สบู่ทำมือ(มะละกอ)


1,318 ผู้ชม


สบู่ทำมือ(มะละกอ) เป็นสบู่ก้อนอีกชนิดหนึ่งที่ใช้มะละกอเป็นส่วนผสมในเนื้อสบู่   

 สบู่มะละกอ   มีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวขาวใส ผิวพรรณชุมชื่น

สบู่ทำมือ(มะละกอ)
ภาพจากwww.haarai.com/promoteweb/index....d_/8149f   

กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

อุปกรณ์  
         1.  เนื้อสบู่            1  กิโลกรัม
         2.  น้ำธรรมดา      1  ขีด
         3.  น้ำหอม   1/2  ออนต์
         4.  น้ำสมุนไพร (น้ำมะละกอ)
         5.  หม้อและเตาสำหรับต้มสบู่
         6.  พิมพ์รูปแบบต่างๆ  ใช้พิมพ์ทำขนมก็ได้

 วิธีทำ
        ขั้นตอนการเตรียมน้ำมะละกอ
              1.  หั่นสับปะรดเป็นชิ้นเล็กๆ   1  ชิ้น
              2.  นำสับปะรดไปปั่นให้ละเอียด  2  ช้อนโต๊ะ
              3.  นำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเอาส่วนน้ำมาทำสบู่

         ขั้นตอนการทำสบู่
             1.  นำเนื้อสบู่ที่เป็นแผ่นฝอยๆเล็กๆ  (อาจใช้เนื้อสบู่ที่เป็นแท่งมาขูดกับที่ขูดมะละกอหรือจะใช้มีดหั่นก็ได้)
 จำนวน  1  กิโลกรัม   ใส่ในหม้อต้ม

สบู่ทำมือ(มะละกอ)


          2.  ใส่น้ำสะอาดหรือนมสดลงไป  1  ขีด  ลงในหม้อต้ม
          3.  ใส่สน้ำมะละกอที่เตรียมไว้ใส่ลงไปสัก 1- 2   ช้อนโต๊ะ หรือมากกว่านี้ได้ตามชอบ 
          4.  คนให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี ให้เหลวประมาณครีมทาตัวทั่วไป 
          5.  เอาส่วนผสมใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆกวนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ปิดไฟ ยกลงจากเตา

สบู่ทำมือ(มะละกอ)


          6.  ตักส่วนผสมใส่พิมพ์ตามชอบ จะใช้น้ำมันมะกอกทาพิมพ์นิดหน่อยก็ได้จะได้แคะสบู่ออกง่าย
          7.  พักสบู่ที่ได้ให้เนื้อสบู่แข็งตัว แคะออกจากพิมพ์
          8. จะได้สบู่มะละกอตามต้องการ

ข้อเสนอแนะ
        1.  ถ้าต้องการเก็บสบู่มะละกอไว้ใช้นานควรใส่สารกันราลงไปในเนื้อสบู่ด้วย
        2.  ผู้ผลิตอาจใช้พิมพ์หรือภาชนะเป็นแม่พิมพ์ที่แปลกใหม่เพื่อเป็นการดึงดูดใจให้อยากซื้อ


ข้อควรระวัง
        1. ไม่ควรเก็บสบู่ในที่ชื้นเพราะจะทำให้สบู่เปื่อยง่าย
        2. ไม่ควรเก็บสบู่มะละกอให้โดนแดดเพราะจะทำให้สบู่เสื่อมคุณภาพได้
    


ประโยชน์ของการทำสบู่มะละกอ 
         1.  ใช้ทำความสะอาดร่างกาย ช่วยบำรุงผิว ทำให้ ขาวใส ผิวพรรณชุมชื่น 
         2.  เป็นการเพิ่มรายได้หรือทำเป็นอาชีพเสริม
         3.  ส่งเสริมการนำสมุนไพรหรือวัสถุดิบตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์

การประเมินราคาผลงาน  (จะต้องคำนวณราคาทุน กำไร ราคาขาย)
        การคิดราคาคำนวณ ผู้ขายจะต้องคิดจากราคาสินค้าทั้งหมดรวมกับค่าสึกหรอของเครื่องใช้ ค่าแรง ค่าขนส่ง ค่าพาหนะ ค่าน้ำค่าไฟ
        การคิดกำไร ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต เช่น กำไร 40/50/หรือ60/
        การกำหนดราคาขาย จะต้องคิดต้นทุนทั้งหมดบวกด้วยกำไรที่ต้องการ ที่จะเป็นราคาขาย

 บูรณาการกับกลุ่มสาระ
        1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การชั่ง ตวง
        2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   เรื่อง  สารเคมีในชีวิตประจำวัน                  

 เอกสารอ้างอิง
    https://www.flowerhandmade.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=409294
    https://www.workingsoap.com/
    codmom.host.sk/p10.html
   wwwhaarai.com/promoteweb/index....d_/8149f
   

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2768

อัพเดทล่าสุด