การจัดสวน


2,024 ผู้ชม


การจัดสวนหรือสวนหย่อมหน้าบ้านหรือหลังบ้าน มีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนเรามากกว่าที่คุณคิด สละเวลาสักนิด มาจัดสวนหย่อมจะดีกว่า   

การจัดสวน


          การจัดสวนนับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง   ที่จะต้องใช้ความรู้ในเรื่องการออกแบบมาสร้างสรรค์ดัดแปลงพ้นที่โลงให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม    เกิดความสวยงามทั้งในเรื่องสีสันรูปทรง  พื้นผิวโดยนำหญ้าโขดหินก้อนหิน  และสิ่งประดับอื่นๆเช่น  ผนัง  รั้ว  สระ  และทางเท้ามาจัดองค์ประกอบ  ต้นไม้ใหญ่ ไม้เตี้ยๆ และหญ้าต่างๆมีความสำคัญต่อทิวทัศน์ในสวน

เนื้อหาสาระ หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว เรื่อง การปลูกพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

การจัดสวน
ที่มาภาพ

ความหมายของการจัดสวน
        สวน( Garden )   หมายถึง  สถานที่ที่มีการ ปลูก ตกแต่ง  จัด พันธุ์ไม้อย่างเป็นระเบียบเป็นสัดส่วน เพื่อความสวยงาม  และใช้ประโยชน์ต่างๆ  เช่น  สวนผลไม้ ,สวนครัว ,สวนไม้ดอกไม้ประดับ ,
สวนป่า สวนหย่อม
การจัดสวน คือกิจกรรมที่เป็นศาสตร์ศิลป์และงานฝีมือที่เกี่ยวกับการปลูกและดูแลพืชรวมถึงสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างบรรยากาศที่สวยงาม โดยทั่วไปแล้วจะเป็นกิจกรรมในบริเวณที่อยู่อาศัย ใน
บริเวณที่เรียกว่าสวน
ความสำคัญและประโยชน์ในการจัดสวน
        ตามประวัติศาสตร์การจัดสวนที่ผ่านมานั้นทำให้ทราบถึงความจำเป็นและความสำคัญของสวนที่มีต่อสภาพจิตใจและสภาพร่างกายของผู้ที่เป็นเจ้าของสถานที่ ดังนั้นการจัดสวนจึงมี
ประโยชน์หลายอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเป็นเหตุให้มีการจัดสวนขึ้น เพื่อบรรลุถึงจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้
          1.  จัดสวนขึ้นเพื่อจะกันเสียงรบกวนจากถนนหรือเพื่อนบ้าน มักจะใช้พุ่มหนาหรือไม้ยืนต้น เช่น อโศกอินเดีย , ชบา , เข็ม , ผกากรอง ฯลฯ
          2.   เพื่อกรองฝุ่นละอองที่กระจายทั่วๆไปในอากาศ โดยเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่สามารถเก็บฝุ่นละอองได้มาก เช่น สนทะเล , สนประดิพัทธ์
          3.   จัดแต่งบางตำแหน่งของสวนเพื่อปิดบังสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของปริเวณใกล้เคียง เช่น บริเวณใกล้บ้านที่มีกองขยะสวนและต้นไม้จะช่วยกรองเชื้อโรคและปิดบังสภาพไม่น่าดูได้
          4.   เพื่อให้เกิดความเป็นส่วนตัว ป้องกันการลอบมองจากเพื่อนบ้าน เช่น ภายในบ้านมีสระว่ายน้ำ หรือมีมุมสงบสวนตัว
          5.   เพื่อความสุขทางด้านจิตใจ เมื่อสภาพของสวนในบ้านมีสีเขียวสดใส มีร่มเงาของต้นไม้    มีบ่อน้ำ 
ลำธารหรือน้ำตกจำลองและทำให้ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น
          6.   เพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น ปลูกสวนครัวหรือปลูกไม้ผล
          7.   เพื่อการออกกำลังกายโดยการวิ่งหรือเล่นกมส์ต่างๆฝึกการปลูกเลี้ยงและดูแลต้นไม้
          8.  เพื่อประกอบเป็นอาชีพ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การออกแบบจัดสวน
          การออกแบบจัดสวน คือการจะทำให้สวนมีความสวยงาม จะต้องมีความรู้พื้นฐานค่อนข้างจะสูงมาก ในเรื่องของการออกแบบ จึงมีความ จำเป็น ต่อการจัดสวนมาก เพราะถือว่าการออกแบบ การ
เขียนแบบ เป็นจุดเริ่มต้น ของงาน การออกแบบ ที่ดีต้องอาศัยความรู้อยู่ 2 อย่างด้วยกัน 
          1. องค์ประกอบของศิลป์ เป็นศิลปะที่เกิดจาก การผสมผสานของจิตใจ สอดคล้องกับวิถีชีวิต และเพื่ออำนวยประโยชน์สูง ทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ องค์ประกอบของศิลป์ ที่สำคัญได้แก่ สี 
ต้องมีความเข้าใจเรื่องของสี เรื่องของเส้น เรื่องของพื้นผิว เรื่องของรูปทรง เรื่องของรูปร่าง เรื่องของช่องว่าง และก็ลวดลาย ซึ่งถือว่าเป็น องค์ประกอบของศิลปะ ผู้ออกแบบจะต้องทำ ความเข้าใจ
          2. หลักในการออกแบบ จะเน้นที่ความสมดุล จะเป็นสมดุลที่แท้จริง สมดุลแบบเชิงล้อเลียนธรรมชาติ อะไรก็แล้วแต่ ช่วงจังหวะทั่ว ๆ ไปที่เราเรียกว่า ลิทึม สำหรับมาตราส่วน ที่เหมาะสมกับพื้นที่ 
ความเป็นเอกภาพจัดไปแล้ว มีความเป็นหนึ่งเดียว ไม่หลากหลาย หรือสับสนมากเกินไป ความกลมกลืนของกลุ่มวัสดุที่ใช้ เช่น กลุ่มของหิน กลุ่มของพืชพันธุ์ ในระหว่างการสร้างจุดเด่น รวมถึง ความขัดแย้งถ้าเผื่อจำเป็น จะต้องมี

