รู้จักกับโปรแกรม Photoshop ,Raster Graphic , Vector Graphic , Pixel


745 ผู้ชม



Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ใช้สำหรับงานด้านการตกแต่งภาพถ่าย ภาพกราฟิกต่าง ๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น งานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ออกแบบปกนิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย ทั้งยังสามารถรีทัช ตกแต่งภาพและการออกแบบชิ้นงาน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสูงมากในปัจจุบัน   

เนื้อหา  สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม  Photoshop  เรื่อง : รู้จักกับโปรแกรม Photoshop 
Learning by VDO 
https://guru-photoshop.com/mod/resource/view.php?id=27
รู้จักกับโปรแกรม Photoshop        

           Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ใช้สำหรับงานด้านการตกแต่งภาพถ่าย ภาพกราฟิกต่าง ๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น งานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ออกแบบปกนิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย ทั้งยังสามารถรีทัช ตกแต่งภาพและการออกแบบชิ้นงาน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสูงมากในปัจจุบัน  เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ ใส่ Effect ต่าง ๆ ออกแบบตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำให้เป็นภาพที่มีชีวิตชีวามีสีสัน เปลี่ยนภาพถ่ายเป็นภาพเขียนหรือการนำภาพมารวมกัน Retouch ตกแต่งภาพให้ได้ชิ้นงานตามที่ต้องการ

เรื่อง : Raster Graphic , Vector Graphic , Pixel   
Learning by VDO 
 https://guru-photoshop.com/mod/resource/view.php?id=28
Raster Graphic , Vector Graphic , Pixel


แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานในการออกแบบกราฟิกไปประยุกต์ใช้ใน การทำงานด้านธุรกิจ

        ภาพบนคอมพิวเตอร์ หรือกราฟิคคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ ภาพแบบบิตแมป  และภาพแบบเวกเตอร์  ความเข้าใจความแตกต่างของกราฟิค ทั้งสองประเภทจะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และตรงตาม จุดประสงค์สูงสุดในการใช้งาน

         พิกเซล เป็นการผสมผสานของคำว่า “Picture” และ “element” คือหน่วย พื้นฐานของภาพ ภาพบิตแมปทุก ๆภาพประกอบขึ้นด้วยพิกเซล แต่ละพิกเซลจะมีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เก็บข้อมูลของสีโดยถูกกำหนตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และ y ในลักษณะคล้ายแผนที่ เป็นที่มาของคำว่าบิตแมป เช่นพิกเซลของ ภาพ 8 บิต จะเก็บข้อมูลของสี 8 บิต ที่จอภาพจะใช้ในการแสดงผล ดังนั้นภาพภาพหนึ่งจึงประกอบด้วยพิกเซลเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งคุณสามารถมองเห็นได้เมื่อ ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น 
        จำนวนของพิกเซลที่แสดงต่อหน่วยของความยาวในภาพจะถูกเรียกว่าความละเอียด ของภาพ โดยปกติจะวัดเป็นพิกเซลต่อนิ้ว (ppi : pixel per inch) ภาพที่มีความละเอียดสูงจะ ประกอบไปด้วยพิกเซลจำนวนมากที่มีขนาดเล็กกว่าภาพเดียวกันที่มีความละเอียดน้อยกว่า ตัวอย่าง เช่น ภาพขนาด 1 x 1 นิ้ว ที่ความละเอียด 72 ppi จะประกอบด้วยพิกเซล 5,184 พิกเซล (ความกว้าง 72 พิกเซล x ความยาว 72 พิกเซล = 5,184) และภาพเดียวกันที่ความละเอียด 300 ppi จะประกอบด้วยพิกเซล 90,000 พิกเซลที่มีขนาดของพิกเซลเล็กกว่า (300 x 300 = 90,000) แน่นอน ว่าภาพที่มีความละเอียดมากกว่าก็จะใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่า 
   

