ยาดมสมุนไพร เป็นยาที่จัดอยู่ในประเภทเป็นยาสมุนไพรประจำบ้าน
ยาดมสมุนไพร เป็นยาที่จัดอยู่ในประเภทเป็นยาสมุนไพรประจำบ้าน ใช้สูดดม ยาดม ใช้สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เป็นหวัด คัดจมูกซึ่งมีวิธีทำที่ง่ายหาสมุนไพรได้สะดวก สามารถทำเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
วัสดุ อุปกรณ์
1. การบูรเกล็ด 1 ขีด การบูรมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาว มีสรรพคุณ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ทาแก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง
2. เมนทอล 3 ขีด เมนทอลมีลักษณะเป็นผลึกสีขาว กลิ่นหอมเย็นมีสรรพคุณใช้เป็นยาภายนอกเกี่ยวกับการลดอาการปวดเมื่อย ฆ่าเชื้อ และใช้เป็นยาขับลม ที่ให้ความเย็นซาบซ่า
3. พิมเสน 1 ขีด พิมเสนมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น สรรพคุณของพิมเสน มีกลิ่นหอมเย็น ใช้สูตรดมแก้ลมวิงเวียน ทาภายนอกแก้เคล็ดขัดยอก
4. กานพลู 1 ขีด กานพลู มีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก มีสรรพคุณ ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด
5. ดอกจันทน์เทศ 1 ขีด ดอกจันเทศมีสรรพคุณ ใช้แก้ลม ขับลม แก้บิด บำรุงผิวหนัง
6. พริกไทยดำ 1 ขีด พริกไทยดำมีสรรพคุณช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย
7. โกศหัวบัว 1 ขีด โกศหัวบัวสรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง ขับลมในลำไส้ ขับลม แก้ลม บำรุงโลหิต
8. กระวาน 2 ขีด กระวานรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม มีฤทธิ์ในการขับลม และฤทธิ์ในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แก้ลมเจริญอาหาร รักษาโรค รำมะนาด แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ลมสันนิบาต
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมพิมเสนน้ำ
1. นำส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด คือ เมนทอล 3 ส่วน พิมเสน 1 ส่วน การบูร 1 ส่วนเทผสมรวมกันในภาชนะสำหรับผสมสาร
2. ใช้ไม้พายเล็กคนให้ส่วนผสมทั้งหมดละลายเป็นของเหลว (ถ้าไม่ใช้ไม้คนอาจใช้วิธีการเขย่าขวดให้ส่วนผสมละลายก็ได้)
3. นำพิมเสนที่ได้บรรจุขวดปากกว้างปิดฝาพักไว้
ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมสมุนไพร
1. นำสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ในที่นี้ประกอบด้วย กานพลู ดอกจันทน์เทศ พริกไทยดำ โกศหัวบัว กระวาน ใส่ภาชนะรวมกันผสมคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน
2 น้ำสมุนไพรที่ได้ใส่ในขวดปากกว้างที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ปิดฝาขวดให้สนิท
3. แช่สมุนไพรในพิมเสนน้ำ 1 คืน
4. นำส่วนผสมที่ได้บรรจุในขวดมีฝาปิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. ยาดมสมุนไพรอาจใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆที่มีคุณสมบัติตามต้องการของแต่ละบุคคลได้
2. ผู้ผลิตยาดมสมุนไพรควรศึกษาคุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดเพื่อนำไปใช้ได้ถูกต้องและไม่เป็นอันตราย
3. ยาดมสมุนไพรสามารถเติมกลิ่นลงไป เพื่อให้ได้กลิ่นที่แปลกใหม่ เช่น กลิ่นมะลิ กลิ่นกุหลาบ เป็นต้น
4. ผู้ผลิตอาจจะบรรจุยาดมสมุนไพรในขวดหรือภาชนะที่แปลกใหม่เพื่อเป็นการดึงดูดใจให้อยากซื้อหา
ข้อควรระวัง
1. ควรใช้อย่างระมัดระวังไม่ควรให้เข้าตา จะทำให้แสบตาได้
2. ควรวางยาดมสมุนไพรให้พ้นมือเด็ก
ประโยชน์ของยาดมสมุนไพร
1. ใช้สูดดม ยาดม ใช้สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เป็นหวัด คัดจมูก
3. ทำเป็นของชำร่วย ใช้แจกในงายพิธีต่างๆ เช่น งานศพ
4. เป็นการเพิ่มรายได้หรือทำเป็นอาชีพเสริม
การประเมินราคาผลงาน (จะต้องคำนวณราคาทุน กำไร ราคาขาย)
การคิดราคาคำนวณ ผู้ขายจะต้องคิดจากราคาสินค้าทั้งหมดรวมกับค่าสึกหรอของเครื่องใช้ ค่าแรง ค่าขนส่ง ค่าพาหนะ ค่าน้ำค่าไฟ
การคิดกำไร ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต เช่น กำไร 40/50/หรือ60/
การกำหนดราคาขาย จะต้องคิดต้นทุนทั้งหมดบวกด้วยกำไรที่ต้องการ ที่จะเป็นราคาขาย
บูรณาการกับกลุ่มสาระ
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การชั่ง ตวง
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ยาสามัญประจำบ้าน
เอกสารอ้างอิง
https://115.31.137.7/songkhla/freelance/cons0013.doc
www.gotoknow.org/blog/pilanya/174970
https://learning.eduzones.com/dena/5155
https://women.sanook.com/health/herbal/herbal_16669.php
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2767