การจัดสวน
ที่มาภาพ


วัตถุประสงค์ของการจัดสวน มี 3 ประการ คือ
          1. การจัดสวนในระบบของพืชผล จะต้องสนองตอบต่อ ความต้องการของคน คือ เอาคนเป็นศูนย์กลางจะต้องเน้น และก็เอื้ออำนวย ประโยชน์สูงสุด แก่คน ไม่ว่าจะเป็น ด้านร่างกาย หรืออื่น ๆ 
กิจกรรมที่คนกระทำอยู่ เช่น ในสวนจะต้องมีทางเดิน ทางเดินเท้า ทางถนนรถยนต์ ศาลาพัก ม้านั่ง สระว่ายน้ำ 
          2. การจัดสวน เพื่อความสวยงาม เน้นที่สุนทรียภาพต่างๆ มุ่งความงามให้เกิด ความสุขทางด้านจิตใจ อารมณ์ การจัดจะหลากหลาย บรรยากาศ มีมุมสงบมีมุมก่อให้เกิด ความประหลาดใจ เป็นการ
มุ่งเน้นให้เกิดคุณค่า มีความลี้ลับ เพื่อให้เกิดความคิด ความสนใจ ความระทึกใจ ความสร้างสรรค์ เช่น การจัดสวน ที่มีมุม น้ำพุ น้ำตก ทางน้ำไหล ไม้ดอกสวยงาม เป็นต้น 
          3. การจัดสวนเพื่อการทดลอง การศึกษา ทดลอง ค้นคว้า วิจัย ต่าง ๆ กรณีที่ได้รับ พืชพันธุ์ ใหม่มา วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ใน การจัดสวน ใหม่ ๆ มา จะเป็น วัสดุอุปกรณ์ ที่มนุษย์ผลิตขึ้น หรือจาก 
ธรรมชาติ มาจัดประกอบเข้ากับ รูปแบบของสวนต่าง ๆ