 รู้จักกับโปรแกรม Photoshop ,Raster Graphic , Vector Graphic , Pixel

 
ภาพบิตแมปหรือราสเตอร์

        โปรแกรมปรับแต่งภาพส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มักจะทำงานกับภาพแบบบิตแมปหรือที่เรียกว่าราสเตอร์  ภาพแบบบิตแมปนี้จะใช้ กริดของตารางเล็ก ๆ ที่รู้จักกันดีในชื่อ "พิกเซล" (pixel) สำหรับแสดงภาพ แต่ละพิกเซล มีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็กเราจึงเห็นว่าภาพ มีความละเอียดสวยงาม ไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่หากขยายขนาดของภาพ ก็จะเห็นกรอบเล็ก ๆ ข้อดี ของภาพแบบเวกเตอร์ที่มีเหนือภาพแบบบิตแมป คือ สามารถเคลื่อนย้าย ปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ เพราะภาพแบบเวกเตอร์ เป็นภาพที่ไม่ขึ้นกับ ความละเอียด นั่นคือสามารถปรับขนาดและพิมพ์ที่ความละเอียดใด ๆ โดยไม่สูญเสียรายละเอียด และคุณภาพ ดังนั้นภาพแบบเวกเตอร์จึงเหมาะกับภาพลายเส้นต่าง ๆ เช่น โลโก้  ตัวอักษร
 

รู้จักกับโปรแกรม Photoshop ,Raster Graphic , Vector Graphic , Pixel

ภาพเวกเตอร์

        ภาพแบบเวกเตอร์จะต่างจากภาพแบบบิตแมป ซึ่งคุณจะได้พบกับภาพแบบนี้บนโปรแกรม สำหรับวาดภาพเช่น Adobe Illustrator, Macromedia Freehand ภาพแบบเวกเตอร์จะประกอบด้วย เส้นสาย ลวดลายต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของลักษณะทางเรขาคณิตเพื่อ สร้างรูปทรงต่าง ๆ ที่คุณเห็น ซึ่งเรียกว่าเวกเตอร์ (vectors) ข้อดี ของภาพแบบเวกเตอร์ที่มีเหนือภาพแบบบิตแมปคือคุณสามารถเคลื่อนย้าย ปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ เพราะภาพแบบเวกเตอร์ เป็นภาพที่ไม่ขึ้นกับ ความละเอียด นั่นคือสามารถปรับขนาดและพิมพ์ที่ความละเอียดใด ๆโดยไม่สูญเสียรายละเอียด และคุณภาพ ดังนั้นภาพแบบเวกเตอร์จึงเหมาะกับภาพลายเส้นต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร โลโก้
 

 รู้จักกับโปรแกรม Photoshop ,Raster Graphic , Vector Graphic , Pixel
ความละเอียดของภาพ

        เมื่อภาพต่าง ๆ ถูกแสดงบนจอ ขนาดของภาพที่แสดงจะถูกกำหนดโดยขนาดของ พิกเซล
(pixel dimension) ของภาพ บวกกับขนาดและการตั้งค่าความละเอียดในการแสดง ผลของจอภาพ ขนาดไฟล์ของภาพถึงแปรผันตรงกับขนาดของพิกเซล ดังนั้นการแสดงภาพ เดียวกันที่จอภาพขนาดต่างกัน เช่น 14” และ 21” ซึ่งกำหนดขนาดความละเอียดในการแสดง ผลเท่ากัน เช่น 640 x 480 จะให้ภาพที่สามารถแสดงได้อย่างเต็มจอ แต่ภาพที่ปรากฏบนจอภาพ ขนาดใหญ่จะปรากฏให้เห็นเป็นพิกเซลขนาดใหญ่ขึ้น แต่เมื่อคุณกำหนดให้ความละเอียดใน การแสดงผลเพิ่มขึ้น เช่น กำหนดเป็น 800 x 600 หรือ 1024 x 768 พิกเซล คุณจะเห็นภาพที่แสดงมี ขนาดเล็กลง คุณจะเห็นแล้วว่าความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพมีผลต่อขนาด ของภาพที่ปรากฏ สิ่งนี้จะมีผลอย่างยิ่งโดยเฉพาะภาพกราฟิคที่คุณต้องการนำไปใช้บนเว็บ เพราะ ผู้ใช้แต่ละคนมีขนาดจอภาพ และการตั้งค่าความละเอียดในการแสดงผลที่ต่างกัน การกำหนด ขนาดและความละเอียดของภาพ 1024 x 768 พิกเซล ภาพของคุณจะสามารถแสดงบนจอภาพของ ผู้ใช้ที่มีขนาดเดียวกันและกำหนดขนาดความละเอียดเท่ากัน แต่ถ้าภาพของคุณต้องไปแสดงบนจอ ภาพขนาด 14” ที่กำหนดความละเอียด 640 x 480 ปัญหาเรื่องขนาดของไฟล์จะเกิดขึ้นทันที 
   
