเนื้อหา
        6.4   กิจกรรมการเรียนรู้
                  1)  กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ยกตัวอย่าง   เช่น
                            •  กิจกรรมการซักถาม  คือการตั้งคำถามให้ช่วยกันตอบ  อาจซักถามเป็นกลุ่มหรือในชั้นเรียน  เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  หรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ
                            • กิจกรรมการอภิปราย  หัวข้อการอภิปรายอาจเป็นข้อความหรือเป็นคำถามก็ได้  (ส่วนใหญ่นิยมหัวข้อที่เป็นคำถาม)  ผู้อภิปรายแต่ละคนจะแสดงเหตุผลหรืออธิบายเพื่อสนับสนุน หรือโต้แย้งหัวข้อที่กำหนดโดยไม่มีการแบ่งฝ่าย  และไม่มีการลงมติ  อาจจะเป็นการอภิปรายปากเปล่าในกลุ่มหรือในชั้นเรียนและอาจให้ทุกคนเขียนสรุปผลการอภิปราย  
                            • กิจกรรมการแสดงความคิดเห็น  คือการตั้งข้อสังเกต  หรือให้ข้อสรุป  ตามความติดเห็นหรือตามเหตุผลของแต่ละบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องสนับสนุนหรือคัดค้าน  อาจแสดงความเห็นโดยพูด  หรือเขียน  ถ้าเป็นการเขียนจะมีลักษณะทำนองเดียวกับการตอบคำถามที่ต้องการให้แสดงความเห็นหรือเหตุผลประกอบคำตอบในคำถามประเภทให้ตอบเสรี
                            • กิจกรรมการค้นหา  คือการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง  ข้อมูลสาระสนเทศ  หรือทักษะกระบวนการ(การกระทำหลายการกระทำ ซึ่งกระทำต่อเนื่องกันไปเป็นชุดเพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง)  ซึ่งอาจทำโดยการรวบรวมหรือสืบค้นข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม การบันทึก  วิเคราะห์  สังเคราะห์  การทดลอง  การตรวจสอบกฎหรือหลักการทางเศรษฐ์ศาสตร์  การหาคำตอบในวิชาคณิตศาสตร์  การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
                    2)  เทคนิคการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
                             • เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำคัญ
                             • จัดกิจกรรมที่หลากหลายเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
                              •  ใช้กระบวนการเรียนที่เหมาะสม
           6.5    การวัดผลและประเมินผล
                    1)   เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
                     2)   มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน  เช่น
                             •  วิธีวัด
                             •  เครื่องมือวัด
                             •  เกณฑ์การวัดที่ชัดเจน
            6.6  สื่อและแหล่งเรียนรู้
                   1)   สื่อเหมาะสม  สอดคล้องกับเนื้อหา/ สาระการเรียนรู้  กิจกรรมการเรียนการสอนและผู้เรียน
                   2)   เรียงลำดับให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
                    3)   ระบุสื่อ/ แหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน
            6.7    การวัดผลและประเมินผล
                    1)   เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
                    2)   มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน  เช่น
                            •  วิธีวัด
                            •  เครื่องมือวัด
                           •  เกณฑ์การวัด
            6.8    บันทึกผลหลังสอน

7.   แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  สังเกตได้ดังนี้
            7.1    มีองค์ประกอบครบถ้วน
            7.2    เขียนแต่ละองค์ประกอบได้ถูกต้อง ชัดเจน
            7.3    องค์ประกอบของแผนมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
            7.4    นำกระบวนการสอนมาใช้อย่างเหมาะสม
            7.5    เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้แล้วผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด
             7.6    บันทึกผลหลังสอนได้ชัดเจน

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2020

อัพเดทล่าสุด