ชาวโลกทั้งหลาย เราไม่ได้ อยู่โดดเดี่ยวลำพังอีกต่อไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอวกาศสหรัฐฯได้รายงานแล้วว่า ได้พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดว่า มีชีวิตอยู่บนดาวอังคาร
ยานสำรวจพบหลักฐานน่าเชื่อถือมากที่สุดมีชีวิตบนดาวอังคารกับความหมายของอินเทอร์เน็ต
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับช่วงชั้นที่ 2 - 3
ชาวโลกทั้งหลาย เราไม่ได้ อยู่โดดเดี่ยวลำพังอีกต่อไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอวกาศสหรัฐฯได้รายงานแล้วว่า ได้พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดว่า มีชีวิตอยู่บนดาวอังคาร
หนังสือพิมพ์รายวัน "เดอะ ซัน" ของอังกฤษเสนอข่าวว่า ยานสำรวจดาวสีแดงพิเศษ ได้เปิดเผยว่า พบฟองรูปหนึ่งบนผิวน้ำในสระ อันเป็นเหมือนอิฐก่อสร้างของชีวิตที่เรารู้จักกัน
ผู้เชี่ยวชาญขององค์การได้ เปิดเผยผลการสำรวจของยานสำรวจ "ออปปอร์จูนนิตี้ และสปิริต" ซึ่งถูกส่งเดินทางออกไปไกลหลายล้านกิโลเมตรในสุริยจักรวาล เพื่อค้นหาวี่แววของมนุษย์ต่างดาวในจักรวาล
ณ โลกปัจจุบันสู่โลกของคอมพิวเตอร์ ด้วยความหมายของอินเทอร์เน็ต
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน
เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์สำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้มข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ
กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ
อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Networkอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี
(TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง
ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ
หรือ Cyberspace
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรม
หลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ
เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า
กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกา
ถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ
เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท
และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกา
จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
ภาพแสดงความเป็นระบบเปิดของ TCP/IP ทำให้เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์
IP Address
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้ายๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก เช่นเครื่อง server ซึ่งเป็น Internet Server ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครลำปาง
มี IP Address เป็น 203.152.29.50 ตัวเลขที่เป็น IP Address เป็นตัวเลขขนาด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ชุดๆ ละ 8 บิต ดังนั้นตัวเลข 1 ชุดที่เราเห็นคั่นด้วยจุดนั้น จึงแทนได้ด้วยตัวเลขจาก 0 ถึง 255 ตัวเลข 4 ชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือ network number และ ส่วนของ host number โดยขนาดของแต่ละส่วนจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเน็ตเวอร์ค class ใด ซึ่ง class ของเน็คเวอร์คแบ่งออกเป็น 4 classes
Domain Name System (DNS)
เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษร ให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก เวลาเราอ้างถึงเครื่องใดบนอินเตอร์เน็ต
เราก็จะใช้ชื่อ DNS เช่น www.bcnlp.ac.th แต่ในการใช้งานจริงนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ เมื่อรับคำสั่งจากเราแล้ว เค้าจะขอ (request) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการบอกเลขหมาย IP Address
(ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์ Yellow Pages) ซึ่งเรียกกันว่าเป็น DNS Server หรือ Name Server ตัว Name Server เมื่อได้รับ request ก็จะตอบเลขหมาย IP Address กลับมาให้เช่น สำหรับ www.bcnlp.ac.th
นั้นจะตอบกลับมาเป็น 203.152.29.50 จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจึงจะเริ่มทำการติดต่อ กับคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งมันก็จะผ่านกระบวนการแบบที่กล่าวไปข้างต้น คือแบ่งข้อมูลออกเป็น packet จ่าหัวด้วย IP
จากนั้นส่ง packet ไปซึ่งก็จะวิ่งผ่าน gateway ต่างๆ มากมายไปยังเป้าหมาย ระบบการตั้งชื่อ DNS นั้นคล้ายกับระบบไปรษณีย์ โดยมีประเทศอยู่หลังสุด เช่น .th คือ ประเทศไทย เป็นต้น แต่สำหรับสหรัฐอเมริกานั้นยกเว้น
จากนั้นจะแบ่งเครือข่ายออกเป็น .edu หรือ .ac เครือข่ายมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษา .com หรือ .co เครือข่ายบริษัท ห้างร้าน .mil เครือข่ายทางการทหาร .org หรือ .or เครือข่ายองค์การที่ไม่หวังผลกำไร
(พรรคการเมืองไทยก็ใช้ระบบนี้).gov หรือ .go เครือข่ายหน่วยงานของรัฐบาล .net หรือ .net เครือข่ายของผู้ดูแลเน็ตเวอร์ค หรือ เจ้าของเน็ตเวอร์ค อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต (Internet, Intranet and Extranet)
นักศึกษาดูรูปข้างล่างต่อไปนี้แล้วจะเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของ อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต
กิจกรรมหลังการเรียนรู้
1. สรุปความหมายและความเกี่ยวข้องของเครือข่าย
2. เขียนแผนผังความคิดเกี่ยวกับระบบเครือข่าย
ข้อเสนอหลังการเรียนรู้
1. วาดภาพระบบเครือข่ายเชื่อมโยงกับสาระศิลปะ
2. ได้เรียนรู้ศัพท์ภาษาต่างประเทศ
ที่มา
https://www.norsorpor.com
school.obec.go.th/ckn/network2/new_page_4.htm
www2.srp.ac.th/~tee/html/internet.htm
pirun.ku.ac.th/~g5166307/work/mixhome/3internet.doc
tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page21.htm
student.swu.ac.th/ed4611116/et452/.../mainpagesub1.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2362