 

รู้จักกับโปรแกรม Photoshop ,Raster Graphic , Vector Graphic , Pixel

        โดยทั่วไป จำนวนของพิกเซลที่แสดงต่อหน่วยความยาวที่ใช้ในการพิมพ์ภาพนั้น ๆ มักจะวัดเป็นพิกเซลต่อนิ้ว (pixel per inch : ppi) ภาพที่มีขนาดเท่ากัน แต่มีความละเอียดต่างกัน จะแสดงผลด้วยขนาดที่ไม่เท่ากันโดยภาพที่มีความละเอียดมากกว่าจะแสดงผลด้วยขนาดที่เล็กกว่า ตัวอย่าง ภาพขนาด 1” x 1” ที่มีความละเอียด 72 ppi จะประกอบด้วยพิกเซล 5,184 พิกเซล (72 x 72 = 5,184) แต่ภาพเดียวกันที่มีความละเอียด 300 ppi จะประกอบด้วยพิกเซลถึง 90,000 พิกเซล (300 x 300 = 90,000) แน่นอนว่าภาพที่มีความละเอียดมากกว่า ก็จะมีรายละเอียดของ ภาพสูงกว่า (รูปที่ 4.4) เพราะใช้พิกเซลจำนวนมากกว่าในการแสดง และทำให้มีขนาดของ ไฟล์สูงกว่าเช่นกัน  ควรจะกำหนดความละเอียดของภาพเท่าใด คำตอบก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการนำภาพนั้นไปใช้งาน ถ้าคุณต้องการนำเสนอภาพบนเว็บ คุณสามารถกำหนดความละเอียดเพียง 72 ppi เพราะภาพของคุณแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งมีมาตรฐาน การแสดงผลที่ 72 ppi การกำหนดให้ภาพมีความละเอียดมากกว่านี้ จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ นอกจากขนาดไฟล์ที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น สำหรับงานพิมพ์ถ้าคุณกำหนดความละเอียดน้อยเกินไป ภาพก็จะมีลักษณะเป็นจุด ๆ ขาดรายละเอียด และคงไม่น่าดูนัก แต่ถ้ากำหนดความละเอียด มากเกินไปเกินกว่าที่เครื่องพิมพ์ได้ ก็จะทำให้ขนาดของไฟล์ใหญ่เกินความจำเป็นและพิมพ์ได้ช้า หรือพิมพ์ไม่ได้

  ความละเอียดของจอภาพ

        ความละเอียดของจอภาพคือจำนวนของพิกเซล หรือจุดที่แสดงต่อหน่วยความยาว ของจอภาพโดยทั่วไปมักจะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dot per inch : dpi) ความละเอียดของจอภาพ จะขึ้นอยู่กับขนาด และการตั้งค่าการแสดงผลของจอภาพ 
                                              

รู้จักกับโปรแกรม Photoshop ,Raster Graphic , Vector Graphic , Pixel

ความละเอียดของเครื่องพิมพ์

        ความละเอียดของเครื่องพิมพ์คือ จำนวนจุดของหมึกต่อนิ้ว (dot per inch : dot inch) ที่ใช้ในการพิมพ์โดยทั่วไปเครื่องพิมพ์เลเซอร์มักจะมีความละเอียด 300 – 600 dpi และให้ผลลัพธ์ที่ สวยงามสำหรับภาพที่มีความละเอียด 72 – 150 dpi สำหรับเครื่องอิมเมจเช็ตเตอร์ที่สามารถพิมพ์ ด้วยความละเอียด 1,200 dpi ขึ้นไป มักจะใช้ผลลัพธ์ที่สวยงามสำหับภาพที่มีความละเอียด 200 – 300 dpi</t> 

การบูรณาการ
        1.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  การวาดภาพ  และการตกแต่งรูปภาพให้สวยงาม

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.edu-mine.com/photoshop/lesson1_RasterVector.html
https://guru-photoshop.com/mod/resource/view.php?id=28

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2606

อัพเดทล่าสุด