การจัดสวน
ที่มาภาพ

ขั้นตอนการจัดสวน
        หลังจากได้ออกแบบสวน ประเมินราคา และตกลงกับเจ้าของสถานที่เรียบร้อยแล้ว นักจัดสวนต้องวางแผนและเตรียมงานเป็นขั้นต่อไป เพื่อกะระยะให้สวนเสร็จตามวัน และ เวลาที่ต้องการจาก
การจัดสวนโดยทั่วไปจะพบว่า มีลำดับการทำงานเป็นขั้น ๆ เพื่อความสะดวกในการทำงานและมีผลให้งานแต่ละส่วนได้ผลดี ทั้งง่ายต่อการเบิกเงินแต่ละงวดของเจ้าของบ้าน เมื่อการจัดสวนได้ถึงขั้นตอนที่กำหนดไว้
        1)การเลือกซื้อพรรณไม้  (Getting plant) เป็นการสำรวจและหาแหล่งพรรณไม้ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้งชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง 
และราคาให้เป็นไปตามแบบที่เสนอต่อเจ้าของบ้าน
        2)การปรับที่อาจเริ่มจากการปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไปหรือถากดินออกบริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้
เป็นเนินก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาวให้สูงตามที่ต้องการ
        3)การขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4 – 0.5 m ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้นควรขุดต่อกันเป็นแปลงตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูก แล้วผสมดินใส่ปุ๋ยและปูนขาวตามสูตรหลังจากนั้นก็
ขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง  0.25 – 0.3  m ก็พอ ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ
        4)การกำจัดวัชพืช (Weed Control) ในระยะที่ทำการขุดหลุมเพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลังก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้
มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีด แต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้าได้การกำจัดวัชพืชก็ควรมีเรื่อย ๆ แม้ว่าจะปลูกหญ้าไปแล้วก็ตามก็ควรจะขุดวัชพืชทิ้งเมื่อเกิดขึ้นมาอีก
        5)การวางก้อนหิน  (Setting Stones) ก้อนหินมีรูปทรงต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยไม่ได้ถูกตัดเพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติของหินที่เปลี่ยแปลงไปโดยภูมิอากาศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะบอก
ถึงบรรยากาศของถิ่นที่มาของหินนั้น ๆ เช่น หินอาจเรียบหรือขรุขระ เนื่องจากลมและพายุ จากแม่น้ำ มหาสมุทร สีจะแสดงถึงความมั่นคงสงบนิ่ง หินที่มีรูปร่างกลม, หรือหินที่ขัดถูแล้วจะไม่นิยมใช้ในการจัดสวน เพราะจุทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ สีที่นิยมคือสีน้ำตาล, แดง, ม่วง, เขียวปนน้ำเงิน สีขาวไม่นิยมเพราะขาวเกินไปและไม่ประทับใจเมื่อมองดู และควรหลีกเลี่ยงการใช้สีก้อนหินที่ติดกัน
        6)การปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน  (Planting) เมื่อได้เตรียมหลุมและเตรียมดินในหลุมเรียบร้อยแล้วก็เตรียมปลูกต้นไม้มาจากแหล่งชื้อต่าง ควรปลูกไม้ใหญ่ก่อน โดยนำต้นไม้ไปใกล้ปากหลุม ถอดกระถางออกหรือทุบกระถางให้แตกเพื่อกันการ
กระเทือนของรากโกยดินออกจากหลุมให้ลึกเท่ากับความสูงของกระถางวางต้นไม้ไว้ในหลุม กลบดินให้แน่นให้โคนต้นไม้เสมอปากหลุมรอบ ๆ โดยต้นไม้ควรทำเป็นแอ่งรับน้ำไว้ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับมากที่สุด เมื่อปลูกแล้วควรค้ำโดยไม้ไผ่, ไม้สน ใช้ไม้ประมาณ 3 อัน โดยจับต้นไม้ให้ตรงแทงกิ่งไผ่ลงในดิน ค้ำเป็นสามเหลี่ยมมัดด้วยเชือกให้แน่นทั้งนี้เพื่อการกันโยกของต้นเทื่อลมพัดเพราะการโยกของต้นจะทำให้รากกระเทือนหรือขาดได้
         
