เพลี้ยแป้งระบาดหนัก


786 ผู้ชม


เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง กำลังประสบปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดหนัก มารู้จักเพลี้ยแป้งกันเถอะ   

เพลี้ยแป้ง

ประเด็นข่าว
        จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 27 เมษายน 2553 คอลัมน์การเกษตร กล่าวถึง การแพร่ระบาดเพลี้ยแป้งในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ จำนวน 7.7 ล้านไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกประมาณ 437,496 ราย ขณะนี้พบว่าจากจำนวนต้นมันสำปะหลังที่ยืนต้นในพื้นที่ประมาณ 3.74 ล้านไร่ เป็นต้นมันสำปะหลังที่มีการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง เป็นแหล่งสะสมและแพร่กระจายเพลี้ยแป้งไปสู่แปลงมันสำปะหลังอื่น ประมาณ 1.08 ล้านไร่ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เร่งเข้าไปดำเนินการควบคุมป้องกันความเสียหายของผลผลิตมันสำปะหลังที่อยู่ในระยะการ เจริญเติบโตของต้นมันสำปะหลัง อายุ 1-4 เดือน 527,431 ไร่ และต้นมันที่โตแล้วอีกจำนวน 5 แสนกว่าไร่ โดยใช้มาตรการควบคุม ไม่ให้ขยายวงกว้างโดยใช้ศัตรูธรรมชาติ

เนื้อหาสาระ หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว เรื่อง การปลูกพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

เพลี้ยแป้งระบาดหนัก
ที่มาภาพ

เพลี้ยแป้ง (Mealy bug)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudococcus sp.

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

             เพลี้ยแป้งตัวเต็มวัยตัวเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มม. สีเหลืองอ่อน ลักษณะอ้วนสั้นมีผงสีขาวปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 100-200 ฟองบนผล กิ่ง และใบ ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องตัวเมียประมาณ 6 - 10 วัน จึงจะออกเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีเหลืองและไม่มีผงสีขาว จะคลานออกจากกลุ่มไข่หาที่เหมาะสมที่จะกินอยู่ ตัวเมียจะมีการลอกคราบจำนวน 3 ครั้ง ด้วยกันและไม่มีปีก ส่วนตัวผู้จะลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่ภายหลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3 ภายในเวลา 1 ปี เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 - 3 รุ่น ในระยะที่ไม่มีพืชอาหารหลัก เพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช เช่น รากหญ้าแห้วหมู โดยมีมดซึ่งอาศัยกินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้งเป็นพาหะนำไป

เพลี้ยแป้งระบาดหนัก
ที่มาภาพ

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
          
เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ใบ ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ มีมดเป็นพาหะช่วยพาไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลายจะแคระแกรนและเกิดราสีดำ โดยเฉพาะผลที่มีเพลี้ยแป้งทำลายอยู่มักจะเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค แม้ว่าจะไม่ให้เนื้อทุเรียนเสียหายก็ตาม

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
          ระยะที่พบ ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
          ระยะควรระวัง ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม

เพลี้ยแป้งระบาดหนัก
ที่มาภาพ

ศัตรูธรรมชาติ
         
แตนเบียนเพลี้ยแป้ง Unidentified sp. ด้วงเต่าปีกลายหยัก Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่าโรโดเลีย Rodolia sp. ด้วงเต่าสคิมนัส Scymnus sp. ด้วงเต่าฮอร์โมเนีย Harmonia octomaculata ด้วงเต่าสีส้ม Micraspis sp. แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankylopteryx octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ำตาล Hemerobius sp. ต่อหลวง ต่อรัง Vespidae

การป้องกันและกำจัด
ระดับเศรษฐกิจ : ผลถูกทำลายร้อยละ 20 ต่อต้น หลังการตัดแต่งผลครั้งที่ 3 
ติดตามสถานการณ์เพลี้ยแป้งและศัตรูธรรมชาติ
- สำรวจ 10% ของต้นทั้งหมด 7 วัน/ครั้ง ในช่วงมีนาคม - พฤษภาคม
- ตรวจนับ 5 ผล/ต้น ทั้งเพลี้ยแป้งและศัตรูธรรมชาติ
- ประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติในการควบคุมเพลี้ยแป้ง และปริมาณของผลที่ถูกเพลี้ยแป้งทำลาย

การใช้ชีววิธี
เพลี้ยแป้งมีศัตรูธรรมชาติทั้งแมลงเบียนและแมลงห้ำคอยควบคุมปริมาณเพลี้ย แป้งให้อยู่ในระดับสมดุลอยู่แล้วในสภาพปกติ ได้แก่ ด้วงเต่า และแมลงช้างปีกใส

การใช้วิธีเขตกรรมและวิธีกล

- ควรมีการไถและพรวนดินหลาย ๆ ครั้งและตากดินอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพื่อลดปริมาณเพลี้ย แป้ง
- ควรปลูกต้นฤดูฝนเพื่อให้มันสำปะหลัง แข็งแรง ทนทานต่อการทำลายของเพลี้ยแป้ง
- คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเพลี้ยแป้ง และควรใช้พันธุ์ที่ทางราชการแนะนำ
- แหล่งที่ยังไม่พบการระบาด ควรมีการแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่อาจติดมากับท่อนพันธุ์
- ถอนต้นหรือตัดส่วนของต้นมันสำปะ หลังที่มีเพลี้ยแป้งจำนวนมากออกจากแปลงแล้วเผา หรือทำลาย

เพลี้ยแป้งระบาดหนัก
ที่มาภาพ

การใช้สารเคมี

         ควรใช้เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยแป้งรุนแรงเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลง ควรพ่นเฉพาะบริเวณที่พบเพลี้ยแป้ง ระยะพ่นที่เหมาะสม คือ ช่วงที่เพลี้ยแป้งอยู่ในวัยที่ 1-2 ยาฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่
- ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- ไดโนทีฟูเรน 10% WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- โปรไทโอฟอส 50% EC อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร
- พิริมิฟอสเมทิล 50% EC อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร
- ไทอะมีโทแซม/แลมบ์ดาไซฮาโลทริน 24.7% ZC อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
 1. อธิบายการปลูกและการดูแลรักษามันสำปะหลัง
 2. อธิบายวิธีการกำจัดแมลงศัตรูของมันสำปะหลังชนิดอื่น
กิจกรรมเสนอแนะ
 ให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการปลูกพืขไร่ชนิดอื่น  แล้วจัดทำเป็นรายงานส่ง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
 สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

ที่มา
https://www.thairath.co.th/content/edu/79432 
https://www.doae.go.th/pest/fruit/durian/dupes.htm 
https://www.puibuatip.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1234458 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2202

อัพเดทล่าสุด