รายละเอียดการสร้างและแข่งขันหุ่นยนต์บังคับมือ
การสร้างหุ่นยนต์บังคับมือ
(หุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์)
ภาพการแข่งขันหุ่นยนต์ วันที่ 26 มิ.ย. 2553 ณ ร.ร.ชัยภูมิภักดีชุมพล
เด็กไทยสร้างชื่อในวงการหุ่นยนต์ขึ้นอีกครั้ง สามารถคว้าแชมป์โลก 2 รายการ คือ หุ่นยนต์กู้ภัยและหุ่นยนต์เตะฟุตบอล ในการแข่งขัน World Robo Cup 2010 หรือการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 ที่ปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 มิ.ย.2553 ชัยชนะดังกล่าวถือว่าเป็นการป้องกันแชมป์ของประเทศไทย (ที่มาข่าว : ไทยโพสต์)
เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม ในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
หุ่นยนต์บังคับมือ หมายถึง การนำมอเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า วัสดุทางกลศาสตร์ อาจมีการใช้แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือตัวตรวจจับชนิดต่างๆ และใช้อุปกรณ์ทั่วไปอย่างไม่จำกัด มาออกแบบประกอบเป็นหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ได้ ในการทำงานสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยสวิทซ์เปิด-ปิด หรืออุปกรณ์ควบคุม (Remote Control) ทั้งแบบมีสาย ไร้สาย หรือแบบวิทยุบังคับ ข้อสำคัญคือไม่มีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมการทำงาน ผลการแข่งขันขึ้นอยู่กับการสร้างกลไกพิเศษที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถปฏิบัติภารกิจตามที่โจทย์กำหนดได้ทันเวลาโดยปราศจากโปรแกรม
ข้อกำหนดสนามแข่งขันหุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์
รายละเอียดการประกวดและแข่งขันหุ่นยนต์โอลิมปิก สพฐ ปี 2553
ตัวอย่างการสร้างหุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์ คลิก
รายการอุปกรณ์ คลิก
ฝึกสมองประลองปัญญา
1. หุ่นยนต์บังคับมือ มีลักษณะอย่างไรบ้าง
2. หุ่นยนต์บังคับมือ ตามกติกาของ สพฐ. ปี 2553 แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
3. การสร้างหุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์ ต้องใช้ทักษะกระบวนการทำงานอย่างไรบ้าง
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
1. กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
2 กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
3. กลุ่มสาระศิลปะ ( ทัศนศิลป์ )
ขอบคุณข้อมูลและภาพ
หุ่นยนต์บังคับมือ
การประกวดและแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ
การประกวดและแข่งขันหุ่นยนต์ ศกม.ชัยภูมิ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2865