การปลูกไม้พุ่มในแปลงใหญ่ที่เตรียมไว้ การเว้นระยะที่พอเหมาะพอการเจริญเติบโตของไม้พุ่มชนิดนั้น ๆ ด้วย ถ้าต้นไม้อยู่ในตำแหน่งที่ลมพัดแรงก็จะทำให้ทุกต้นและควรรอจนไม้เหล่านั้นตั้งตัวได้ จนแตกใบใหม่ออกมาจึงเริ่มตัดแต่งที่รงพุ่มให้เป็นตามที่ต้องการ
         การปลูกไม้คลุมง่ายต่อการถอดกระถางออก เพราะเป็นกระถางเล็กจะลงไม้คลุมดินส่วนใหญ่ค่อนข้างทนทาน เมื่อถอดกระถอดอย่างลือเอาเศษกระดาษที่รองใต้กระถางออกด้วยถ้าภายในกระถางมี
หลายต้นก็แยกออกปลูกได้จะได้ประหยัดต้นไม้อีกเพราะไม้คลุมดินเติบโตได้เร็วและต้องตัดแต่งอยู่เสมอเพื่อไม่ให้หนาแน่นไป
         7)การปูหญ้า  (LAWN Installation)ก่อนที่จะปลูกหญ้า ควรจะปรับที่ให้เรียบ เพราะหน้าดินอาจจะถูกซะเป็นร่องหรืออาจเป็นหลุม ควรปรับให้เรียบ โดยใช้ดินถมหลุมอัดให้แน่นดูการระบายน้ำเมื่อฝน
ตก หรือเมื่อรดน้ำเพื่อปรับระดับ ก่อนปลูกหญ้า   เมื่อปรับระดับเรียบร้อยแล้วก็ควรสั่งทรายและหญ้า ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล โดยกะจำนวนให้ถูกต้อง หญ้าควรเลือกชนิดให้ถูกต้องต่อสภาพของแสง เช่น ในร่มใช้หญ้ามาเลเซีย, แดดจัดใช้หญ้านวลน้อย, ญี่ปุ่น เบอร์มิวด้า ควรคำนวณว่าอย่างละกี่ตารางเผื่อขาดเหลืออีก  10 – 20  m  ควรสั่งหญ้ามาส่งภายในวันที่จะปลูก ถ้าปูหญ้าหลายวันควรทยอยส่ง จะไม่ทำให้หญ้าเหลือง
          8)การปูทางเท้า  (Laying pavements)  ควรปูทางเท้าหลังจากที่ได้ปูหญ้าเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดแนวทางเท้าบนสนามหญ้าให้ถูกต้อง อาจจะใช้ปูนขาวโรยเป็นแนวทางตามแบบ
        เลือกวัสดุที่ทำเป็นทางเท้า ซึ่งมีหลายเหลี่ยมและหลายขนาดโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 cm, 30 cm   รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม วงกลมหรือหกเหลี่ยม ส่วนความหนานั้นแล้วแต่ชนิดของวัสดุ
        หินล้าง     :    สะดวกในการใช้ ปลอดภัย สวยพอประมาณ ราคาปานกลาง
        หินกาบ       :   ระวังเรื่อง ความคมของหินกาบ สวยมาก ราคาสูง
        ซีเมนต์อัด   :   เป็นรูปต่าง ๆ ของบริษัทปูนซีเมนต์
        ซีเมนต์     :   แบบเรียบสี่เหลี่ยม ไม่มีสี  ราคาถูก
        ศิลาแลง      :  หนา  10  cm  สวยเหมือนธรรมชาติ แต่เปราะง่าย
         9)  การตัดหญ้า, ให้ปุย, ฉีดยาฆ่าแมลง  (Mowing, Fertilizing and Past Control)
        เมื่อปูหญ้าได้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ก็ควรตัดหญ้าที่ปูไว้จะขึ้นไม่เสมอกัน ไม่ควรปล่อยให้หญ้าสูงเกินไป หรือมีดอกเพราะจะทำให้หญ้าเหลืองเมื่อตัดหญ้าออก ควรตัดหญ้าแห้งไม่เปียกน้ำ 
แต่โดยประมาณ  12 – 14 วันต่อ  1 ครั้ง โดยตัดออกประมาณ   ส่วน
        ส่วนเครื่องมือที่ใช้ตัดหญ้ามี
         1. กรรไกร  ใช้ตัดแต่งสนามแคบ ๆ
         2. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัดหมุน ใช้ตัดหญ้าได้สูง 1 – 5 นิ้ว
         3. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัด หรือลูกกลิ้ง เมื่อตัดหญ้าเรียบร้อยแล้ว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 13  สลับกับปุ๋ยยูเรีย

การจัดสวน
ที่มาภาพ

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
 1. อธิบายประโยชน์ของการจัดสวน ที่มีต่อมนุษย์
 2. การจัดสวนต้องใช้ความรู้ในด้านใดบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
 ให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดสวนแบบอื่น ๆ  แล้วจัดทำเป็นรายงานส่ง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
 สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ที่มา  
https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nongkhai/anupool_t/sec01p1.html 
https://www.novabizz.com/CDC/Garden/Garden_Basic.htm 
https://th.wikipedia.org

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2077

อัพเดทล่าสุด